Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.authorสโรชา มังคลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-10-26T03:54:50Z-
dc.date.available2012-10-26T03:54:50Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22835-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยความจำเป็นและความต้องการในการอยู่อาศัย โดยการสำรวจกิจกรรมและการใช้พื้น ที่ในการ พักอาศัยในหอพัก สภาพปัญหาในการอยู่อาศัยที่สำคัญที่เร่งด่วนต่อการปรับปรุง เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการปรับปรุงหอพักที่ มีอยู่เดิมทั้งในด้านกายภาพและระบบการให้บริการ โดยนำหลักเกณฑ์มาตรฐานขั้น ที่พัฒนาแล้วที่ใช้ทฤษฎีด้านการดำรงชีวิตอยู่อย่าง อิสระของคนพิการและแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้ง มวลที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา มาสังเคราะห์ เพื่อเสนอเป็น “มาตรฐานขั้นต่ำในการปรับปรุงหอพักในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการ” จากการศึกษากิจกรรมและการใช้พื้นที่ พบว่านักศึกษาพิการแต่ละประเภทมีกิจกรรมหลักและรองที่เหมือนกับนักศึกษาที่ ไม่ได้พิการ โดยมีบางกิจกรรมที่ใช้เวลามากกว่านักศึกษาที่ไม่ได้พิการ โดยนักศึกษาที่พิการทางด้านการมองเห็นจะใช้เวลาในการนอน และการเตรียมตัวก่อนออกไปเรียนมากกว่านักศึกษาทั่วไป 2 ชั่วโมงต่อวัน นักศึกษาที่พิการทางการเคลื่อนไหวจะใช้เวลาในการอาบน้ำ และแต่งตัวมากกว่านักศึกษาทั่วไป 50 นาทีต่อวัน นักศึกษาที่พิการทางการได้ยินจะใช้เวลาในการทำงานและอ่านหนังสือมากกว่า นักศึกษาทั่วไป 3 ชั่วโมงต่อวัน จากการศึกษาสภาพปัญหาการอยู่อาศัยโดยการวิเคราะห์เส้นทางการสัญจร และช่วงเวลาการปรับตัวในการอยู่อาศัย โดย แบ่งกลุ่มปัญหาตามประเภทของความพิการของนักศึกษา พบว่านักศึกษาที่พิการทางการมองเห็นบางส่วนยังมีปัญหาในส่วน เส้นทางการสัญจรที่บริเวณโถงหอพักที่มีวัตถุที่วางไม่แน่นอนและเปลี่ยนตำแหน่งตลอดเวลา อย่างรถจักรยาน ส่วนใหญ่สามารถอยู่ อาศัยจนมีประสบการณ์จดจำการใช้พื้น โดยไม่มีปัญหา เมื่อพักอาศัยไปแล้ว เฉลี่ยที่ 12 เดือน นักศึกษาที่พิการทางการ เคลื่อนไหว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นและกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็น กลุ่มแรกมีปัญหาในส่วน ช่องทางการเดินทางเข้าสู่อาคารหอพักมากที่สุดและต้องอาศัยผู้ช่วยในการเข้าในอาคารหอพัก กลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะมี ปัญหาที่บริเวณห้องน้ำมากที่สุด คือมีการเกิดอุบัติเหตุเหตุจากการลื่นล้ม และการทรงตัวยืน ตามลำดับและจะปรับตัวให้อยู่อาศัยได้ โดยไม่มีปัญหา เฉลี่ยใช้ระยะเวลา 3 เดือน และนักศึกษาพิการทางการได้ยินจะมีปัญหาจากการสื่อสารเวลามีผู้มาเยี่ยมเยือนและ การแจ้งเตือนจากอุบัติภัยมากที่สุดตามลำดับ และจะปรับตัวให้อยู่อาศัยได้โดยไม่มีปัญหา เฉลี่ยใช้ระยะเวลา 1 เดือน สามารถ อภิปรายผลการศึกษาได้ว่าการอยู่อาศัยของนักศึกษาพิการร่วมกับนักศึกษาที่ไม่ได้พิการ สามารถมีส่วนช่วยต่อการปรับตัวให้เข้ากับที่ อยู่อาศัยใหม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดนักศึกษาพิการอยู่ด้วยกันหรือจัดให้มีนักศึกษาอาสาสมัครมาดูแลเป็นพิเศษข้อเสนอแนะจากการนำมาตรฐานขั้น ที่พัฒนาแล้วสำหรับหอพักนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ การสำรวจ ข้อมูลกรณีศึกษาหอพักที่ออกแบบให้เอื้อ ต่อนักศึกษาพิการอันเป็นที่ยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญและกฎกระทรวงการกำหนดสิ่งอำนวยความ สะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ.2548 มาวิเคราะห์ประกอบกับปัจจัยจากนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาของ ไทย พบว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่ควรปรับปรุงมี 4 ระยะ คือระยะที่หนึ่งคือการปรับปรุงเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ คือ ทางเข้าสู่ อาคารทางเดิน ห้องน้ำ ระบบความปลอดภัย ระยะที่สองคือการปรับปรุงเพื่อป้องการก่อกำเริบของโรคจากความพิการ คือ ไฟฟ้ า และแสงสว่าง ระยะที่สามคือการปรับปรุงตามความจำเป็นทางร่างกาย คือ จุดพักรถ โถงหลักของอาคารหอพัก ลิฟต์และบันได ห้องพัก และระยะที่สี่คือการปรับปรุงเพื่อความต้องการทางจิตใจคือการปรับปรุงระบบการให้บริการ และมีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความ สะดวกที่ควรนำมาใช้ใน เรื่องความปลอดภัย ได้แก่ กริ่งเรียกสำหรับนักศึกษาที่พิการทางการได้ยิน สวิตซ์แบบมีสายดึงที่ติดในห้องน้ำ และในห้องพักสำหรับการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ในเรื่องการเข้าถึงพื้น ที่ต่างๆได้แก่ รถบริการที่มีทางลาดสำหรับรถเข็น รถจักรยานยนต์ที่มีการต่อเติมให้นักศึกษาที่ใช้รถเข็นใช้งานได้ การใช้โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ส่องสว่างทางเดินแก่นักศึกษาที่ สายตาเลือนราง ไม้เท้าสำหรับขึ้น ลงบันได รางรอกในห้องพัก เฟอร์นิเจอร์ในห้องพักต่างๆ มีกลไกลปรับระดับความสูงต่ำเพื่อการใช้ งานของทัง้ นักศึกษาพิการและไม่ได้พิการen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the needs and the desires for housing by surveying activities and uses of living areas in the dorm buildings, and problems with living there that are in need of urgent improvement. The purpose is to recommend approaches for improving the existing housing both in physical features and service systems. This purpose was fulfilled through the synthesis of developed standard improvements based on theories of independent living and the universal design for disabled student housing in higher education institutions. In studying the problems, the travel chain analysis. Some of the sight-impaired students have problems with traffic routes in the residential halls with objects lying around in no fixed position or regularly left in different positions such as bicycles. However, most have lived in the buildings long enough to remember the area well and have no problems after 12 months on average. The movement impaired fall into two groups: those who need wheelchairs and do not. The former group has the most problems with access to the dorm building and need help in reaching and entering the building. On the other hand, those who do not need a wheelchair have the most problems with the bathroom, facing accidents from slipping and falling and standing in balance respectively. The adjustment period taken before they can live without such problems is three months on average. The problems most faced by hearing-impaired students are in communication, when there are visitors and when there are danger warnings respectively. Adjustment periods average up to one month. It was determined that the minimum standards to be improved fall into four stages as follows. The first stage requires urgent improvement to avoid accidents regarding the following Approach, bathroom and safety systems. The second stage aims at improvement to prevent the worsening or aggravation of problems resulting from the disability is electrical systems. The third stage suggests improvement according to the physical needs and desires in Drop off, main hall elevators, stairs, and bedroom. The fourth stage is improvement that meets the disabled’s psychological needs and wants. The assistive technology and facilities that should be used .Safety, including the bell for students with hearing impairment. Switch wired to the bathroom and pulled the emergency room for help. In the various areas .Service with a ramp for wheelchairs .Vehicles with the addition of students who use wheelchairs to use .The solar lamp illuminates walkways to students that vision. Stick s up and down stair. Monorail hoist room. Furniture in various rooms .The height adjustment mechanism for use by both disabled and non-disabled students.en
dc.format.extent9034843 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.938-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหอพักen
dc.subjectนักศึกษาพิการen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- อาคารen
dc.titleมาตรฐานขั้นต่ำในการปรับปรุงหอพักในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการen
dc.title.alternativeMinimum standard improvements in higher education housing for disabled studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTrirat.J@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.938-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarocha_mu.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.