Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22712
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์-
dc.contributor.advisorพิสุทธิ์ กตเวทิน-
dc.contributor.authorกมลรัตน์ วัฒนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-10-17T08:46:11Z-
dc.date.available2012-10-17T08:46:11Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22712-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractที่มา: ไอโคเดกทรินเป็นน้ำยาล้างไตทางช่องท้องที่เป็นสารกลูโคสโพลีเมอร์ น้ำยาชนิดนี้กำจัดน้ำโดยอาศัยความเป็น colloid osmosis ทำให้ต้องทิ้งค้างน้ำยาไอโคเดกทรินในช่องท้องเป็นเวลานาน ด้วยคุณสมบัติความเป็น colloid ทำให้สามารถนำมาใช้ในผู้ที่มีปัญหาผนังช่องท้องมีอัตราการแลกเปลี่ยนสสารไว (high transporter) ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวาน ระหว่างหรือหลังจากมีการติดเชื้อภายในช่องท้องอย่างรุนแรง และผู้ที่ผ่านการล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องมานานหลายปี จนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่ได้มีการศึกษาถึงเภสัชจลนศาสตร์ของไอโคเดกทรินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมงานวิจัยสองโรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัยนอนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นเวลา 1 วัน ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับการใส่น้ำยาไอโคเดกทริน ปริมาณ 1.5 ลิตรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการถ่ายน้ำยาไอโคเดกทรินออกจากช่องท้อง และทำการล้างไตทางช่องท้องต่อด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยใช้สารละลายกลูโคสมาตรฐานปริมาณ 9-10 ลิตร จำนวน 5 รอบ ตั้งแต่เวลา 2 ทุ่มถึง 8 โมงเช้า วิเคราะห์ไอโดเดกทรินและสารอนุพันธ์ ในเลือด ปัสสาวะ น้ำในช่องท้องที่จุดเวลาต่างๆ หลังจากนอนโรงพยาบาล 24 ชั่วโมงแล้ว ผู้ป่วยกลับบ้านและนัดตรวจติดตามวันที่ 3, 7, 14, 28 วิเคราะห์ไอโดเดกทรินและสารอนุพันธ์ในเลือด ปัสสาวะ น้ำในช่องท้อง ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 12 รายที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติได้เข้าร่วมงานวิจัย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 8 ราย ไม่เป็นเบาหวาน 4 ราย ผู้ป่วยทุกรายใส่น้ำยาไอโคเดกทรินทางช่องท้องวันละ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 28 วัน พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีอายุมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.017) จากการตรวจสารอนุพันธ์ของไอโคเดกทรินในเลือดพบว่า ชั่วโมงที่ 12-14 หลังใส่ไอโคเดกทริน มี DP2, DP3, และ DP4 ในเลือดสูงที่สุดในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม plasma AUC ของไอโคเดกทรินสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ body mass index ของผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวานและสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ renal creatinine clearance ของผู้ป่วยในงานวิจัยทุกรายที่มีปัสสาวะ ตลอดการวิจัยไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับอินซูลินและกลูโคสในเลือด ขณะใช้น้ำยาไอโคเดกทริน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผลการศึกษา: plasma AUC ของไอโคเดกทรินสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ body mass index ของผู้ป่วยและสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ renal creatinine clearance ของผู้ป่วยในงานวิจัยทุกรายที่มีปัสสาวะ การเพิ่มขึ้นของไอโคเดกทรินและสารอนุพันธ์ของไอโคเดกทรินในเลือด หลังจากใส่น้ำยาไอโคเดกทรินทางช่องท้อง ไม่ได้ทำให้ระดับอินซูลินและกลูโคสในเลือดสูงขึ้นในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม แต่ทำให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลงเล็กน้อยแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติen
dc.description.abstractalternativeBackground: Icodextrin is a glucose polymer used to provide sustained ultrafiltration during long peritoneal dialysis dwells especially patients with high and high-average peritoneal membrane characteristics. To date the pharmacokinetics of icodextrin in automated peritoneal dialysis patients has not been studied. Methods: A prospective nonrandomized pharmacokinetics study was conducted in King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) and Police General Hospital. Patients were admitted to clinical research center at KCMH for a 24-hour. Each patient was administered 1.5 L of solution containing 7.5% icodextrin for 12-hour (8.00 am. to 20.00 pm.). Afterwards the solution was drained from the peritoneal cavity and the patients resumed automated peritoneal dialysis using glucose-based solutions with NIPD (1.8-2 L/cycle, 5 cycles) from 20.00 pm. to 8.00 am. Icodextrin and metabolites (DP2 to DP7) were measured in blood, urine and dialysate. After 24 hour patients discharged and requested to return on days 3, 7, 14 and 28 for collection of blood, dialysate, and urine samples on an outpatient basis. Results: Twelve patients (DM 8, non DM 4) on automated peritoneal dialysis were included in this study. All patients had been used icodextrin during the 12-hour long dwell for at least 28 days. At baseline both groups were similar in all the analyted variables, including clinical characteristics, laboratory measurements, and dialysis parameters (Except in diabetic patients were older ages than non diabetic patients, p = 0.017). Peak plasma levels of icodextrin metabolites (DP2-DP4) were observed at 12-14 hour after icodextrin administration in both groups. Plasma AUC of icodextrin was significant correlated with patients’ body mass index in non-diabetic patients and significant related to renal creatinine clearance in all patients with sufficient urine output in this study. There were no changes in serum insulin or glucose levels during icodextrin administration in both groups. Conclusions: This study was found that plasma AUC of icodextrin was significant correlated with patients’ body mass index and significant related to residual renal function. The metabolism of absorbed icodextrin and the rise in plasma levels of small glucose polymers (DP2 to DP4) did not result in hyperglycemia or hyperinsulinemia, but may result in a small decrease in serum sodium.en
dc.format.extent2718511 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.959-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเภสัชจลนศาสตร์en
dc.subjectการล้างไตทางช่องท้องen
dc.subjectไอโคเดกซตรินen
dc.subjectไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วยen
dc.subjectPharmacokineticsen
dc.subjectPeritoneal dialysisen
dc.subjectIcodextrinen
dc.subjectChronic renal failure -- Patientsen
dc.titleเภสัชจลนศาสตร์ของไอโคเดกทรินในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติen
dc.title.alternativePharmacokinetics of icodextrin in DM and non DM in APD patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTalerngsak.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPisut.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.959-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kamolrach_wa.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.