Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22833
Title: | การศึกษาผลของยาราบีพราโซลที่มีต่อตัวแปรในการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดมากในหลอดอาหารร่วมกับกลุ่มอาการหยุดหายใจขณะหลับเปรียบเทียบกับยาหลอก |
Other Titles: | A randomized, placebocontrolled trial of rabeprazole on sleep parameters in patients with coexisting abnormal esophageal acidexposure and obstructive sleep apnea (OSA) |
Authors: | ธงชัย ลีลายุทธชัย |
Advisors: | ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม สุเทพ กลชาญวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nattapong.J@Chula.ac.th Sutep.G@Chula.ac.th |
Subjects: | หลอดอาหาร -- โรค ภาวะกรดไหลย้อน การรักษาโรค การรักษาทางเดินหายใจ ยาหลอก |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดมากในหลอดอาหารร่วมกับกลุ่มอาการหยุดหายใจขณะหลับจากทางเดินหายใจอุดกั้นจำนวน 26 ราย ได้นำมาเข้าในการศึกษาโดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่ได้รับยาราบีพราโซล (ยาจริง) กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก กลุ่มละเท่าๆ กัน หลังการให้ยาเป็นเวลาหกสัปดาห์ ได้ทำการตรวจการนอนหลับซํ้าและภาวะกรดเกินในหลอดอาหารซํ้า พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาราบีพราโซล มีการลดลงของค่าหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพีเท่ากับ 0.015) นอกจากนั้นยังมีการลดลงของค่าดัชนีการรบกวนการหายใจและดัชนีการรบกวนการหายใจในท่านอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก มีการลดลงของค่าภาวะกรดเกินในหลอดอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มยาราบีพราโซลเมื่อเทียบกับยาหลอก |
Other Abstract: | This randomized, double-blinded, placebo-controlled trial was performed to determine efficacy and rational use of proton-pump inhibitor in patients with coexisting abnormal esophageal acid-exposure and obstructive sleep apnea. 26 patients were enrolled and equally randomized into two arms of rabeprazole and placebo. Six weeks followed up with 24-hour ambulatory pH monitoring and polysomnography were done. Patients in rabeprazole group showed significantly reduction in apnea/hypopnea index (AHI) when compared with placebo group (p = 0.015). Rabeprazole also gave a reduction in respiratory disturbance index (RDI) and supine-RDI when compared with placebo. Dramatically reduced reflux parameters in rabeprazole group when compared with placebo. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22833 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.937 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.937 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thongchai_le.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.