Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22927
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทร บุญญาธิการ | - |
dc.contributor.advisor | พรรณชลัท สุริโยธิน | - |
dc.contributor.author | กนกวรรณ อุสันโน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-28T15:34:22Z | - |
dc.date.available | 2012-10-28T15:34:22Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746367536 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22927 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en |
dc.description.abstract | การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของอุปกรณ์บังแดดสำหรับอาคารเรียนที่มีการปรับอากาศ ในเชิงการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติและการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร โดยแยกออกเป็น ช่องเปิดที่หันไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทำการศึกษาปริมาณการส่องแสงสว่างและลักษณะการกระจายแสงภายในห้องเรียน ที่มีอุปกรณ์บังแดดรูปแบบมาตรฐานเป็นตัวแทนของอุปกรณ์บังแดดที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน 12 รูปแบบ เปรียบเทียบกับห้องเรียนขนาดเดียวกันที่ไม่มีอุปกรณ์บังแดด รวมเป็น 13 รูปแบบ แบ่งรูปแบบของอุปกรณ์เป็นอุปกรณ์บังแดดในแนวนอน อุปกรณ์บังแดดในแนวตั้ง และอุปกรณ์บังแดดในแนวนอนประกอบกับแนวตั้ง ที่มีขนาดความกว้าง ระยะยื่นจากอาคาร และความถี่ต่าง ๆ การวิจัยนี้ทำภายในSkydome โดยการสร้างหุ่นจำลองที่มีอุปกรณ์บังแดดรูปแบบมาตรฐาน 13 รูปแบบ ทำการจำลองสภาพท้องฟ้าภายใน Skydome ให้อยู่ในสภาพท้องฟ้าโปร่ง(Clear Sky) กำหนดตำแหน่งของดวงไฟ ให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันที่ทำมุมสูงสุดกับโลกในทิศทางต่าง ๆ คือวันที่ 21 มีนาคม, 22 มิถุนายน, 23 กันยายนและ22 ธันวาคม(อาศัยค่ามุมในแนวราบ Azimuth Angle และมุมในแนวระดับ Altitude Angle เป็นตัวกำหนดตำแหน่ง) โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นตัวแทนของวันทั้งหมดในรอบปี ทำการทดสอบระหว่างเวลาที่อาคารเรียนมีการใช้งานคือ 8.00-16.00น. เพื่อศึกษาระดับการส่องสว่าง ณ ตำแหน่งพื้นที่ใช้งาน ประกอบการคำนวณค่าพลังงานที่ต้องใช้เพิ่มเติมในส่วนของแสงประดิษฐ์และภาระการทำความเย็นอันเนื่องมาจากช่องเปิด ผลจากการวิจัยพบว่า รูปแบบของอุปกรณ์บังแดดที่เหมาะสมสำหรับช่องเปิดในแต่ละทิศมีความแตกต่างกัน ช่องเปิดของอาคารทางด้านทิศเหนือซึ่งได้รับผลกระทบจากการแผ่รังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า การใช้อุปกรณ์บังแดดที่เป็น screen ในแนวนอนกับช่องเปิดกระจกใส จะมีค่าการใช้พลังงานรวมอันเนื่องจากแสงประดิษฐ์และภาระการทำความเย็น ใกล้เคียงกับอาคารที่ไม่มีช่องเปิดและอาศัยเพียงความสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงประดิษฐ์ และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับช่องเปิดทางด้านทิศเหนือคือ การใช้กระจก High Performance ที่มีค่า Coolness Index สูง(ปริมาณแสงธรรมชาติที่ผ่านกระจก/สัมประสิทธิ์การบังเงาของกระจก) ซึ่งจะมีค่าการใช้พลังงานรวมเพียง 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารไม่มีช่องเปิดที่อาศัยเพียงความสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงประดิษฐ์ สำหรับช่องเปิดทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกซึ่งได้รับผลกระทบจากการแผ่รังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์สูงมาก การใช้อุปกรณ์บังแดดกับช่องเปิดกระจกใส จะมีค่าการใช้พลังงานรวมสูงกว่าอาคารที่ไม่มีช่องเปิด รูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุปกรณ์บังแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกคือการใช้กระจก High Performance ที่มีค่า Coolness Index สูง(Daylight Transmission/Shading Coefficient) ควบคู่กับการใช้อุปกรณ์บังแดดเป็น screen ในแนวนอนประกอบกับแนวตั้ง ช่องเปิดทางด้านใต้ รูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุปกรณ์บังแดดทางทิศนี้จะมีลักษณะเดียวกับช่องเปิดทางด้านทิศตะวันออก และตะวันตก คือการใช้กระจก High Performance ที่มีค่า Coolness Index สูง ควบคู่กับการใช้อุปกรณ์บังแดดที่เป็น screen ในแนวนอนประกอบแนวตั้ง ซึ่งจะมีค่าการใช้พลังงานรวมเพียง 70 % เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารที่ไม่มีช่องเปิด | en |
dc.description.abstractalternative | The study of the appropriate shading devices for the classroom focuses on daylight utilization and heat gain reduction in hot-humid climate 14 N. The experiment was conducted by design shading devices for classroom openings on the northside eastside, southside and Westside to study daylight quantity and daylight distribution in those classrooms with 13 typical shading devices. The 13 typical daylight models composed of 3 categories; horizontal shading devices/vertical shading device and combination of horizontal/vertical shading device. The research was conducted in the skydome and the 13 typical daylight models was built to study daylight quantity. Required artificial light and cooling load from these models was calculated to compare total energy consumption. Sky condition in the skydome was simulated as clear sky. The position of the light source referring to the sun was fixed at the same position of the sun on 21 March, 22 June, 23 September and 22 December(equinox, summer soltice and winter soltice) which represents to the days through the year. Azimuth angle and altitude angle were used to fix the position of light source and the experiment started at working time 8.00-16.00. The results if the experiments indicate the appropriate of the shading devices in each direction is different. Northside openings derive less effect from solar radiation than other sides. The use of horizontal overhang can block the sun but result in total energy consumption no different from non-opening classrooms. The use of high performance glazing in which high coolness index (The ratio of daylight transmission : shading coefficient) can reduce total energy consumption to 60 % of non-opening classroom is the appropriate shading device in this orientation. Eastside and Westside opening derives more effect from solar radiation than others. The most appropriate method is using high performance glazing with the combination of overhang, louvre and vertical shading devices. For southside openings: the appropriate shading devices is overhang-louvre shading devices. From the research: This method result in 70% of total energy consumption in comparison to non-opening classroom. | en |
dc.format.extent | 855203 bytes | - |
dc.format.extent | 780784 bytes | - |
dc.format.extent | 869675 bytes | - |
dc.format.extent | 861471 bytes | - |
dc.format.extent | 797394 bytes | - |
dc.format.extent | 1490429 bytes | - |
dc.format.extent | 1660618 bytes | - |
dc.format.extent | 1207094 bytes | - |
dc.format.extent | 2145824 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความร้อน -- การถ่ายเท | en |
dc.subject | แสงธรรมชาติ | en |
dc.subject | การส่องสว่าง | en |
dc.title | รูปแบบของอุปกรณ์บังแดดที่เหมาะสมสำหรับห้องเรียน : การให้แสงสว่างธรรมชาติ และลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในอาคาร | en |
dc.title.alternative | The appropriate of shading devices for classrooms : daylight utilization and heat gain reduction | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | sphancha@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanokwan_Us_front.pdf | 835.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch1.pdf | 762.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch2.pdf | 849.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch3.pdf | 841.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch4.pdf | 778.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch5.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch6.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_ch7.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Us_back.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.