Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22899
Title: | รูปแบบการจัดฝึกสอนของวิทยาลัยครูในภาคเหนือ |
Other Titles: | A model of student teaching management in Northern teachers colleges |
Authors: | ณรงค์ ธรรมคุณ |
Advisors: | สงัด อุทรานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ( Expert panel ) เกี่ยวกับการจัดการฝึกสอนของวิทยาลัยครูในภาคเหนือตามที่ควรจะเป็นในปี พ.ศ. 2526 2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการฝึกสอนของวิทยาลัยครูในภาคเหนือตามที่ควรจะเป็น ในปี พ.ศ. 2526 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการนิเทศและการจัดการฝึกสอนที่เลือกสรรจากวิทยาลัยครูและสถาบันผลิตครูในภาคเหนือรวม 40 คน วิธีการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบเดลฟายโดยใช้แบบสอบถามประเมินค่ารวม 4 รอบ แล้วนำความคิดเห็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในรอบสุดท้ายไปวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกระจาย หลังจากนั้นจึงนำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยไปตรวจสอบหาค่าความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติเพื่อสร้างรูปแบบการ¬จัดการฝึกสอนของวิทยาลัยครูในภาคเหนือตามที่ควรจะเป็นไปปี พ.ศ. 2526 ผลการวิจัย ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการฝึกสอนของวิทยาลัยครูในภาคเหนือ ตามที่ควรจะเป็นไปปี พ.ศ. 2526 ในด้านต่อไปนี้คือ สายงานและหน่วยงานฝึกสอน การกำหนดและสรรหาบุคลากร การเตรียมการก่อนการฝึกสอน การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดให้นักศึกษาออกไปฝึกสอน การสัมมนาการฝึกสอนและการประเมินผลการฝึกสอน หลังจากนำไปตรวจสอบหาค่าความเป็นไปได้ในการปฏิบัติปรากฏว่าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจะนำไปใช้ปฏิบัติได้ และค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.6954 เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสายงานและหน่วยงานจัดการฝึกสอนผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้ตั้งเป็นศูนย์หรือคณะกรรมการเทียบเท่าคณะวิชา ภาควิชาต่างๆ ขึ้นตรงต่ออธิการและให้มีคณะกรรมการเป็น 2 ระดับคือ คณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินการสำหรับโครงสร้างของหน่วยงานฝึกสอนควรแบ่งเป็นแผนกหรือฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการกำหนดและสรรหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้มีหัวหน้าหรือผู้อำนวยการฝึกสอนและเห็นด้วยที่อาจารย์วิยาลัยครูทุกคนควรมีหน้าที่ในการนิเทศการสอน ควรมีเกณฑ์ในการคัดเลือกอาจารย์นิเทศก์โดยอาจารย์นิเทศก์ควรมีทั้งอาจารย์นิเทศก์ทั่วไปและอาจารย์นิเทศก์วิชาเอก-โท วิทยาลัยครูควรมีโครงการพัฒนาครู-อาจารย์ที่เลี้ยงและผู้บริหารโรงเรียนฝึกสอนรวมทั้งให้สิทธิหรือสิ่งตอบแทนบ้าง ผู้ที่จะกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกครู-อาจารย์พี่เลี้ยงควรเป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยครูและโรงเรียน ในชั้นประถมศึกษาครู-อาจารย์พี่เลี้ยงควรรับผิดชอบนักศึกษาฝึกสอนได้ 1 คนและชั้นมัธยมศึกษารับผิดชอบได้ 1-2 คน เกี่ยวกับการเตรียมการก่อนการฝึกสอนผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าควรมีการเตรียมนักศึกษาก่อนออกฝึกสอนโดยอาจรวมรายวิชาวิธีสอนต่างๆ เข้าด้วยกันหรือเพิ่มเวลาในรายวิชาวิธีสอนหรือฝึกทักษะเพิ่มพิเศษแบบเข้มข้นและต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการสอนแบบจุลภาคของคณะวิชาครุศาสตร์ด้วยอย่างไรก็ดีก่อนที่จะออกไปฝึกสอนควรการประถมนิเทศ 2-5 วัน เกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ามหาวิทยาลัยครูควรจัดสรรงบประมาณประจำปีให้แก่ฝ่ายฝึกสอนเช่นเดียวกับ คณะวิชา ภาควิชาต่างๆ รวมทั้งงบประมาณค่าอาหารกลางวัน ค่าเบี้ยเลี้ยงในการไปนิเทศไกลๆ งบประมาณในการรับรองของฝ่ายฝึกสอนและกรมการฝึกหัดครูควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้ด้วย เกี่ยวกับการกำหนดให้นักศึกษาไปฝึกสอนผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่าควรให้นักศึกษาทุกระดับไปฝึกสอนในชนบทให้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ ป. กศ. ชั้นสูง กระบวนการในการฝึกสอน ควรให้นักศึกษาเริ่มไปรู้จักคุ้นเคย ไปสังเกตการสอนและฝึกงานในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ในชั้นประถมศึกษาควรให้ฝึกสอนชั้นละ 2 คนส่วนในชั้นมัธยมศึกษาให้ฝึกสอนคนละ 2 รายวิชา-สำหรับระยะเวลาในการฝึกสอนทุกระดับชั้นควรฝึกสอน 1 ภาคเรียน ( 18 สัปดาห์ ) ระบบในการจัดการฝึกสอนควรเป็นระบบการฝึกสอนแบบกลุ่ม เกี่ยวกับการสัมมนาการฝึกสอนผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าในระดับนักศึกษาควรสัมมนา 2 ครั้ง คือระหว่างการฝึกสอนและเมื่อสิ้นสุดการฝึกสอน การสัมมนาอาจารย์นิเทศน์ควรมีภาคเรียนละ 1 ครั้งและการสัมมนาครู-อาจารย์พี่เลี้ยงก็ควรให้มีภาคเรียนละ 1 ครั้งด้วย สำหรับการสัมมนา อาจารย์นิเทศก์ร่วมกับผู้บริหารวิทยาลัยครูควรมีปีละครั้งและสัมมนาอาจารย์นิเทศก์ภายในกลุ่มวิทยาลัยครูปีละครั้งด้วย เกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกสอนผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะให้วิทยาลัยครูและทางโรงเรียนร่วมกันตั้งเกณฑ์การประเมินผล การกำหนดการให้คะแนนจะต้องเท่ากันทั้งสองฝ่ายและควรมีการประชุมตัดสินผลการฝึกสอนรวมทั้งให้นักศึกษาฝึกสอนมีโอกาสประเมินผลตนเองบ้างส่วนระบบการตัดสินผลการฝึกสอนควรเป็นระบบเกรด สำหรับการประเมินโครงการฝึกสอนควรให้มีภาคเรียนละครั้งโดยใช้แบบฟอร์มการประเมินและมีการประชุมสัมมนาประเมินโครงการฝึกสอนกับให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องเป็นผู้ประเมินโครงการฝึกสอน |
Other Abstract: | Purposes : 1. To Study opinions concerning future management of student teaching as it should to be in B.E.2526 among 40 experts from teachers colleges in northern region. 2. To construct a model of future management of student teaching as it should to be in B.E.2526 in teachers colleges in northern region. Procedures : Fourty experts in supervision and management of student teaching selected from Teachers Colleges and Universities in the Northern Thailand served as a panel for a Delphi activities with 4 rounds of questionnaires. The obtained responses were then treated according to basic statistic analysis reporting the values of mean, standard deviation and coefficient of variation. The questions were about the future management of student teaching as it should to be in B.E.2526. The final form of the check-list type was administered to 36 administrators and supervisors from the 4 teachers colleges in the northern region to determine the practicality of the manage¬ment system. These responses were also used to evaluate the reliability and possibility of the implementation of student teaching management model. It was found that the Kuder - Richardson 21 coeffi¬cient was 0.6954. Results : Seven aspects of future management system of student teach¬ing were under this study. The seven aspects were responsible unit, personnel administration, teacher training preparation, budgeting, teacher training operation seminar and evaluation. After testing for the feasibility most of the 152 items were retained. Concerning the responsible unit, the expert panel strongly agreed that the teachers colleges should officially organize teacher training unit as a center or a committee equivalent to academic faculty in the college attached to the rector. The committee should have two levels of operation or two sub-committees the steering sub-committee and the implementations or operational sub-committee. The office of the teacher training unit should consist of various sections. On personnel administration, it was agreed that the director of the unit should be appointed. All lecturers in the colleges should involve in teaching supervision both in general and major and minor subject areas. A certain criterion for selection of the supervision should be constructed with joint efforts between Schools and colleges. It was strongly suggested that projects on school supervisors and school administrators development should be under¬taken. It was vital that school and administrators should earn some benifit from the college. It .was also recommended that the supervisor student teacher ratios should be 1:1 for primary level and 1:2 for secondary. Student teachers should have gone through preparation program prior to joining actual student teaching. The program could be-achieved by combining various courses on teaching methods or adding more intensive courses. These program should be in agreement with the micro-teaching plan. Morever, the orientation should be conducted, Annual appropriation should be allocated to the teacher training center similar to other faculties, the items should include perdium for travelling and representation expense. It was suggested that the Department of Teacher Education Ministry of Education should underwrite these expenses. Concerning the area of student teaching, it was agreed that student teachers should participate in rural school especially those in Higher Certificate program. The process should begin from familiarization, observation to actual teaching from the first grade. In primary school, it was suggested that there should be two student teachers and in secondary school one student teacher for two courses The student teaching period should be one semester (18 weeks) and the Cluster program should be adopted. During student teaching period, there should be at least two seminars with one of them at the end of the program. Seminar of college supervisors should be organized once for each semester and similarly for the school supervisors. For joint meetings between college supervisors and administrators, and among college supervisors ¬in all colleges, it was suggested that they should be conducted once a year. It was strongly agreed that criteria for student teaching evaluation should be constructed jointly by the colleges and the schools. The weight should be 50-50 and the meeting for the common evaluation should be convened. Self-evaluation by student teachers was strongly desirable. The grading system should be used. Summative evaluation of the student teaching program should be conducted one a semester using a common rating scale and followed by a seminar. It was suggested that all individuals concerned should participate in these evaluation activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22899 |
ISBN: | 9745610143 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narong_dh_front.pdf | 609.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_dh_ch1.pdf | 632.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_dh_ch2.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_dh_ch3.pdf | 467.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_dh_ch4.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_dh_ch5.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_dh_back.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.