Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22956
Title: กบฎบวรเดช พ.ศ. 2476
Other Titles: Baworadaj rebellion 1933 A.D.
Authors: นิคม จารุมณี
Advisors: ชัยอนันท์ สมุทวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กบฏบวรเดช
รัฐประหาร
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์สมัยประชาธิปไตย, 2475
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 7, 2468-2477
Coups d'etat
Thailand -- History
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งทำการยึดอำนาจซึ่งมีผลทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ดำเนินติดต่อกันมาเป็นเวลานานสิ้นสุดลง ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น " การปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ " ก็ตามแต่ก็ได้ถูกยกย่องให้เป็นการปฏิวัติที่ไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้ออย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประเทศอื่นๆ มีงานเขียนหลายชิ้นเกี่ยวกับ " การปฏิวัติ 2475 " ทั้งที่เป็นงานเขียนที่ไม่ใช่ทางวิชาการและผลงานทางวิชาการ เช่น The History of Thai Revolution : A Study in Political behavior ( Bangkok : Chalermnit, 1972 ) โดยธวัช มกรพงศ์ และการปฏิวัติ 2475 ( พระนคร : แพร่พิทยา, 2514 ) โดยเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ เป็นต้น หนังสือเหล่านี้มักจะพิจารณาเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เสมือนหนึ่งว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและก็สิ้นสุดไปในคราวเดียว โดยย้ำถึงสาเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ วิเคราะห์ลักษณะผู้นำของผู้ก่อการและลงเอยด้วยการย้ำถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของผู้ก่อการดังกล่าว วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีทัศนะที่แตกต่างออกไปจากงานชิ้นอื่นๆที่กล่าวมาแล้วเพราะพยายามที่จะพิจารณาเหตุการณ์ในเดือนมิถุนายน 2475 ว่ามิได้เป็นจุดสิ้นสุดแห่งความขัดแย้งทางการเมือง แต่เป็นเพียงการเริ่มต้นของการต่อสู้ขัดแย้งอันยืดเยื้อระหว่างองค์พระมหากษัตริย์และผู้ที่จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มผู้ก่อการ ( คณะราษฎร ) อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นการที่จะชี้ให้เห็นถึงข้อเสนอนี้ ผู้เขียนจึงได้เลือกที่จะศึกษาและวิเคราะห์กบฏบวรเดช ( ตุลาคม 2476 ) ให้ลึกลงไปและในรายละเอียด ทั้งๆที่กบฏบวรเดชสิ้นสุดลงในเวลาอันสั้น แต่ก็มีผลที่ตามมาอีกมากมายหลายอย่าง กบฏบวรเดชไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความรู้สึกอันเป็นปฏิปักษ์ที่ซ่อนเร้นแฝงอยู่ ระหว่างกลุ่มต่างๆในขณะนั้น แต่ได้มีผลสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอื่นๆอีกหลายอย่างด้วยกัน กบฏบวรเดชมีส่วนที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 และมีผลให้อำนาจของผู้ก่อการมั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยได้ทำลายกลุ่มผู้ต่อต้านไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นผู้ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับพวกกบฏโดยตรง กบฏบวรเดชซึ่งแม้ว่าจะเกิดขึ้นอยู่ได้เพียง 14 วันเท่านั้น แต่ก็จะต้องถือว่าเป็นสงครามกลางเมืองที่ขยายขอบเขตกว้างขวางเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ชีวิตนับร้อยๆชีวิตต้องสูญเสียไปในสมรภูมิ บุคคลประมาณ 50 คน ถูกตัดสินพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต 44 คนถูกปล่อยเกาะในฐานะที่เป็นนักโทษการเมือง ในขณะที่คนอื่นๆอีกประมาณ 100 คนถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดและสูญเสียสิทธิอื่นๆซึ่งพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยพึงมีไปเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น เมื่อพิจารณากบฏบวรเดชจากทัศนะดังกล่าวนี้ ความพยายามของพวกกบฏที่จะผลักดันให้ผู้ก่อการทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์บางอย่างในขณะนั้น อาจถือได้ว่าเป็นความพยายามที่จะต่อรองและช่วงชิงอำนาจขั้นสุดท้ายจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยม นอกจากนี้กบฏบวรเดชยังชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า ความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งควรจะมีการต่อสู้และความรุนแรงเมื่อเดือนมิถุนายน 2475 แต่มิได้เป็นไปเช่นนั้น กลับคลี่คลายขยายตัวมาเป็นความขัดแย้งรุนแรงถึงจุดสุดยอดเมื่อเดือนตุลาคม 2476 วิทยานิพนธ์นี้สรุปว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่าง พ.ศ. 2475 -2477 นั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงต่อกันเป็นลูกโซ่ หาใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดแล้วสิ้นสุดลงดังที่งานของนักวิชาการอื่นๆได้ให้ความเห็นไว้
Other Abstract: On June 24th, 1932 a group of army officers and civilians staged a coup d'etat and put an end to the aged-old absolute monarchy. Although this event is far from being a "Glorious Revolution", it has always been idealized as an unusual "Bloodless Revolution". There have been several studies, of journalistic and scho¬larly nature, on the so-called Revolution of 1932" i. e. Tawatt Mokrarapong’s The History of Thai Revolution : A Study in Political behaviour (Bangkok: Chalermnit, 1972), Kiatichai Pongpanich’s Revolution of 1932 (Bangkok; Praepittaya, 1971). These studies tend to treat the June 24, 1932 phenomenon as a one-short affair, stressing the causes leading to this historic event, analyzing the leadership of the Promoters and end up by emphasizing its successes and failures. This thesis takes a different view from other works on the same topic. It attempts to treat the June 1932 incident not as the end of the political conflict, but as the beginning of a pro-longed struggle between the icing and his loyal entourage on one hand and the Promoters (Khana Rat) on the other. To elaborate this point, the writer has chosen to study and analyze the Baworadej Rebellion (October 1933) in great depth and full details. The Baworadej Rebellion, in spite of its short duration, had several consequential meanings. It did not only reflect the under¬lying animosities between various factions at that time, but was also instrumental in bringing about many other political changes. It was partly responsible for the abdication of King Prachatipok in March 1934 and resulted in the stabilization of the Promoters’ power, while destroying dissident elements, which in large part, were not directly connected with the Rebel Group. The Baworadej Rebellion, which lasted for only 14 days, was the first large-scale civil war in Thailand. Hundreds of lives were lost on the battle field. About 50 persons were sentenced to life-imprisonment, 44 persons were sent to Tarutao Island while other 100 were convicted and deprived of their civil rights. Viewing the-Rebellion in these terms, Baworadej’s attempt to put pressure on the Promoters for reforms was in a way the last bid for power on the part of the Conservative-Royalist elements. Moreover, it points out to the fact that political conflict which should have been violently contested in June 1932 culminated in the devastating civil war in October 1933. This thesis concludes that political conflict in Thai Political history, particularly that of the 1932-1934 period, was actually a chain of events, and not a one-short affair as it used to be treated in other scholarly works.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22956
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nicom_Ch_front.pdf738.84 kBAdobe PDFView/Open
Nicom_Ch_ch1.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Nicom_Ch_ch2.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Nicom_Ch_ch3.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Nicom_Ch_ch4.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Nicom_Ch_ch5.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Nicom_Ch_back.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.