Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22709
Title: | สัมพันธบทในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อเมริกันแนวแวมไพร์ร่วมสมัย |
Other Titles: | Intertextual narrative in American contemporary vampire film and TV series |
Authors: | นิชธ์นาวิน จุลละพราหมณ์ |
Advisors: | โสภาวรรณ บุญนิมิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sopawan.B@Chula.ac.th |
Subjects: | การเล่าเรื่อง การเชื่อมโยงเนื้อหา ภาพยนตร์อเมริกัน ละครโทรทัศน์อเมริกัน ภาพยนตร์แวมไพร์ Narration (Rhetoric) Intertextuality Motion pictures, American Television plays, American Vampire films |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสัมพันธบทของการเล่าเรื่องในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อเมริกันแนวแวมไพร์ร่วมสมัย โดยศึกษาจากภาพยนตร์แนวแวมไพร์รูปแบบเก่า 1 เรื่อง และภาพยนตร์ชุดอีก 1 เรื่อง มีทั้งหมด 4 ภาค และละครโทรทัศน์ 2 เรื่อง เรื่องละ 2 ฤดูกาล รวมทั้งสิ้น 68 ตอน และศึกษาองค์ประกอบที่เป็นลักษณะพิเศษของแนวแวมไพร์ร่วมสมัย และศึกษาระบบคิดของสังคมที่สะท้อนออกมาจากภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ทั้ง 3 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทการเล่าเรื่องจากแนวแวมไพร์รูปแบบเก่าสู่แนวแวมไพร์ร่วมสมัยมีการคงเดิม ขยายความ ตัดทอน และปรับเปลี่ยน ในองค์ประกอบการเล่าเรื่องที่ชัดเจนที่สุดคือ โครงเรื่อง ตัวละคร และฉาก ส่วนองค์ประกอบที่มีความชัดเจนเป็นรองลงมาคือ แก่นเรื่อง ความขัดแย้ง สัญลักษณ์ และมุมมองในการเล่าเรื่อง รวมถึงการสร้างตัวละครแวมไพร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากที่สุดเช่นกัน ต่อมาคือการศึกษาองค์ประกอบที่เป็นรูปแบบพิเศษเฉพาะของการเล่าเรื่องแนวแวมไพร์ร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่า มีการเล่าเรื่องผ่าน 5 ลักษณะสำคัญ ได้แก่ เล่าเรื่องด้วยความรักของชายหญิง การลบเลือนเส้นแบ่งความหมายแห่งคู่ตรงข้าม แก่นเรื่องความเป็นมนุษย์ ตัวละครหญิงที่เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่อง และตัวละครแวมไพร์ที่มีความงามเหนือกว่า สุดท้ายคือการศึกษาระบบคิดของสังคมที่สะท้อนออกมาจากภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ทั้ง 3 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า มีระบบคิดทั้งหมด 4 ประการ ได้แก่ ความงามของรูปลักษณ์ การแบ่งแยกสีผิว การมีคุณงามความดี และบทบาททางเพศ ทั้งนี้ ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แนวแวมไพร์มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และเข้าสู่รูปแบบร่วมสมัยด้วยการลบเลือนเส้นแบ่งระหว่างความจริง และจินตนาการร่วมกับการดึงตัวละครมาสู่ชีวิตจริง โดยตัวละครเอกแวมไพร์จากแนวแวมไพร์ร่วมสมัยนั้น มีการเชื่อมโยงจากตัวละครแวมไพร์ในรุ่นก่อนที่มีลักษณะเป็นผู้ที่ประสบกับ วิกฤตอัตลักษณ์ หรือเป็นลักษณะดาร์ค-ฮีโร่ที่ถ่ายทอดมาจากนวนิยายอเมริกันในสมัยก่อน โดยได้ผสมเข้ากับภาพของความเป็นชายในอุดมคติ จนกลายเป็นตัวละครแนวร่วมสมัยดังกล่าว ซึ่งเสริมย้ำลักษณะสัมพันธบทยุคหลังสมัยใหม่ที่ผลผลิตของสื่อบันเทิงคดีนั้นไม่มีของใหม่โดยสมบูรณ์ แต่เป็นการเชื่อมโยงผ่านกฏแห่งการเลือกสรรและผสมผสานมาดัดแปลงและสื่อความหมายใหม่ร่วมกัน |
Other Abstract: | This research paper serves three main purposes. Firstly, it aims to study and analyze the intertextuality of narrative in American contemporary vampire films and tv series. The research focuses on 1 traditional vampire film, 1 contemporary film series consists of 4 arcs and 2 tv series (68 episodes). Secondly, it focuses on the distinct elements of contemporary vampire form. Lastly, it provides an insight into the social ideas conveyed from the contemporary film and tv series in focus. The research finds that there are convention, extension, reduction and modification in all narrative elements of the intertextual narrative from traditional to contemporary vampire. The most obvious of all are the plot, character and setting including the vampire character creation. The more minor points have been identified as the theme, conflict, symbol and point of view. The second research result shows 5 elements as special form of contemporary vampire film and tv series. These consist of 1. heterosexual romance narrative, 2. blurring of the binaries oppositions, 3. theme of humanity, 4. female character as narrative center, 5.vampire as more beautiful character. And the last research result revealed 4 social ideas which are conveyed from 3 contemporary film and tv series, namely 1. good appearance, 2. racism, 3. code of virtue, 4. gender roles. Furthermore, the vampire film and TV series have been developing continuously to the most recent form of contemporary vampire by blurring the boundary between reality and fantasy and bringing vampire into the context of reality. The most important function of text movement is the main vampire character creation. For the contemporary text had combined the traits of vampire that has identity crisis as Dark-Hero with the portrayal of masculinity to form such contemporary character which reinforce the idea of a postmodern intertextuality, which stated that nothing could be entirely 100% new. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22709 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.956 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.956 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nich-navin_ch.pdf | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.