Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22884
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธว้ช ปุณโณทก
dc.contributor.advisorประคอง นิมมานเหมินท์
dc.contributor.authorอิราวดี ไตลังคะ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-10-27T18:36:09Z
dc.date.available2012-10-27T18:36:09Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745617415
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22884
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษา เรื่อง “คำสอนพระยามังราย” ซึ่งเป็นวรรณกรรมคำสอนของลานนาไทย ทั้งในด้านลักษณะคำประพันธ์ และเนื้อหา ซึ่งได้สะท้อนสภาพสังคมลานนาไทยโบราณและค่านิยมของสังคมลานนาไทย วิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 5 บท บทแรกเป็นบทนำกล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และสังคมลานนาไทยว่า ประวัติศาสตร์ของดินแดนลานนาไทยมีความเป็นมาอันยาวนาน เป็นที่ตั้งของรัฐอิสระหลายรัฐ แต่ละรัฐได้สร้างสมประเพณีและวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งถึงสมัยของพระยามังราย ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์มังรายแห่งลานนาไทย ได้รวบรวมรัฐน้อยใหญ่ให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันดินแดนลานนาไทยจึงมีอาณาเขตกว้างขวางและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายได้ปกครองบ้านเมืองสืบต่อมาถึง 16 พระองค์ ดินแดนลานนาไทยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าจนถึงปี 2317 สังคมลานนาไทยเป็นสังคมศักดินามีกษัตริย์และขุนนางเป็นผู้ปกครองรัฐ ผู้ถูกปกครองคือไพร่และทาส สังคมลานนาไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่อาศัยการชลประทานแบบเหมืองฝาย ไพร่จะต้องถูกเกณฑ์แรงงานและเสียภาษีให้แก่รัฐในรูปของผลผลิตเกษตรกรรม เชื่อว่าสังคมลานนาไทยไม่มีระบบสังกัดมูลนายแบบอยุธยา ประเพณีและวัฒนธรรมของลานนาไทยได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องภูตผีและพุทธศาสนา พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อจิตใจของประชาชนอย่างมาก วัดเป็นศูนย์กลางของสังคม และพระสงฆ์เป็นผู้สั่งสอนจริยธรรมแก่ประชาชน บทที่ 3 เป็นการวิเคราะห์รูปแบบลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบหรือวิธีการเนอเรื่องใน “คำสอนพระยามังราย” แปลกไปจากวรรณกรรมคำสอนเรื่องอื่น ๆ กล่าวคือ ส่วนแรกเป็นการนำเอา “คำปริศนา” หลาย ๆ วรรคมาร้อยเป็นร่าย และอธิบายความหมายปริศนาแต่ละวรรคด้วยร้อยแก้ว ซึ่งส่วนนี้แสดงถึงรูปแบบของวรรณกรรมลานนาไทยโบราณ ส่วนที่ 2 เป็นรายที่สามารถอ่านเข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบายความหมาย ลักษณะของร่ายในเรื่องนี้มีความคล้ายคลึงกับร่ายใน “โองการแช่งน้ำ” ฉะนั้น “คำสอนพระยามังราย” น่าจะสืบทอดหรือคัดลอกมาจาก้นฉบับที่มีความเก่าแก่ราวสมัยราชวงศ์มังราย บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา คำสอนในเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนคนทุกชนชั้นในสังคม แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนรกสอนกษัตริย์ และขุนนางเกี่ยวกับวิธีการปกครอง ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากหลักธรรมในพุทธศาสนา เช่นแนวคิดเรื่องธรรมดา ส่วนที่ 2 สอนไพร่ เน้นด้านการครองชีวิตในสังคม ซึ่งส่วนนี้ได้สะท้อนให้เห็นค่านิยมของสังคมลานนาไทยบางส่วนดังนี้ คือค่านิยมที่ยอกย่องผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ความเคารพผู้มีอาวุโส ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ญาติพี่น้อง วงศ์วาน และความยกย่องผู้มีปัญหา และบทที่ 5 เป็นบทสรุป
dc.description.abstractalternativeIt is the purpose of the present thesis to study “Kham Son Phraya Mang Rai”, a didactic literature of Lanna Thai, especially with respect to its prosody and its contents which reflect primarily the social conditions and values of the land in its ancient days. The thesis is divided into five chapters, the first of which is introductory. The second chapter deals briefly with the long social history of Lanna Thai, a land rich in culture and traditions. There were once many independent states in the land which were unified into one country by Phraye Mang Rai, the founder of the Mang Rai dynasty. This Lanna Thai country flourished under the rule of the said Dynasty until 2101 B.E., when it had to succumb to the Burmese suzerainty during the succeeding 216 years. Basically, this Lanna Thai society was feudal in its social structure, with its king and members of the bureaucracy as the ruling class and the commoners and slaves as the ruled. Being an agricultural society, the commoners needed the state-owned irrigating system, which made it necessary that the commoners were conscripted for labor and required to pay taxes in the form of agricultural yields. It is believed that there was no such closely knitted inter-class dependency in this region as was prevailing concurrently in Ayuthaya. Animism and Buddhism were the two prevailing influences in the formation of traditions and culture of Lanna Thai. Monasteries were social centers and monks were responsible for the ethical teaching of the public. The third chapter is the analysis of the metrical arrangement of the work which differs from other didactic literature in its presentation. Each section is sharply divided into two parts. In the first part, difficult riddles are presented in the metrical form called “Rai” , with the solution and explanation in prose following, an arrangement which way have been in common use in ancient Lanna Thai literature. The second part of the presentation is composed in the same metrical form but in straight forward manner requiring no additional explanation. The metrical form “Rai” of this work is similar in its layout to that of the Ayuthaya work “Ong Karn Chang Nam” making it possible that this literature be dated back to the time of the Mang Rai Dynasty. The analysis of the contents follows in the fourth chapter. It is intended to be the teachings for both classes of the people of the land. The first part is directed to the ruling class, with emphasis on the government of the state. It is evident that Buddhist literature has a strong influence on some of the concepts, especially the Dhammara ja theory. The second part is to help the commoners to live a happy life in their environments. It is in this second part that social values are reflected such as the high esteem given to the members of bureaucracy and the aged, the liberality within circles of kinship and the honor and admiration bestowed on the intellectual. The fifth chapter is the conclusion of the thesis.
dc.format.extent468861 bytes
dc.format.extent331948 bytes
dc.format.extent1179329 bytes
dc.format.extent1327714 bytes
dc.format.extent2286259 bytes
dc.format.extent326616 bytes
dc.format.extent1901966 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเชิงวิเคราะห์คำสอนพระยามังรายen
dc.title.alternativeAn analytical study of Kham Son Phraya Mang Raien
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Irrawady_Ta_front.pdf457.87 kBAdobe PDFView/Open
Irrawady_Ta_ch1.pdf324.17 kBAdobe PDFView/Open
Irrawady_Ta_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Irrawady_Ta_ch3.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Irrawady_Ta_ch4.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Irrawady_Ta_ch5.pdf318.96 kBAdobe PDFView/Open
Irrawady_Ta_back.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.