Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22817
Title: การสอนของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ได้รับการฝึกอบรมจาก โครงการฝึกอบรมครูประจำการ ในการสอนสอดแทรกจริยธรรม ตามหลักสูตรประถมศึกษาตามการรับรู้ของครูและนักเรียน
Other Titles: The instruction of teachers under the office of national primary education commission trained by an in-service project on morality insinuating according to the elementary school curriculum as perceived by themselves and students
Authors: อาภรณ์ ปรีดาสุวรรณ
Advisors: อำไพ สุจริตกุล
ดวงเดือน อ่อนน่วม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูก่อนและหลังการฝึกอบรมเกี่ยวกับการนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ตามหลักสูตรประถมศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูก่อนและหลังการฝึกอบรม เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกจริยธรรม 3. เพื่อศึกษาชนิดของสื่อการสอนที่ครูสร้างขึ้นเพิ่มเติม ภายหลังจากได้รับการฝึกอบรม 4. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปฏิบัติ 5. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูหลังจากการฝึกอบรม วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ได้รับการฝึกอบรมจาก โครงการฝึกอบรมครูประจำการในการสอนสอดแทรกจริยธรรมตามหลักสูตรประถมศึกษา ของภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 100 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มแบบง่าย และนักเรียนที่กำลังเรียนกับครูที่เป็นตัวอย่างประชากร จำนวน 300 คน ได้มากจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลปลายเปิดในรูปความเรียง ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความเห็นว่าการนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มประสบการณ์ที่มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้มากที่สุดคือกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ใน 11 เทคนิค จาก 15 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการโต้วาทีธรรมะ สถานการณ์จำลอง การสร้างและใช้บัตรคำ การเล่านิทาน เกมเสริมคุณธรรม การละเล่นเสริมคุณธรรม เพลงเสริมคุณธรรม บทบาทสมมุติ กรณีตัวอย่าง และการวัดผลจริยธรรม รองลงมาคือ กลุ่มประสบการณ์พิเศษมีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ใน 8 เทคนิค จาก 15 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการสร้างและใช้หุ่น การเล่านิทาน การเรียงความปากเปล่า การละเล่นเสริมคุณธรรม การประชุมกลุ่มแบบต่าง ๆ กรณีตัวอย่าง การวัดผลจริยธรรม และสถานการณ์จำลอง กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยมีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ใน 7 เทคนิค จาก 15 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการโต้วาทีธรรมะ กลุ่มสัมพันธ์ การสร้างและใช้หุ่น การเล่านิทาน การเรียงความปากเปล่า เพลงเสริมคุณธรรม และการวัดผลจริยธรรม กลุ่มทักษะ (ภาษาไทยและคณิตศาสตร์) และกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้เท่ากันคือใน 6 เทคนิคจาก 15 เทคนิค กล่าวคือ กลุ่มทักษะภาษาไทย มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ ได้แก่ เทคนิคการโต้วาทีธรรมะ การสร้างและการใช้หุ่น กรณีตัวอย่าง การสร้างและใช้บัตรคำ การเล่านิทาน และเพลงเสริมคุณธรรม กลุ่มทักษะ คณิตศาสตร์ มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ได้แก่ เทคนิคสถานการณ์จำลอง การเล่านิทาน เกมเสริมคุณธรรม เพลงเสริมคุณธรรม การประชุมกลุ่มแบบต่าง ๆ และกรณีตัวอย่าง กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตมีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ ได้แก่ เทคนิคการโต้วาทีธรรมะ การสร้างและใช้หุ่น การวาดภาพลายเส้น การเรียงความปากเปล่า เกมเสริมคุณธรรม และการละเล่นเสริมคุณธรรม กลุ่มที่มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้น้อยที่สุด คือ กลุ่มวิชากิจกรรมพิเศษ มีการเปลี่ยนระดับการนำไปใช้ใน 4 เทคนิคจาก 15 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการโต้วาทีธรรมะ การวาดภาพลายเส้น กลุ่มสัมพันธ์ และการเรียงความปากเปล่า 2. ครูมีความเห็นว่าหลังการฝึกอบรมมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกจริยธรรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกิจกรรมที่เปลี่ยนจากไม่ได้ปฏิบัติเป็นปฏิบัติบางครั้งมี 10 ข้อกระทงจาก 24 ข้อกระทง และเปลี่ยนจากปฏิบัติบางครั้งเป็นปฏิบัติบ่อยครั้งมี 2 ข้อกระทงจาก 24 ข้อกระทง นอกนั้นเป็นกิจกรรมที่ก่อนและหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับเดียวกัน คือปฏิบัติบางครั้งแต่พบว่าค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อน การฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ครูได้สร้างสื่อการสอนเพิ่มเติมหลังจากการฝึกอบรมแล้ว โดยสร้างสื่อประเภทบัตรคำร้อยละ 78 หุ่นร้อยละ 55 เกมส่งเสริมคุณธรรมร้อยละ 51 การวาดภาพลายเส้นร้อยละ 45 แต่งเพลงเสริมคุณธรรมร้อยละ 37 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3 ตามลำดับ 4. ครูมีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปฏิบัติคือตนเองขาดความเข้าใจหลักการที่สำคัญในบางเทคนิค ขาดทักษะในการสร้างสื่อการสอนและขาดวัสดุอุปกรณ์ ขาดทักษะในการแต่งเพลงและร้องเพลง และครูต้องสอนตามแผนการสอนจึงไม่มีเวลาสอนสอดแทรกจริยธรรมได้อย่างเต็มที่ และเห็นว่านักเรียนไม่คุ้นเคยและไม่เข้าใจวิธีการในบางเทคนิคที่ครูนำมาใช้ นักเรียนไม่กล้าแสดงออก นักเรียนมุ่งแต่แข่งขันจะเอาชนะกัน และสนุกสนานจนลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ขณะทำกิจกรรมร่วมกัน 5. นักเรียนมีความเห็นว่า หลังจากที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วครูมีพฤติกรรมการสอนอยู่ในระดับใช้บ่อยครั้งใน 2 ข้อกระทงจาก 20 ข้อกระทง คือ ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสังเกตนักเรียนทำงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งตรงกับความเห็นของครูเห็นว่าหลังการฝึกอบรมตนเองได้ปฏิบัติพฤติกรรมการสอนใน 2 ข้อกระทงดังกล่าวอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง และพฤติกรรมการสอนที่นักเรียนเห็นว่าอยู่ในระดับครูไม่เคยใช้มี 4 ข้อกระทงจาก 20 ข้อกระทง คือ การฝึกให้นักเรียนตั้งญัตติและฝึกพูดโต้วาทีธรรมะ การใช้หุ่นประกอบการสอน และการใช้การละเล่นเสริมคุณธรรม แต่ครูมีความเห็นว่าตนเองได้ปฏิบัติพฤติกรรมการสอนใน 4 ข้อกระทงดังกล่าวอยู่ในระดับปฏิบัติบางครั้ง นอกนั้นเป็นพฤติกรรที่ทั้งนักเรียนและครูมีความเห็นตรงกันคืออยู่ในระดับครูใช้บางครั้งหรือปฏิบัติบางครั้ง
Other Abstract: Purposes The purposes of this study were : 1. To compare teachers’ opinions, before and after the training, about the application of trained techniques to each area of learning experiences in the elementary school curriculum. 2. To compare teachers’ opinions, before and after the training, about organizing teaching and learning morality insinuating activities. 3. To study types of additional instructional medias made by trained teachers. 4. To study the problems and obstacles arose from using trained techniques. 5. To study students’ opinions concerning trained teachers’ teaching behaviours. Procedure Samples used in this study were 100 teachers under the office of National Primary Education Commission trained in the In – service Project on morality insinuating according to the elementary school curriculum by Department of elementary education, Faculty of education, Chulalongkorn University. They were randomly assigned by using stratified random sampling and simple random sampling techniques. Besides, 300 students studied with those teachers were selected as samples by using purposive sampling techniques. Research instruments were a questionnaire and an interview. The obtained data were statistically analyzed by mean of percentage, arithmetic mean, standard diviation, t-test and the opened – end data were analyzed in essay type. Findings Major findings were as follows: 1. In applying various techniques to each area of learning experience, teachers perceived that after the training were significantly higher than before the training. Levels of application of techniques were changed the most in the area of Work – Oriented Experiences, i.e. 11 out of 15. These techniques were moral debate, simulation, puppets making and usage, word cards making and usage. story telling, moral games, moral folk tale and folk play, moral songs, role playing, case study and moral measurement. Levels of application of techniques were changed in the second order in the area of Special Experiences, i.e. 8 out 15. These techniques were puppets making and usage, story telling, oral essays, moral folk tale and folk play, group conference, case study, moral measurement and simulation, There were 7 out of 15 techniques in the area of Character Development were changed levels of application. They were moral debate, group process, puppets making and usage, story telling, oral essay, moral songs and moral measurement. In the area of Tool Subjects (Thai language and Mathematics) and Life Experiences, equal number of levels of application of techniques were changed, i.e. 6 out of 15. In the area of Thai language, levels of application of techniques changed were moral debate, puppets making and usage, case study, word cards making and usage, story telling and moral songs. In the area of Mathematics, levels of application of techniques changed were simulation, story telling, moral games, moral songs, group conference and case study. In the area of Life Experiences, levels of application of techniques changed were moral debate, puppets making and usage, sketchy, oral essay, moral games and moral folk tale and folk play. Levels of application of techniques were changed the least in the area of Extra – Activities Experiences, i.e. 4 out of 15. They were moral debate, sketchy, group process and oral essay. 2. Teachers perceived that after the training were significantly higher organizing teaching and learning morality insinuating activities than before the training. Ten out of 24 items were changed form “none” to “sometimes”, and 2 out of 24 were changed from “sometimes” to “often”. No. changes of levels were found for the rest but it was found that the mean scores after the training were significantly higher than before the training. 3. Types of additional instructional medias made by trained teachers were word cards 78 percent, puppets 55 percent, moral games 51 percent, sketch 45 percent, moral songs composing 37 percent and other 3 percent respectively. 4. Teachers perceived that the problems and obstacles in using various techniques being trained were as follow : lack of understanding the main principles of some techniques, lack of skills in making instructional medias and lack of teaching materials, lack of skills in composing and singing a song, lack of time to insinuate moral as the result of teaching schedules. For students, they were lack of familiarity and understanding in some techniques used by teachers. They were lack of courage in self-expressing and intended only for competition and enjoyment more than studying. 5. Levels of teaching behaviours as perceived by trained teachers themselves and their students were the same, i.e. “often”. There were 2 out of 20 items : let student work in group and close observation while students were working. There were 4 out of 20 items in which trained teachers’ and students’ perception were not the same. Teachers perceived at the level of “sometimes” but students perceived at the level of “none”. These 4 items were the students set the topics and practice moral debate, made and used puppets in teaching and used moral folk tale and folk play. Apart from the mentioned behaviours, perception of teachers and students were at the same level, i.e. “sometimes”.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22817
ISBN: 9745639087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arporn_pr_front.pdf545.44 kBAdobe PDFView/Open
arporn_pr_ch1.pdf582.89 kBAdobe PDFView/Open
arporn_pr_ch2.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
arporn_pr_ch3.pdf368.61 kBAdobe PDFView/Open
arporn_pr_ch4.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
arporn_pr_ch5.pdf780.36 kBAdobe PDFView/Open
arporn_pr_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.