Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22839
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประสาน ธรรมอุปกรณ์
dc.contributor.advisorราตรี สุดทรวง
dc.contributor.authorอัญชลี อักขระชาตะ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-10-26T04:18:14Z
dc.date.available2012-10-26T04:18:14Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745663387
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22839
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractThe effects of piperine on cardiovascular system have been studied in anesthetized rats and on isolated right and left rat atria. Intravenous administration of 1 mg/kg piperine in anesthetized rats produced an initial brief fall in blood pressure, bradycardia and apnea, followed by a rise in tension and by a subsequent delayed fall in blood pressure. The Bezold-Jarisch reflex (hypotension, bradycardia and apnea) was completely abolished by bilateral vagotomy. The rise in blood pressure, which followed the triad response, was partially reduced by 5 mg/kg hexamethonium (about 57%). The combination of 0.07 mg/kg propranolol and 1 mg/kg phentolamine could lessen the pressor effect by 65%. Furthermore, intravenous injection of 1 mg/kg piperine could also produce a sharp rise in blood pressure in pithed rat. Phentolamine, propranolol as well as reserpinbe pretreatment greatly reduced this pressor effect of piperine. In isolated right and left atria, piperine at five doses, 3,6,12,24 and 48 ug/ml, was found tio produce a dose-dependent positive chronotropy and inotropy respectively. The time to maximum effect on both right atrial rate and left artial isometric tension were about 3-5 min after the addition of drug. With high dosed (24 and 48 ug/ml) these initial stimulations were followed by depression of both the rate and contractile force. Reserpine pretreatment greatly reduced the positive chronotropy and inotropy about 58% and 90% respectively. In addition, the positive chronotropic effect of piperine was attenuated by 0.15 ug/ml propranolol (abiy 50%). Alpha-adrenoceptor blocking agent (phentolamine 0.32 ug/ml) and 5-HT antagonist (methysergide 0.47 ug/ml and cyproheptadine 0.02 ug/ml) did not affect both positive chrobnotropy and inotropy. Neuronal uptake inhibitor of noradrenaline, desipramine 0.27 ug/ml and cocaine 9.1 ug/ml, greatly reduced the positive chronotropic and inotropic effects by 60% and 90% respectively. It is concluded that a) piperine induces the Bezold-Jarisch reflex mediated by the afferent fiber of vagus nerve. The rise in blood pressure after the triad response may be due to central activation of sympathetic system as well as peripheral mechanism which apparently involves the release of catecholamine; and b) piperine indirectly mediates the positive chronoropic and inotropic effects on isolated atria mainly by stimulates the release of catecholamine from adrenergic nerve in the atria.
dc.description.abstractalternativeการศึกษาฤทธิ์ของไปเปอรีนต่อระบบไหลเวียนโลหิตในหนูขาวที่ให้ยาสลบและต่อหัวใจห้องบนทั้งสองของหนูขาวที่แยกศึกษานอกตัว พบว่าการให้ไปเปอรีนในขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว เข้าทางหลอดโลหิตดำ ทำให้ความดันโลหิตลดลง, อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงและหนูหยุดหายใจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทันทีทันใดหลังจากให้ยา ติดตามด้วยการเพิ่มความดันโลหิตและค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ การลดลงของความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจตลอดจนการหยุดหายใจ ถูกยับยั้งโดยการตัดเส้นประสาทเวกัสทั้งสองข้าง ส่วนการเพิ่มความดันโลหิตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากผลอันแรกพบว่า ถูกยับยั้งได้ประมาณ 57% โดยการให้ hexamethonium 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว การให้ propranolol 0.70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวร่วมกับ phentolamine 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว มีผลลดความดันโลหิตที่เกิดจากการให้ไปเปอรีนได้ประมาณ 65% .ในหนูที่ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ไปเปอรีนในขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่ให้ทางหลอดโลหิตดำยังคงมีผลเพิ่มความดันโลหิตอย่างชัดเจน การเพิ่มความดันโลหกิตของไปเปอรีนในหนูที่ถูกทำลายระบบประสาทส่วนกลางสามารถถูกยับยั้งได้อย่างมากโดยการให้ propranolol, phentolamine และการให้ reserpine กับสัตว์ทดลองก่อนสำหรับผลของไปเปอรีนต่อหัวใจห้องบนขวาและซ้ายที่แยกออกมา พบว่าไปเปอรีนในขนาด 3,6,12,24 และ 48 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลเพิ่มทั้งอัตราการเต้นของหัวใจห้องบนขวาและแรงบีบตัวของหัวใจห้องบนซ้าย ผลนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามขนาดของไปเปอรีนที่ให้ ไปเปอรีนเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของหัวใจถึงขั้นสูงสุดภายใน 3-4 นาทีหลังจากให้ยา ไปเปอรีนในขนาดสูง (24 และ 48 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) จะกดอัตราการเต้นและแรงบีบตัวหลังจากการกระตุ้น การให้ reserpine กับสัตว์ทดลองก่อนสามารถลดผลการเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของไปเปอรีนได้ 58% และ 90% ตามลำดับ propranolol (0.15 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถลดฤทธิ์ของไปเปอรีนต่ออัตราการเต้นของหัวใจห้องบนขวาลงได้ในขนาดที่ใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 50% แต่ไม่สามารถลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของไปเปอรีนที่มีต่อแรงบีบตัวของหัวใจห้องบนซ้าย methysergide (0.47 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร), cyproheptadine (0.02 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ phentolamine (0.32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของไปเปอรีนที่มีต่ออัตราการเต้นและแรงบีบตัวได้เลย desipramine (0.27 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และ cocaine (9.1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถลดฤทธิ์ของไปเปอรีนที่มีผลต่ออัตราการเต้นและแรงบีบตัวของไปเปอรีนได้ 60% และ 90% ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้ อาจสรุปได้ว่า 1) การลดลงของความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจการหยุดหายใจที่เกิดขึ้นทันทีทันใดหลังจรกการให้ piperine ทางหลอดโลหิตดำ เกิดเนื่องจากมีการกระตุ้นผ่านเส้นประสารทเวกัส ส่วนการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต อาจเป็นผลมาจากการที่ piperine ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทซึมพาเธติกให้มีการหลั่งสาร catecholamine ซึ่งมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด 2) ไปเปอรีนมีผลเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของหัวใจ โดยกลไกส่วนใหญ่ในการกระตุ้นหัวใจห้องบนขวาและซ้ายเป็นผลจากการกระตุ้นให้มีการหลั่งสาร catecholamine จากปลายประสาทซึมพาเธติก
dc.format.extent520802 bytes
dc.format.extent384062 bytes
dc.format.extent366783 bytes
dc.format.extent1064220 bytes
dc.format.extent472985 bytes
dc.format.extent415101 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleฤทธิ์ของไปเปอรีนที่มีต่อความดันโลหิตและหัวใจห้องบนขวา และซ้ายที่แยกจากหนูขาวen
dc.title.alternativeThe effects of piperine on blood pressure and isolated right and left rat atriaen
dc.typeThesises
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
unchalee_uk_front.pdf508.6 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_uk_ch1.pdf375.06 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_uk_ch2.pdf358.19 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_uk_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
unchalee_uk_ch4.pdf461.9 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_uk_back.pdf405.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.