Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2297
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรอนงค์ อร่ามวิทย์-
dc.contributor.advisorอุปถัมภ์ ศุภสินธุ์-
dc.contributor.authorสุทธิวรรณ วิวัฒนิวงศ์, 2517--
dc.date.accessioned2006-08-31T03:43:50Z-
dc.date.available2006-08-31T03:43:50Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745320714-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2297-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาออกซีเมทโทโลนเมื่อใช้ร่วมกับ ยาอิริโธรพอยอิตินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบ double blinded, placebo-controlled study ดำเนินการศึกษาในคลินิกล้างไตทางช่องท้อง หน่วยโรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยแบ่งผู้ป่วยที่เข้าตามเกณฑ์คัดผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 ราย ผู้ป่วยกลุ่มแรกได้รับยาอิริโธรพอยอิติน (rHuEPO) ร่วมกับยาออกซีเมทโทโลนขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 6 เดือน กลุ่มที่ 2 ได้ rHuEPO ร่วมกับยาหลอก เมื่อดำเนินการวิจัยครบ 6 เดือน ประเมินผลจากฮีมาโทคริต ฮีโมโกลบิน และภาวะโภชนาการของผู้ป่วย โดยประเมินจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจ anthropometry การตรวจปริมาณมวลกล้ามเนื้อด้วย Dual Energy x-ray absorptiometry (DEXA) และใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ (subjective global assessment) ผลการวิจัย: หลังจากได้รับยาครบ 6 เดือน ผู้ป่วยที่ได้ยาออกซีเมทโทโลน มีฮีมาโทคริต และฮีโมโกลบินแตกต่างจากกลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (38.7 +- 2.3% และ 33.0 +- 3.9%, p = 0.002 และ 13.1 +- 0.9 g/dL และ 11.1 +- 1.3 g/dL, p = 0.002 ตามลำดับ) รวมทั้งค่าการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของฮีมาโทคริตและฮีโมโกลบินเมื่อเทียบจากค่าพื้นฐานก็แตกต่างกัน (p < 0.01) ผู้ป่วยที่ได้ยาหลอกมี anthropometric parameters และแอลบูมินไม่ต่างจากก่อนได้ยา ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้ยาออกซีเมทโทโลนมี anthropometric parameters (น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าและหลัง และเส้นรอบวงแขน) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ระดับแอลบูมินของผู้ป่วยกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจากค่าพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงปริมาณมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจาก 735.22 +- 45.84 g/kg เป็น 781.72 +- 73.38 g/kg (p = 0.014) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในผู้ป่วยที่ได้ยาหลอก และเมื่อประเมินภาวะโภชนาการด้วยแบบประเมินพบว่าร้อยละ 66.7 ของผู้ป่วย (6 ราย) ที่ได้ยาออกซีเมทโทโลนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับโปรตีนและพลังงานไม่แตกต่างกัน อาการไม่พึงประสงค์ที่พบในผู้ป่วยที่ได้รับยาออกซีเมทโทโลน คือ การเพิ่มของเอนไซม์ตับ และการลดลงของเอชดีแอล แต่อย่างไรก็ตามควมผิดปกติดังกล่าวจะกลับสู่ค่าปกติภายหลังจากหยุดยา สรุปผลการวิจัย: ยาออกซีเมทโทโลนมีผลต่อการเพิ่มระดับฮีมาโทคริต และฮีโมโกลบินตลอดจนเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรไปในทางที่ดีขึ้น แต่ควรต้องมีการติดตามการทำงานของตับและระดับไขมันในเลือดอย่างใกล้ชิดen
dc.description.abstractalternativeObjectives: To determine the efficacy of oxymetholone when using combination with recombinant human erythropoietin (rHuEPO) in continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) patients. Methods: A double blinded, placebo-controlled experimental study was conducted during October, 2003 to March, 2005 at CAPD clinic, Phramongkutklao Hospital. Eight-teen CAPD patients were divided into two groups. Group A (n=9) received rHuEPO plus oral oxymetholone 50 mg/tablet twice daily for six months. Group B (n=9) received rHuEPO plus placebo twice daily for six months. The evolution of hematologic parameters and the impact on nutritional parameters such as anthropometric parameters, biochemical variables, lean body mass (LBM) measured by dual energy x-ray absorptiometry (DEXA) and subjective global assessment (SGA) score were evaluated after six months of treatment. Results: After six month therapy, hematocrit and hemoglobin values of the group receiving rHuEPO plus oxymetholone was significantly different from the rHuEPO plus placebo-group (38.7+-2.3% and 33.0+-3.9%, p=0.002 for hematocrit; 13.1+-0.9 g/dL and 11.1+-1.3 g/dL, p=0.002 for hemoglobin, respectively). The increase in hematocrit and hemoglobin in the oxymetholone group was statistically greater than the placebo group (p<0.01). At the end of the study, no anthropometric parameters, albumin, protein and LBM were significantly different compare to baseline in the placebo group. Conversely, anthropometric parameters (weight, body mass index, biceps skinfold, triceps skinfold and mid-arm circumference), albumin and total protein significantly increased in the oxymetholone group (p<0.05). LBM of oxymetholone group changed from 735.22+-45.84 to 781.72+-73.38 g/kg (p=0.014). The SGA score was changed to better trend in 6 patients (66.7%). No difference in protein and energy intake in both groups. A reversible rise in the liver enzymes and high density lipoprotein were the main side effect observed in oxymetholone group. Conclusions: Oxymetholone significantly enhances the erythropoietic effects of rHuEPO and improves nutritional status in CAPD patients, but still significant increases liver enzyme.en
dc.format.extent1869731 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไตวายเรื้อรังen
dc.subjectออกซีเมทโทโลน -- การใช้รักษาen
dc.subjectอิริโธรพอยอิติน -- การใช้รักษาen
dc.titleประสิทธิผลของยาออกซีเมทโทโลนเมื่อใช้ร่วมกับยาอิริโธรพอยอิติน ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรen
dc.title.alternativeThe efficacy of oxymetholone in combination with recombinant human erythropoietin in continuous ambulatory peritoneal dialysis patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorannablee@hotmail.com-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttiwan.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.