Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22907
Title: ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานของกรมแรงงาน
Other Titles: Problems in labour disputes conciliation by department of labour
Authors: ญาศินี เจือศิริภักดี
Advisors: เกษมสันต์ วิลาวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานเป็นวิธีการยุติข้อพิพาทแรงงาน โดยให้คนกลางซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนได้เสียกับคู่กรณีเข้าไปช่วยเหลือไกล่เกลี่ยประนีปประนอมให้ฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งกำลังพิพาทกันอยู่ได้มีโอกาสปรีกษาเจรจาทำความเข้าใจหรือตกลงกันได้ หลักสำคัญของการไกล่เกลี่ยคือผู้ไกล่เกลี่ยจำทำหน้าที่เสนอแนะ หาข้อยุติให้คู่กรณี แต่การตัดสินใจเป็นสิทธิของคู่กรณีว่าจะยอมรับหรือไม่ก็ได้ ส่วนจุดมุ่งหมายในการไกล่เกลี่ยนั้นก็เพื่อที่จะให้กรณีพิพาทระงับไป โดยหลีกเหลี่ยงมิให้มีการนัดหยุดงานหรือการปิดงานงดจ้าง และเร่งให้การหยุดงานที่เกิดขึ้นแล้วยุติลงโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความสงบและสันติสุขในอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 คนกลางซึ่งทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานได้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมแรงงาน การปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานของกรมแรงงานในระยะเวลาที่ผ่านมาปรากฏว่า พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานต้องทำหน้าที่อย่างหนักที่สุด เพราะลูกจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างของตนอย่างมากมายโดยที่บางรายไม่มีความต้องการในเรื่องที่เรียกร้องอย่างแท้จริง ลูกจ้างบางรายได้นำเอาวิธีการนัดหยุดงานมา ใช้กับนายจ้างทันทีที่ยื่นข้อเรียกร้องและเกิดข้อพิพาทแรงงานขึ้น ลูกจ้างหลายรอบใช้วิธีบีบบังคับนายจ้างโดยการปิดโรงงาน บางรายถึงกับกักขังนายจ้างไว้ในโรงงานโดยคิดว่าวิธีการนี้จะช่วยใช้บรรลุจุดประสงค์ตามที่ตนเรียกร้องได้ นายจ้างหลายรอบต้องยินยอมที่ลูกจ้างต้องการเพราะเป็นห่วงสวัสดิภาพของตนเอง เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นยังไม่มีหลักประกันในเรื่องกฎหมายหมู่อยู่เหนือกฎหมายแต่อย่างใด ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยไม่มีแบบแผนและหลักปฏิบัติที่แน่นอน เจ้าหน้าที่ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ กล่าวคือ 1. ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน 2. ปัญหาทัศนติหรือท่าทีของนายจ้างและลูกจ้างที่มีต่อเจ้าหน้าที่ไกลเกลีย 3. ปัญหาทางด้านกฏหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน ในการศึกษานี้ใช้วิธีค้นคว้าโดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารของทางราชการ ประกอบกับหนังสือวรสารและบทความต่างๆ ทางการวิชาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านแรงงาน และได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจ้าที่ผู้ปฏิบัติงานในด้านนี้โดยตรงจากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ควรจะพิจารณาดำเนินการในเรื่องการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏบัติการไกล่เกลี่ยให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับปริมาณและคุณภาพของงานที่รับผิดชอบ และเพื่อให้สามารถแบ่งแยกเจ้าหน้าที่ออกเป็นหน่วยงานย่อยรับผิดชอบงานตามลักษณะประเภทของกิจการที่มีการพิพาทแรงงาน ควรจะมีการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงานสัมพันธ์ ลักษณะงานและปัญหาในกิจการประเภทต่างๆ ของนายจ้างตลอดจนให้การศึกษาอบรมงานและเทคนิคในการไกล่เกลี่ยให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการระงับข้อพิพาทแรงงาน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาการพิพาทแรงงาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในทุกขณะ นอกจากนี้ควรจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าหน้าที่ของกรมแรงงานกับนายจ้างและเจ้าหน้าที่กับลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาร เพื่อช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างมีทัศนคติที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย เร่งให้การศึกษาอบรมด้านแรงานแก่นายจ้างและลูกค้าจ้างตลอดจนประชาชนทั่วไปเพื่อเข้าใจสภาพข้อเท็จจริงด้านแรงงานรวมทั้งงานด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานของกรมแรงงาน และท้ายสุควรจะได้ปรับปรุงข้อบกพร่องของกฏหมายที่เป็นข้องกำหนดในการปฏิบัติงานไกล่เกลี่ย และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยได้ยุติข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วและมีประสิทธิภาพ
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22907
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yasinee_ju_front.pdf466.11 kBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_ch1.pdf422.7 kBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_ch2.pdf991.33 kBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_ch3.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_ch4.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_ch5.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_ch6.pdf587.12 kBAdobe PDFView/Open
yasinee_ju_back.pdf658.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.