Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22741
Title: การดัดแปลงแบบสอบเดอะชิคาโกนอนเวอร์เบิลเอ็กแซมมิเนชั่น เพื่อใช้กับเด็กหูหนวกไทย
Other Titles: An adaptation of the chicago non-verbal examination for use with Thai deaf children
Authors: อัจฉรา จันไกรผล
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อดัดแปลงแบบสอบเดอะชิคาโกนอนเวอร์เบิลเอ็กแซมมิเนชั่น ซึ่งเป็นแบบสอบวัดสติปัญญาเพ่อใช้กับเด็กหูหนวกไทยในชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมปีที่ 6 และศึกษาประสิทธิภาพของแบบสอบในการทำนายผลสัมฤทธิภาพของแบบสอบในการทำนายผลสัมฤทธิทางการเรียนวิชาอ่านเอาเรื่องแลวิชาเลขคณิต ผู้วิจัยได้ดัดแปลงแบบสอบเดอะชิคาโกนอนเวอร์เบิล เอ็กแซมมิเนชั่น โดยอาศัยแนวทางจากแบบสอบเดิม แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมไทย แบบทดสอบชุนดนี้ประกอบด้วยแบบสอบย่อย 10 ฉบับ แบบสอบย่อยที่นำมาดัดแปลงมีเพียง 5 ฉบับได้แก่ แบบไม่เข้าพวก การเรียงภาพให้สมบูรณ์ การเรียงลำดับเหตุการณ์ ภาพที่ผิดปกติ และส่วนของภาพ เนื่องจากเป็นแบบสอบที่มีอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของต่างประเทศมาเกี่ยวข้อง ส่วนแบบสอบย่อยอีก 5 ฉบับ ได้แก่ แบบระหัสขั้นต้น, แบบการนับจำนวน, การรวมภาพให้เหมือน แบบภาพเหมือน และแบบระหัสขั้นสูงไม่ได้นำมาดัดแปลง โดยถือว่าเป็นแบบสอบ ที่ไม่มีอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของต่างประเทศมาเกี่ยวข้อง ได้นำไปสอบก่อนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 มีอายุระหว่าง 10 ถึง 14 ปี ของโรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิต, โรงเรียนสอนคนหูหนวกทุ่งมหาเมฆ และโรงเรียนสุโรชวิทยาเป็นจำนวน 135 คน ในการสอบระยะแรกได้แบ่งเป็นการสอบก่อน 3 ครั้ง นำผลการสอบมาวิเคราะห์หาระดับความยากและอำนาจจำแนกของข้อสอบโดยทำการวิเคราะห์แต่เฉพาะแบบสอบย่อยเพียง 8 ฉบับ สำหรับแบบสอบย่อยอีก 2 ฉบับนั้น ไม่ได้นำมาวิเคราะห์ เพราะว่าเป็นแบบสอบประเภทความเร็วและลักษณะข้อสอบเป็นแบบระหัส ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาทำการวิเคราะห์รายข้อ จึงไม่นำมาทำการวิเคราะห์ จากการสอบระยะที่สอง ได้หาค่าความเที่ยงและความตรงของแบบสอบ และนำคะแนนการสอบมาหาลำดับที่เปอร์เซนต์ไตล์ในแต่ละระดับชั้น ผลการวิจัยแบบสอบเดอะชิคาโกนอนเวอร์เบิล เอ็กแซมมิเนชั่น ที่ได้ดัดแปลงเพื่อใช้กับเด็กหูหนวกไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่ได้ดัดแปลงและปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ผลจากการวิเคราะห์แบบสอบย่อยทั้ง 8 ฉบับ ในชั้นสุดท้ายเป็ฯข้อสอบทั้งหมด 106 ข้อ แต่ละข้อมีดัชนีความยากระหว่าง 20% ถึง 80 และอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 ถึง .88 จากผลการวิเคราะห์การรวมกลุ่ม (Cluster Analysis) แสดงว่าแบบสอบย่อยทั้ง 10 ฉบับ เสริมสิ่งที่จะวัดไปในเรื่องเดียวกัน และสามารถนำคะแนนแต่ละแบบย่อยมารวมกันได้ ความเที่ยงของแบบสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 และรวมหมดทุกชั้นโดยวิธีสอบซ้ำ (Test-Retest) เป็น .69, .83, .80, .80, .69, .72 และ .85 ตามลำดับ ความตรงของแบบสอบถามเมื่อเทียบกับเกณฑ์แบบสอบวิชาอ่านเอาเรื่องชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เป็น .47, .53, .63, .61, .46 และ .54 ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพในการทำนายความสำเร็จทางการเรียนเท่ากับ 12%, 15%, 22%, 20%, 11%, และ 16% ตามลำดับ และความตรงของแบบสอบถามเมื่อเทียบกับเกณฑ์แบบสอบถามวิชาเลขคณิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็น .41, .56, .63, .59, .49 และ .67 ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพในการทำนายความสำเร็จทางการเรียนเท่ากับ 9%, 17%, 22%, 19%, 13%, และ 26% ตามลำดับ
Other Abstract: This study is an attempt to adapt the Chicago Non-Verbal Examination for Thai Deaf Children in prathom 1 to 6, and to see the efficiency of the test in predicting achievement in reading comprehension and mathematics. Following the pattern of the prior test, the writer tried adapt the Chicago Non-Verbal Examination to Thai environment and culture. The test consists of ten subtests; the five subjects adapted test are Classification, Picture completion, Picture arrangement, Absurdity and Part-whole relationship and the original five are Coding, Block counting, Spatial relationship, Similarities and Coding. Owing to cultural differences, only five subtests were adapted. This test was tried on 135 students of prathom 1 to 6 , age 10 to 14 from the Dusit School for The Deaf and the Tungmahamek School for The Deaf and Surojvithaya School. In the first try-out, the test was divided into three periods of pretesting. Item analysis for the difficulty level and discriminating power was done for 8 subjects except two subtest of coding type which were not appropriated for item analysis. The Reliability and the Validity of the test were determined and the test scores were transformed into percentile ranks for each grade level. Major findings of the test was achieved by analyzing the 8 subjects. There are totally 106 items. The difficulty level ranges from 20% to 80%. The power of discrimination ranges from .20 to .88 Cluster Analysis results show that ten subjects measure the same characteristics, so the scores of all subtests could be summed up as a single score. The test-retest Reliability for prathom 1 to 6 and the total group were .69, .83, .80, .80, .69, .72 and .85 respectively. The Validity of the test using reading comprehension .as criterion for prathom 1 to 6 are .47, .53, .63 ,.61 ,.46 and .54, of which theirs index of forecasting efficiency are 12%, 15%, 22%, 20%, 11%, and 16% respectively. The Validity of the test using mathematics as criterion for Prathom 1 to 6 are .41, .56, .63, .59, .49 and .67 , of which theirs index of forecasting efficiency are 9%, 17%, 22%, 19%, 13%, and 26% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22741
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ashara_ch_front.pdf460.31 kBAdobe PDFView/Open
ashara_ch_ch1.pdf357.46 kBAdobe PDFView/Open
ashara_ch_ch2.pdf765.73 kBAdobe PDFView/Open
ashara_ch_ch3.pdf518.13 kBAdobe PDFView/Open
ashara_ch_ch4.pdf915.87 kBAdobe PDFView/Open
ashara_ch_ch5.pdf423.88 kBAdobe PDFView/Open
ashara_ch_back.pdf374.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.