Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22525
Title: การประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของผู้ป่วยจัดฟันโดยใช้แคริโอแกรม
Other Titles: Caries risk assessment in orthodontic patients by cariogram
Authors: จิตรวรี จิตตั้งสมบูรณ์
Advisors: บุษยรัตน์ สันติวงศ์
ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Paiboon.T@Chula.ac.th
Subjects: ฟันผุ -- การป้องกัน
ทันตกรรมจัดฟัน
การประเมินความเสี่ยง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของผู้ป่วยจัดฟันโดยใช้แคริโอแกรมและวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการ: ผู้ป่วย 30 ราย (อายุ 12-26 ปี) ที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่น เข้าร่วมในการศึกษานี้ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ประสบการณ์การเกิดฟันผุ คะแนนคราบจุลินทรีย์ อัตราการไหลของน้ำลายขณะกระตุ้นด้วยการเคี้ยวพาราฟิน ประสิทธิภาพในการปรับภาวะกรด-ด่างของน้ำลาย ความถี่ในการรับประทานอาหาร ระดับเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไคและแลกโตเบซิลไล และจำนวนการใช้ฟลูออไรด์ ในสามระยะเวลาที่แตกต่างกัน (ก่อนรักษา หลังติดเครื่องมือจัดฟัน 1 เดือน และ 3 เดือน) ประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของผู้ป่วยโดยใช้แคริโอแกรม ซึ่งแสดงผลการประเมินเป็นค่าโอกาสหลีกเลี่ยงการเกิดฟันผุใหม่ ผล: ค่าเฉลี่ยของโอกาสหลีกเลี่ยงการเกิดฟันผุใหม่ก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน หลังจากติดเครื่องมือ 1 เดือนและ 3 เดือน เท่ากับ ร้อยละ 61.8 62.3 และ 55.1 ตามลำดับ หลังจากผู้ป่วยติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้วเป็นเวลา 3 เดือนเปรียบเทียบกับก่อนติดเครื่องมือ พบว่าอัตราการไหลของน้ำลาย คะแนนคราบจุลินทรีย์และระดับเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่น ทำให้อัตราการไหลของน้ำลาย คะแนนคราบจุลินทรีย์และระดับเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไคเพิ่มขึ้น แต่ค่าโอกาสหลีกเลี่ยงการเกิดฟันผุใหม่ที่ประเมินจากแคริโอแกรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this study were to assess caries risk of orthodontic patients by Cariogram and to analyze the related factors. Methods: Thirty patients (12-26 years old) who underwent fixed orthodontic treatment were recruited. Caries experience, plaque score, paraffin-stimulated salivary flow rate, buffer capacity, frequency of diet intake, Mutans streptococci and Lactobacilli levels and number of fluoride uses were evaluated at three different time points (before treatment, 1 month and 3 months after appliance placement). Caries risk of the patients were assessed by Cariogram and the outputs were showed as chance of avoiding new caries. Results: The mean chance of avoiding new caries before insertion, 1 month and 3 months after appliance placement were 61.8% 62.3% and 55.1% respectively. At 3 months after appliance insertion compared to baseline, salivary flow rate, plaque score and Mutans streptococci level were significantly increased. Conclusion: Treatment with fixed orthodontic appliance may increase the values of salivary flow rate, plaque score and Mutans streptococci level but no statistical difference of chance of avoiding new caries from Cariogram
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22525
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.889
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.889
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jitvaree_ch.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.