Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22785
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัตนา ตุงคสวัสดิ์ | |
dc.contributor.author | อาภัสสรี ไชยคุนา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-10-21T18:13:15Z | |
dc.date.available | 2012-10-21T18:13:15Z | |
dc.date.issued | 2527 | |
dc.identifier.isbn | 9795633801 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22785 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนวคิดด้านปรัชญาการศึกษาระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และครูประจำการที่เข้ารับการอบรมในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ และมุ่งเปรียบเทียบแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาของอาจารย์ นักศึกษา และครูประจำการที่มีความแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน สาขาวิชาที่สอนหรือสาขาวิชาเอกที่เรียน วิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นผลมาจากการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 634 คน เป็นอาจารย์ 139 คน นักศึกษา 232 คน และครู 213 คน จากกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจปรัชญาการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำแนกเป็น 5 ลัทธิ คือ ลัทธิสารัตถนิยม ลัทธินิรันตรนิยม ลัทธิพิพัฒนาการนิยม ลัทธิปฏิรูปนิยม และลัทธิอัตถิภาวนิยม ซึ่งจะสำรวจแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาในด้าน 3 ด้าน คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา องค์ประกอบของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน แบบสำรวจประกอบด้วยข้อความทั้งหมด 65 ข้อ ได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นมาแล้ว การศึกษาครั้งนี้กำหนดตัวแปรตาม คือ ปรัชญาการศึกษาทั้ง 5 ลัทธิ และตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงานสาขาวิชาที่สอนหรือสาขาวิชาที่เรียน การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-text) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) ผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏข้อค้นพบดังนี้ 1.อาจารย์ นักศึกษา และครูประจำการในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ มีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาโน้มไปทางลัทธิพิพัฒนาการนิยม ลัทธิปฏิรูปนิยม และลัทธิอัตถิภาวนิยมในระดับสูงและโน้มไปทางลัทธิสารัตถนิยม และนิรันตรนิยมอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาของอาจารย์ นักศึกษา และครูประจำการ 2.1 ทั้งสามกลุ่มมีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในลัทธิสารัตถนิยม และปฏิรูปนิยม แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในลัทธิพิพัฒนาการนิยม นิรันตรนิยม และลัทธิอัตถิภาวนิยม 2.2 อาจารย์มีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิสารัตถนิยมต่ำกว่านักศึกษา และครูประจำการ 2.3 นักศึกษามีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิปฏิรูปนิยมสูงกว่าครูประจำการ 3. การเปรียบเทียบแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาจำแนกตามเพศ 3.1 อาจารย์ที่มีเพศต่างกันมีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาต่างกันโดยอาจารย์ชายมีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิสารัตถนิยม ลัทธิพิพัฒนาการนิยม และปฏิรูปนิยมสูงกว่าอาจารย์หญิง 3.2 นักศึกษาและครูประจำการที่มีเพศต่างกันไม่พบว่ามีแนวคิดปรัชญาการศึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4. การเปรียบเทียบโดยใช้ตัวแปรด้านอายุ พบว่า 4.1 อาจารย์และครูประจำการที่มีอายุต่างกันมีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4.2 นักศึกษาที่มีอายุต่างกันมีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาต่างกันโดยมีนักศึกษาที่มาอายุต่ำกว่า 21 ปี มีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิอัตถิภาวนิยม สูงกว่านักศึกษาที่มีอายุสูงกว่า 5. การเปรียบเทียบโดยใช้ตัวแปรด้านประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า 5.1 อาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อย มีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิปฏิรูปนิยมและอัตถิภาวนิยมสูงกว่าอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5.2 นักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานและมีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า มีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิพิพัฒนาการนิยม ลัทธิปฏิรูปนิยม และลัทธิอัตถิภาวนิยมสูงกว่านักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5.3 ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่ามีแนวคิดโน้มไปทางลัทธินิรันตนิยมสูงกว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 6. การเปรียบเทียบโดยใช้ตัวแปรด้านสาขาวิชาที่สอนหรือวิชาที่เรียน พบว่า 6.1 อาจารย์ที่สอนในสาขาวิชาต่างกันมีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาต่างกัน โดยอาจารย์ในสาขาวิชาครุศาสตร์มีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิพิพัฒนาการนิยม และอัตถิภาวนิยมสูงกว่าอาจารย์ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และโน้มไปทางลัทธิสารัตถนิยมและนิรันตรนิยมต่ำกว่าอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ 6.2 นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาต่างกันไม่พบว่ามีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 6.3 ครูที่เรียนในสาขาวิชาต่างกันมีแนวคิดทางการศึกษาต่างกัน โดยครูที่เรียนวิชาในสาขาครุศาสตร์มีแนวคิดโน้มไปทางลัทธิสารัตถนิยม และนิรันตรนิยมต่ำกว่าครูที่เรียนวิชาในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.description.abstractalternative | Purpose of the study The major objective of this research were to study and compare the educational philosophy concepts of lecturers, students and inservice teachers in Teachers’ Colleges in the Northern region who were differentiated by sex, age, work experience and the fields they had taught or the majors they had studied. Procedures : This research was the result of a survey by questionnaires. The sample size involved were 634, categorized into 189 lecturers, 232 students and 324 teachers in the Northern region, and chosen by Simple and Stratified Random Sampling. The educational philosophy concepts for this research were collected by “Educational Philosophical Inventory,” tabulated by the researchers and classified them into five doctrines; Essentialism, Perennialism, Progressivism, Reconstructionism and Existentialism. These data then were classified into three categories, the purpose of education, the elements of education and the learning teaching process. The Inventory consisting of 65 items was tested for content validity and reliability, The variables which the researcher looked fro were the five doctrines of Educational Philosophy that were taken as dependent variables, while status, sex, age, work experience, lectures fields and students majors were taken as independent variables. Obtained data were then analyzed by using frequency. percentage, means, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance. Result The result of the study could be summarized as follow : 1. The educational philosophy concepts of lectures, students and teachers in the northern teachers’ colleges tended to score higher on the Progressivism variable. The research also found that they tended to score on Progressivism. Reconstructionism and Existentialism in the high level, and tended to score on Essentialism and Perennialism in the middle level. 2. Categorically analyzed in terms of status, it found that: 2.1 There were significant differences in the educational Philosophy concepts of the three groups in Essentialism and Reconstructionism but there were no significant differences in Progressivism, Perennialism and Existentialism. 2.2 The lecturers’ concepts tended to score lower on Essentialism than those of the students and teachers. 2.3 The students concepts tended to score higher on Reconstructionism than those of the teachers 3. Categorically analyzed in terms of sex, it was found that : 3.1 there were significant differences in the philosophical concepts between the lecturers of different sex. The male lectures’ concepts tended to score higher than those of the female lectures on Essentialism, Progressivism and Reconstructionism. 3.2 There were no significant differences in the philosophy concepts between the students and the teachers of different sex. 4. Categorically analyzed in terms of age, it was found that : 4.1 There were no significant differences in educational philosophy concepts of lectures and teachers who differed in age. 4.2 The educational philosophy concepts of the students under 21 years old tended to score higher on Existentialism than those of the older ones. 5. Categorically analyzed in terms of work experience, it was found that : 5.1 The concepts of the less experienced lecturers tended to score higher on Reconstructionism and Existentialism than those of experienced lecturers. 5.2 The concepts of the no experienced and less experienced students tended to score higher on Progressivism, Reconstructionism and Existentialism than those of the experienced students. 5.3 The concepts of the more experienced teachers tended to score higher on Essentialism than those of less experienced teachers. 6. Categorically analyzed in terms of lecturers’ fields or students majors, it was found that : 6.1 There were significant differences in the educational philosophy concepts of lectures who differed in the fields they has taught. The educational lecturers concepts tended to score higher on Progressivism and Existentialism than those of the Humanities and Social Sciences lecturers and tended to score lower on Essentialism and Perennialism than those of the science lectures. 6.2 There were no significant differences in educational philosophy concepts of students of different majors. 6.3 There were significant differences in the educational philosophy concepts of teachers of different majors. The concepts of the teachers who had majored in Education tended to score lower on majored in Humanities and Social Sciences. | |
dc.format.extent | 581912 bytes | |
dc.format.extent | 554748 bytes | |
dc.format.extent | 1733280 bytes | |
dc.format.extent | 469696 bytes | |
dc.format.extent | 1018479 bytes | |
dc.format.extent | 1957615 bytes | |
dc.format.extent | 818416 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การเปรียบเทียบแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และครูประจำการที่เข้ารับการอบรมในโครงการฝึกอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำการในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ | en |
dc.title.alternative | A comparison of educational philosophy concepts of lecturers, students and inservice teachers from in-service training project for teachers and educational personnel in northern teachers colleges | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สารัตถศึกษา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aphassaree_ts_front.pdf | 568.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphassaree_ts_ch1.pdf | 541.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphassaree_ts_ch2.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aphassaree_ts_ch3.pdf | 458.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphassaree_ts_ch4.pdf | 994.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphassaree_ts_ch5.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aphassaree_ts_back.pdf | 799.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.