Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเขมรัฐ โอสถาพันธุ์-
dc.contributor.advisorเจริญขวัญ ไกรยา-
dc.contributor.authorวรรธิดา จิระชัยพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-10-16T03:16:18Z-
dc.date.available2012-10-16T03:16:18Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22673-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กระบวนการทางไฟฟ้าเคมีในการกำจัดสังกะสีในน้ำเสีย จากโรงงานผลิตเส้นใยเรยอน งานวิจัยนี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ส่วน ผลการทดลองส่วนที่ 1 การตกตะกอนทางเคมีด้วยแคลเซียมคลอไรด์ สามารถกำจัดซัลเฟตได้ดีที่สุดที่พีเอชเท่ากับ 4 โดยที่อัตราส่วนโมลแคลเซียมต่อซัลเฟตเท่ากับ 1:1 สามารถกำจัดซัลเฟตได้ 85.7% ในขณะที่การกำจัดซีโอดีด้วยวิธีออกซิเดชัน สามารถกำจัดซีโอดีได้ดีที่สุดที่พีเอชเท่ากับ 5 โดยการออกซิเดชันด้วยโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตความเข้มข้น 3000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกำจัดซีโอดีได้ 16.1% และทำให้น้ำที่ผ่านการออกซิเดชันมีลักษณะใส ไม่มีสี ผลการทดลองส่วนที่ 2 ถังปฏิกิริยาแบบมีรอยต่อของสารละลายด้วยแผ่นแก้วพรุน ให้ผลการทดลองที่ดีและสะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด โดยกำจัดสังกะสีได้ 97.9% ใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 30 นาที ณ ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 241 แอมแปร์ต่อตารางเมตร ผลการทดลองส่วนที่ 3 การกำจัดสังกะสีด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมีที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 130 แอมแปร์ต่อตารางเมตร ในน้ำเสียที่มีการปรับพีเอชเริ่มต้นและผ่านการตกตะกอน ร่วมกับการออกซิเดชันให้ผลการทดลองที่ดีที่สุด โดยให้เปอร์เซ็นต์ของการกำจัดสังกะสีที่ 98.2 ณ เวลา 6 นาทีเท่ากับน้ำเสียที่มีการปรับพีเอชเริ่มต้นและผ่านการออกซิเดชัน แต่ในน้ำเสียที่มีการปรับพีเอชเริ่มต้นและผ่านการออกซิเดชันพบการละลายกลับของตะกอนสังกะสีมากกว่า ในขณะที่น้ำเสียที่กำจัดสังกะสีด้วยกระบวนการทางไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการปรับพีเอช ตกตะกอนซัลเฟต และออกซิเดชัน ให้ค่าเปอร์เซ็นต์ของการกำจัดสังกะสีเท่ากับ 35.8 ที่เวลา 40 นาทีen
dc.description.abstractalternativeTo enhance an electrochemical zinc removal efficiency in rayon fiber production factory wastewater. This study devided into three parts. Part 1 involved sulfate precipitation by CaCl₂ and COD reduction by chemical oxidation. Results reviewed that 85.7% of sulfate ion was best removed at pH 4 by using mole ratio of 1:1 Ca²⁺ : SO₄²⁻ and 16.1% of COD was best reduced at pH 5 by 3000 mg/L KMnO₄. At this usage concentration of KMnO₄, the treated water after oxidizing process was colorless. Part 2 involved an electrochemical reactor selection. The 2-compartment reactor separated with sintered glass gave the best result in zinc removal. A 97.9% of zinc was eliminated within 30 min using 241 A/m² current density. In part 3, percentages of electrochemical zinc removal process at 130 A/m² current density were investigated in various treated wastewaters. The best result gained from wastewater treated with initial pH adjustment (to pH 4), sulfate precipitation and COD reduction where 98.2% zinc removal was achieved in 6 min. The same result was also obtained from wastewater treated with initial pH adjustment and COD reduction alone. However, the more zinc redissolvation was found in the later treated wasterwater. A controlled system, untreated wastewater (pH 1.7), yielded 35.8% zinc removal at 40 min.en
dc.format.extent2558112 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.912-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนักen
dc.subjectอุตสาหกรรมเรยอนen
dc.subjectการวิเคราะห์ทางเคมีไฟฟ้าen
dc.subjectSewage -- Purification -- Heavy metals removalen
dc.subjectRayon industry and tradeen
dc.subjectElectrochemical analysisen
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสังกะสีด้วยวิธีไฟฟ้าเคมีในน้ำเสียโรงงานผลิตเส้นใยเรยอนที่ผ่านการกำจัดซัลเฟตและซีโอดีen
dc.title.alternativeEfficiency enhancement of zinc removal by electrochemical process from rayon factory wastewater after sulfate and COD depletionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKhemarath.O@chula.ac.th-
dc.email.advisorCharoenkwan.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.912-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wantida_ji.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.