Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22490
Title: การศึกษาสภาวะการผลิตและการตลาดของสารกาแฟในประเทศไทย
Other Titles: A study of production and marketing of green coffee bean in Thailand / Saowapa Chaimusiq
Authors: เสาวภา ชัยมุสิก
Advisors: วิม ทยาพัชร
นงนิตย์ ศิริโภคากิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารกาแฟเป็นผลผลิตของกาแฟเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญของโลก คือ บราซิล ได้ประสบภัยธรรมชาติเมื่อกลางปี 2518 เป็นผลให้ผลผลิตสารกาแฟลดลงมาก และทำให้ราคาสารกาแฟในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นมาถึง 28.95 % ก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อประเทศผู้บริโภคเป็นอย่างมาก สภาวะดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศไทย กล่าวคือ เนื้อที่ปลูกและปริมาณการผลิตในประเทศไทยได้ขยายเพิ่มขึ้นในปี 2522 สามารถผลิตสารกาแฟได้ถึง 18,025.32 ตัน และมีมูลค่าสารกาแฟที่ส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 50,790 พันบาทในปี 2516 เป็น 56,559 พันบาทในปี 2521 ในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟกันมากในภาคใต้ประมาณร้อยละ 93 ของพื้นที่ที่ปลูกกาแฟทั้งประเทศ และสามารถผลิตสารกาแฟได้ถึงร้อยละ 95 ของผลผลิตทั้งหมด และจังหวัดที่มีเนื้อที่การปลูกกาแฟมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และยะลา สารกาแฟที่ตลาดในประเทศได้รับมากที่สุดในภาคใต้ คือ จังหวัดศรีธรรมราช เนื่องจากเกษตรกร นิยมทำไรกาแฟในลักษณะที่เป็นเชิงเศรษฐกิจมากกว่า และยังเป็นแหล่งอุปทานสารกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ การศึกษาเกี่ยวกับสภาวะการผลิตและการตลาดของสารกาแฟในประเทศไทยฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางการเกษตร และเอกสารต่าง ๆ สอบถามผู้ผลิตสารกาแฟบางรายและจากการสังเกตการณ์ระหว่างภาคสนามที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคทั้งทางด้านการผลิตและการตลาดสารกาแฟ ซึ่งการศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาขั้นเริ่มต้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับทางการศึกษารายละเอียดในขั้นต่อไป เนื่องจากทางราชการและเอกชนยังไม่มีการรวบรวมตัวเลขสถิติ หรือทดลองต่าง ๆ มากพอที่จะศึกษาให้ละเอียดได้ ผลการศึกษาปรากฏว่าสารกาแฟส่วนมากได้มาจากกาแฟพันธ์โรบัสตา 90% อีก 10% ได้มาจากพันธ์อาราบิกา กาแฟนี้เป็นไม้ยืนต้น นิยมปลูกตามไหล่เขา และบนเนิน ระหว่างไหล่เขากระจายทั่วไป ดินที่ปลูกมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เพราะมีความอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี อุณหภูมิเฉลี่ยราว 25-30 องศาเซลเซียส สารกาแฟจะเริ่มได้ผลผลิตในปีที่ 3 และจะได้สูงสุดในปีที่ 5 ค่าใช้จ่ายในการผลิตสารกาแฟจะเริ่มมีตั้งแต่ปีที่ 3 คือ ค่าจ้างในการเก็บ, ค่าจ้างกะเทาะเปลือก เป็นต้น ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมของสารกาแฟ ในปี 2523 เท่ากับ 17.95 บาท ขายได้เฉลี่ยต่อกิโลกรัมละ 45 บาท ซึ่งจะทำให้ได้กำไรเฉลี่ยต่อกิโลกรัมละประมาณ 27.05 บาท การจำหน่ายสารกาแฟ เกษตรกรจะจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่รับซื้อในตลาดท้องถิ่นเองหรือพ่อค้าที่รับซื้อถึงไร่กาแฟละ 38 -40 บาท ซึ่งถ้าราคาสารกาแฟในอนาคตยังเป็นอยู่เช่นนี้ และผลกระทบกระเทือนจากสถานการณ์สารกาแฟของประเทศผู้ผลิตแหล่งใหญ่ของโลก ซึ่งประสบกับภัยธรรมชาติจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จูงใจให้มีการผลิตมากขึ้น จึงทำให้มีการส่งสารกาแฟออกมากขึ้น ในประเทศไทยได้เริ่มส่งเสริมการผลิตสารกาแฟตั้งแต่ปี 2497 เป็นต้นมา จนปัจจุบันนี้รัฐบาลก็มีนโยบายให้เกษตรกรปลูกกาแฟมากขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตสารกาแฟได้มากเกินความต้องการภายในประเทศจนสามารถส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลควรจะช่วยเหลือในการหาตลาดสารกาแฟในต่างประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งการควบคุมสารกาแฟที่สั่งจากต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อตลาดได้ขยายกว้างออกไปย่อมเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการผลิต การจำหน่าย การตลาดสารกาแฟ การควบคุมราคาและคุณภาพสารกาแฟ เป็นต้น การแก้ไขอาจจะทำได้โดยการจัดกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการวางแผนการผลิตและการตลาดสารกาแฟให้มีประสิทธิภาพ ทั้งช่วยแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคในการผลิต นอกจากนี้รัฐบาลสามารถสนับสนุนโดยให้ความช่วยเหลือค้นคว้าทดลองหาพันธ์ที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับดินฟ้าอากาศในประเทศไทย แนะนำเทคนิคการเพาะปลูก และการบำรุงรักษา ตลอดจนการจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวให้เกษตรกรกู้มาลงทุน มีมาตราการในการควบคุมราคา ในอนาคตเมื่อตลาดสารกาแฟในประเทศมั่นคง รัฐบาลก็ให้ความช่วยเหลือในการส่งออกด้วย ซึ่งจะช่วยให้สามรถพัฒนากาแฟให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศได้ในที่สุด
Other Abstract: This is a preliminary study of problems and obstacles in green coffee beans production and marketing. The data used in this study are collected from journals of agriculture and other related materials as well as interviews with growers and field observation, A more extended study cannot be done at present since insufficient statistics and data are collected to date both by government and private agencies. Because of reduced production in Brazil, where most of the world’s largest coffee supplier, the price of green coffee bean has increased 28.95%. This has given incentive to Thai growers to expand production and caused green coffee bean exports to rise from 50,790 million baht in 1973 to 56,559 million baht in 1978. In Thailand, coffee is planted mostly in the south where 93 percent of total green coffee beans production in found. The provinces which produced most of the green coffee beans are Chumporn, Nakornsrithamerat and Yala. The largest production of green coffee bean comes from Nakornsrithamerat, 90 percent of the green bean grown in Thailand is Robusta, the rest is Arabica which is perennial cultivated along the hill-sides. The type of soil used in loose and sandy soil because it is not only fertile but also does not hold too much water. The yield of the coffee tree begins in the third year but will reach its highest point in the fifth year. The cost of production increases in the third year due to the wages for picking coffee beans and breaking coffee bean shell. The average cost per kilogram of green coffee bean was 17.06 baht whereas the average selling price was 45 baht that left and average profit of 27.92 baht per kilo. As for marketing of these green coffee beans, the coffee traders who act as middlemen will by the product from growers at local markets or right from the plantations. If the price continues to be at its highest, namely at 45-50 baht per kilo, more growers would be attracted to supply more coffee locally. Green coffee beans production has been promoted since 1954. In the beginning the local output was less than the demand, therefore Thailand had to import great amount of coffee from overseas. The government set up a project to promote coffee growing in the country. However, with production expanded, the problems of distribution and marketing followed. These problems can be solved partly by organizing grower to be cooperator which would act as their representatives in production planning and marketing. The government can help with research and improvement of the kinds of coffee which are suitable for climate and soil conditions in Thailand. Furthermore, it could also provide growers with a long-term capital pricing policy as well as export markets in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22490
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowapa_Ch_front.pdf439.72 kBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_ch1.pdf280.32 kBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_ch2.pdf443.51 kBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_ch4.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_ch5.pdf428.58 kBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_ch6.pdf414.63 kBAdobe PDFView/Open
Saowapa_Ch_back.pdf302.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.