Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22666
Title: ผลของการนวดต่อความอยากแอลกอฮอล์ในผู้ที่เข้ารับการบำบัดการติดแอลกอฮอล์ในระยะฟื้นฟู ณ สถาบันธัญญารักษ์
Other Titles: Effect of massage on craving response in individuals receiving alcohol dependency treatment in rehabilitation stage at Thanyarak Institute
Authors: ณัฐนรี ชื่นชูจิตต์
Advisors: รัศมน กัลยาศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Rasmon.K@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ติดสุรา
การบำบัดด้วยการนวด
สถาบันธัญญารักษ์
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ cross-over มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความอยากแอลกอฮอล์ขณะที่ได้รับและไม่ได้รับการนวดในผู้ที่เข้ารับการบำบัดการติดแอลกอฮอล์ในระยะฟื้นฟู ณ สถาบันธัญญารักษ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากชายไทย 18 คน ที่เข้ามารับการบำบัดการติดแอลกอฮอล์ในระยะฟื้นฟู ณ สถาบันธัญญารักษ์ โดยใช้แบบประเมินตอบด้วยตนเองบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยแบบประเมินความอยากแอลกอฮอล์ Penn Alcohol Craving Scale (PACS) ฉบับภาษาไทยและแบบประเมินความรู้สึก Visual Analog Scale (VAS) โดยกลุ่มตัวอย่างจะทำแบบประเมินดังกล่าวทั้งหมด 3 วัน คือ วันที่ไม่ได้รับกิจกรรมใด ๆ วันที่ได้รับการนวด และวันอ่านหนังสือพิมพ์ โดยจะมีการสลับวันที่ได้รับการนวดหรือวันอ่านหนังสือพิมพ์แบบสุ่ม การนวดหรืออ่านหนังสือพิมพ์มีระยะเวลาครั้งละ 30 นาที เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 วัน ซึ่งในแต่ละวันกลุ่มตัวอย่างจะได้รับชมวิดีทัศน์ภาพกระตุ้นความอยากแอลกอฮอล์ที่มีความยาวครั้งละ 1 นาทีจำนวน 3 ครั้ง ระยะห่างระหว่างครั้งทุก 5 นาที และเป็นภาพธรรมชาติต่ออีกจำนวน 3 ครั้ง ในรูปแบบเดียวกัน จากนั้นแบบประเมิน PACS และ VAS จะปรากฏขึ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หลังภาพกระตุ้นและภาพธรรมชาติในแต่ละครั้ง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเลือกคำตอบผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยจะมีการวัดระดับสัญญาณชีพ (ความดันโลหิตและชีพจร) ด้วยเครื่องวัดอัตโนมัติทุกครั้งที่ตอบแบบประเมิน จากนั้น นำข้อมูลระดับความอยากแอลกอฮอล์ ความรู้สึกที่พบร่วม ระดับสัญญาณชีพ มาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Generalized Estimating Equations (GEE) และ pair t-test ผลการศึกษา พบว่า ความอยากแอลกอฮอล์ในวันที่ได้รับการนวดต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับการทำกิจกรรมใด ๆ ขณะดูวีดิทัศน์กระตุ้นความอยากแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และต่ำกว่าวันอ่านหนังสือพิมพ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ตาม ความอยากแอลกอฮอล์ในวันที่ไม่ได้รับกิจกรรม ใด ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวันอ่านหนังสือพิมพ์ (p = 0.4) นอกจากนี้ การนวดยังมีผลลดระดับความรู้สึกด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความรู้สึกถูกกระตุ้น ความรู้สึกกังวล ความรู้สึกหิว ความรู้สึกมีอารมณ์พุ่งสูง ความรู้สึกหวาดระแวง ความรู้สึกพูดไม่ออก ความรู้สึกแย่ ขณะดูวิดีทัศน์ภาพแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ไม่มีผลต่อความรู้สึกกระสับกระส่าย นอกจากนี้ การนวดยังมีผลลดระระดับความดันโลหิต systolic ความดันโลหิต diastolic และระดับชีพจร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ขณะดูวีดิทัศน์กระตุ้นความอยากแอลกอฮอล์ ดังนั้น การนวดสามารถลดความอยากแอลกอฮอล์ และสามารถลดระดับความรู้สึกด้านต่าง ๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ขณะถูกกระตุ้นให้เกิดความอยากแอลกอฮอล์ และสามารถลดระดับความดันโลหิต systolic ความดันโลหิต diastolic และระดับชีพจรได้
Other Abstract: The aim of this cross-over experimental research was to undertake a comparative study of alcohol craving on subjects who have been massaged and those who have not at Thanyarak Institute. Information was obtained from 18 subjects who have been hospitalized on their alcohol dependence in rehabilitation stage at Thanyarak Institute. Data collection was done through a computerized self-evaluation form comprising of Penn Alcohol Craving Scale (PACS) and Visual Analog Scale (VAS). The subjects have undertaken the said evaluation forms in 3 days including the day with no activities, the day with massage, and the day with leisure of reading newspaper. The day with massage and reading newspaper would be conducted on a random basis with the duration of 30 minutes of massage or reading newspaper for each session as well as a break for 3 days. Each day, the subjects would be stimulated their craving through watching the video of alcohol consumption 3 times with a break and would continue with watching the video of natural view for other 3 times. Then, the evaluation forms for PACS and VAS would be displayed on the computer screen after the subjects have watched both types of videos for them to choose the answers. The subjects would also be measured their vital signs each time they have provided the answers. Once completed, the data of alcohol craving level as well as the vital signs would be analyzed with Generalized Estimating Equations (GEE) and pair t-test. The research revealed the result that alcohol craving level of subjects who have been stimulated with alcohol consumption video was low particularly when they have been massaged comparing to the day they have no activities with the statistical significance of 0.01. The result was also similar to reading activity with the statistical significance of 0.01. However, alcohol craving level on the day with no activities undertaken has shown no statistical significance in comparison with the day with reading newspaper (p = 0.4). In addition, effect of massage has reduced the stimulated, anxious, hungry, high, paranoid, tongue-tied and bad of the subjects with statistical significance of 0.01 while watching the stimulated video of alcohol consumption. However, there was no effect on the restless of the subjects. The massage has also lowered the systolic and diastolic blood pressure with statistical significance of 0.01 while watching the stimulated video of alcohol consumption. In conclusion massage affected the level of alcohol craving as well as both positive and negative feelings of the subjects who have been stimulated with alcohol consumption and reduced both systolic as well as diastolic blood pressure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22666
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.908
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.908
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natnaree_ch.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.