Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22935
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์-
dc.contributor.authorกฤตมุข หล่าบรรเทา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2012-10-29T06:18:43Z-
dc.date.available2012-10-29T06:18:43Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22935-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบฟรีเวทที่ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศผสมกับแรงต้านด้วยน้ำหนักในสัดส่วนที่แตกต่างกันต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนิสิตชายคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 51 คน ทำการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายและพลังกล้ามเนื้อส่วนบนร่างกาย ก่อนการแบ่งเข้ากลุ่มทดลอง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ออกเป็น 3 กลุ่ม ทั้งสามกลุ่มฝึกที่ความหนัก 85% ของ 1 อาร์เอ็ม กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศ 60% แรงต้านด้วยน้ำหนัก 40% กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศ 70% แรงต้านด้วยน้ำหนัก 30% และกลุ่มทดลองที่ 3 ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศ 80% แรงต้านด้วยน้ำหนัก 20% ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายต่อน้ำหนักตัวและพลังกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายต่อน้ำหนักตัว ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างภายใน กลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีการของแอลเอสดี ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายต่อน้ำหนักตัวและพลังกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายต่อน้ำหนักตัวระหว่าง กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 3 ไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 3 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบฟรีเวทที่ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศผสมกับแรงต้านด้วยน้ำหนักในสัดส่วนที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบนี้สามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายต่อน้ำหนักตัวตลอดจนพลังกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายได้ไม่แตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the effects of weight training among different proportions between pneumatic resistance and free weight resistance. Fifty one students from Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University, volunteered for the study. The subjects were trained three days a week for eight weeks. The subjects were tested for their strength and power of upper extremities muscles before they were randomly assigned into three groups in order to be trained with different proportion between pneumatic resistance and free weight resistance at their 85% of 1 RM. The proportions between pneumatic resistance and free weight resistance for three groups were as follows: 60:40 for Group 1, 70:30 for Group 2, and 80:20 for Group 3. Strength and power of upper extremities muscles were tested after 4 and 8 weeks of the study. Mean and standard deviation were presented, and one-way analysis of variance was used to test for the differences among the mean between groups. One-way analysis of variance with repeated measures was also used to test for the differences of the mean within groups. If differences were found, LSD was pursued. The level of significance was set at 0.05 throughout the study. After 4 and 8 weeks of the study, there were no statistical difference between strength and power of upper extremities muscles per body weight among the three groups. However, the results indicated that strength and power of upper extremities muscles per body weight within the three groups were significantly better than those obtained from the study. Weight training when combined between pneumatic resistance and free weight resistance with these three different proportions can develop greater strength and power of upper extremities muscles per body weight with similar effects.en
dc.format.extent3686980 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.944-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการออกกำลังกาย -- เครื่องมือและอุปกรณ์en
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อen
dc.titleการเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบฟรีเวทที่ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศ ผสมกับแรงต้านด้วยน้ำหนักในสัดส่วนที่แตกต่างกันต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อen
dc.title.alternativeA comparison of training effects between different proportion of combined of pneumatic and free weight resistance on muscular strength and poweren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChaipat.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.944-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittamook_la.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.