Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22744
Title: | การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานบริเวณ อำเภอสองข้างถนนสายจันทบุรี-สระแก้ว |
Other Titles: | Change and trend of settlements of districts along the highway No. 317 (Chanthaburi-Sakaeo) |
Authors: | อัจฉรา เนียมสอน |
Advisors: | สุวัฒนา ธาดานิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การสร้างทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง ความสะดวกในการในคมนาคมขนส่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของภูมิภาค แต่ในการสร้างทางหลวงแผ่นดินแต่ละสายมักผ่านเข้าไปในพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพื้นที่บริเวณที่ถนนตัดผ่าน คือ การบุกรุกทำลายป่าเพื่อเป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการไหลบ่าของประชากรที่เข้ามาพร้อมกับถนน การตั้งถิ่นฐานของประชากรจะเกิดขึ้นทั่วไปในพื้นที่เหล่านี้ บริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่นจะตั้งอยู่บริเวณสองฟากถนน ชุมชนขนาดเล็กจะกระจายอยู่ในพื้นที่ซึ่งลึกเข้าไปจากถนนสายหลัก ขนาดความเป็นศูนย์กลางของขุมชนที่เกิดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ คือ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดและโครงข่ายของเส้นทางคมนาคมบริเวณใกล้เคียงที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 (จันทบุรี-สระแก้ว) ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การตั้งถิ่นฐาน และระบบชุมชนที่เกิดขึ้นบริเวณอำเภอซึ่งอยู่สองข้างถนนสายนี้ แนวโน้มการตั้งถิ่นฐาน ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการสร้างถนนและวิธีแก้ไข พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางพัฒนาการตั้งถิ่นฐานบริเวณดังกล่าว ผลของการศึกษาสรุปได้ว่า การสร้างถนนสายจันทบุรี-สระแก้ว มีผลต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของพื้นที่ทุกอำเภอที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณที่ถนนตัดผ่าน คือ ทำให้มีพื้นที่ทำการเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นจากการบุกรุกทำลายป่า การตั้งถิ่นฐานจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยประชากร ไหลบ่าเข้ามาในพื้นที่พร้อมกับถนน ระบบชุมชนที่เกิดขึ้นนั้น บริเวณชุมชนหนาแน่นซึ่งจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลจะกระจายอยู่เฉพาะบริเวณสองฟากถนนสายนี้โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารและการให้บริการสินค้าและบริการต่าง ๆ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งแก่ชุมชนทั้งกระจายอยู่รอบ ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า หลังจากการสร้างถนนสายจันทบุรี-สระแก้ว สุขาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นก่อนการสร้างถนนสายนี้มักมีโครงสร้างต่าง ๆ เติบโตค่อนข้างช้าและลดบทบาทความเป็นศูนย์กลางลง ซึ่งมีสภาพตรงกันข้ามกับสุขาภิบาลที่จัดตั้งในภายหลัง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจะมีผลต่อการขยายตัวของพื้นที่ทำการเกษตรกรรม ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละอำเภอ และเกี่ยวเนื่องกับตั้งถิ่นฐานของประชากรที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันผลจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในสภาพปัจจุบันบางพื้นที่ยังมีการใช้ที่ดินที่ยังไม่ได้รับอัตถประโยชน์สูงสุดเมื่อคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบโดยเฉพาะสภาพทางนิเวศน์วิทยา อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางกายภาพและประชากรปรากฏว่ายังมีพื้นที่ที่มีแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานของประชากรเพิ่มขึ้นในพื้นที่อำเภอสองข้างถนนสายนี้ ท้ายสุดของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการกล่าวถึงปัญหาและการคาดคะเนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตั้งถิ่นฐานของประชากรพร้อมทั้งเสนอแนะการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพื้นที่อำเภอสองข้างถนนยังมีศักยภาพในการพัฒนาสูงทั้งด้านการใช้ที่ดินและระบบชุมชน ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายความเจริญเติบโตของชุมชนและเพื่อความมั่นคงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จึงได้เสนอแนะวิธีการพัฒนาให้แก่พื้นที่ที่ทำการศึกษา |
Other Abstract: | Construction of Thailand’s national highways in the past has been primarily aimed to facilitate transportation which would have in turn, generated regional economic growth as well as expansion. But construction of each highway usually involved the exploitation of fertile forest which with inevitably have considerable impact upon the areas concerned. That is clearing the forest for agriculture will increase dramatically due to the influx of the people. Human settlements will also develop, expecially along both sides of the highways. The more densely-populated settlements will locate near the highways while the more sparsely-populated ones will locate further away. The sizes of the settlements will depend upon several factors, e.g., the richness of the natural resources, the kind and the nature of the existing transportation network in the vicinity, etc. Central to this thesis is the study of the impact of the construction of the national highway number 317 (Chanthaburi-Sakaeo) having upon changes in land use pattern, human settlements and the community system that developed after such construction. This thesis also studies the trends of human settlements, related problems as well as offering suggestions about the directions for future development of the settlements around the areas. The main finding is that the construction of the highway did have considerable impact upon the growth and the expansion of the adjacent districts, that is, the pattern of Land-use had been markedly transformed, agricultural areas have been expanded and human settlements have developed around these areas. The more densely populated areas have been established as new sanitary districts and would act as administrative and commercial centres for the surounding areas. The existing sanitary tended to grow or expand at slower rate and their roles as the centres. Contrary to those of the new ones, have been diminishing. Despite the changes in Land-use pattern which had some impact upon the expansion of agricultural areas which, in turn, had direct impact upon the economic growth of the adjacent districts, ecologicall, Land-use in some areas has not been fully utilized. However, these exist areas where human settlement may develop. Finally, this thesis will discuss problems associated with the settlements, suggest some solutions for future Land-use and propose guidelines for the development of the study areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22744 |
ISBN: | 9745669989 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
atchara_ni_front.pdf | 488.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_ch1.pdf | 295.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_ch2.pdf | 451.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_ch3.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_ch4.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_ch5.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_ch6.pdf | 704.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
atchara_ni_back.pdf | 474.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.