Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22994
Title: การวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมแก้วในประเทศไทย
Other Titles: A financial analysis of glass industry in Thailand
Authors: ปัญจมา วิภามาส
Advisors: ปราโมทย์ เพิ่มพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อุตสาหกรรมแก้ว
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลิตภัณฑ์แก้วเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าศึกษาเรียนรู้และน่าสนใจมาก มีมากมายหลายชนิดหลายแบบนอกจากจะเป็นเครื่องประดับประดาตกแต่งที่สวยงาม หรูหราแก่ผู้เป็นเจ้าของและยังความชื่นชมให้แก่ผู้พบเห็นอันเนื่องมากจากความวิจิตรพิสดารในศิลปวิทยาการและกรรมวิธีการทำแก้วมาแต่โบราณแล้ว ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แก้วหลายประเภทยังเป็นเครื่องใช้สำหรับชีวิตประจำวันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาชนะบนโต๊ะอาหาร ขวดแก้วสำหรับบรรจุน้ำ เครื่องดื่มและอาหารสำเร็จรูปมากชนิด กระจกเป็นผลิตภัณฑ์แก้วอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคารบ้านเรือนและยานพาหนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์ชนิดต่างๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ ผลิตภัณฑ์แก้วทำมาจากทรายแก้วซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมายในประเทศนี่เอง ดังนั้นการผลิตผลิตภัณฑ์แก้วประเภทต่างๆในประเทศจึงก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างสูงแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถทดแทนการนำเข้าที่สำคัญอีกด้วย ทั้งช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ไม่น้อย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีเจตนาที่จะศึกษาถึงประเภทของอุตสาหกรรมแก้วในประเทศ ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมแก้วแต่ละประเภท การช่วยเหลือของรัฐบาล และการวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมแก้วแต่ละประเภท แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมแก้วในประเทศไทยแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ผู้เขียนจึงทำการศึกษาจำกัดเฉพาะประเภทที่สำคัญๆได้แก่ อุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้ว อุตสาหกรรมกระจกแผ่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลอง อุตสาหกรรมกระจกนิรภัยรถยนต์ และอุตสาหกรรมหลอดแก้วและขวดแก้วบรรจุยาฉีด สาระสำคัญโดยลำดับมีดังนี้ ประวัติของอุตสาหกรรมแก้วในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยการเป่าแก้วโดยใช้แรงคนในโรงงานขนาดเล็กเมื่อประมาณ 50 -60 ปีที่ผ่านมา ผลิตเฉพาะภาชนะแก้วที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นแก้วน้ำ ขวดโหล ต่อมาจึงมีการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมที่แท้จริง ด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย จำกัด และองค์การแก้วของรัฐบาล ซึ่งทั้ง 2 แห่ง เน้นหนักการผลิตขวดแก้วและภาชนะแก้วเป็นหลัก ต่อมาจึงมีผู้ผลิตกระจกแผ่น หลอดแก้วบรรจุยาฉีด กระจกนิรภัย รถยนต์ฯ ตามมา อุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้วในปัจจุบันมีผู้ผลิต 25 ราย จำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้น ประมาณ 1,200 ล้านบาท ผู้ผลิตมีขนาดเงินลงทุนตั้งแต่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทไปจนถึงสูงกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งอาจะแยกประเภทของผู้ผลิตออกตามจำนวนเงินลงทุนได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภทที่มีเงินลงทุนต่ำกว่า 10 ล้านบาท และประเภทที่มีเงินลงทุนเกิน 100 ล้านบาท ประเภทที่มีเงินลงทุนต่ำว่า 10 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะผลิตภาชนะแก้วด้วยวิธีเป่าด้วยแรงคน ส่วนประเภทที่มีเงินลงทุนเกิน 100 ล้านบาท จะเน้นหนักในการผลิตขวดแก้วที่ได้มาตรฐานด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมนี้ในระยะหลังเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากผู้ผลิตเดิมขยายกำลังการผลิตและมีผู้ผลิตรายใหม่เพิ่มอีกหลายราย ปริมาณการผลิตในภาวะปกติอยู่ในระหว่าง 60% - 80 % ของกำลังการผลิตเท่านั้น โรงงานใดมีเครื่องจักรทันสมัย เทคนิคการผลิตดี และช่างที่ชำนาญงานจะสามารถใช้กำลังการผลิตได้ดีกว่าในโรงงานที่ด้อยกว่า สำหรับในปี 2522 ปริมาณการผลิตมีประมาณ 50% ของกำลังการผลิตเท่านั้น เนื่องจากโรงงานที่ตั้งใหม่ยังผลิตได้ไม่เต็มที่ ในด้านการตลาด จากการที่มีผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจึงมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของผู้ผลิตเดิมลดลง แต่บริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด ก็ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุด ภาวะตลาดในปี 2523 สำหรับขวดแก้วค่อนข้างซบเซา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำประกอบกับการขึ้นภาษีเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมและเบียร์ ซึ่งยังผลให้การบริโภคเครื่องดื่มลดลง อันกระทบกระเทือนถึงอุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้วด้วย อุตสาหกรรมกระจกแผ่นในปัจจุบันมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเท่านั้น คือบริษัทกระจกไทยอาซาฮีจำกัด ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล มีเงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท ผู้ผลิตมีกำลังการผลิตเพียงพอที่จะสนองความต้องการใช้ในประเทศ โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้สามารถผลิตได้เองเกือบเต็มกำลังการผลิต อุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมผูกขาดจึงไม่ประสบปัญหาการแข่งขันในประเทศ แต่ก็ประสบปัญหาการแข่งขันจากต่างประเทศบ้าง อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลอง มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว คือบริษัทอุตสาหกรรมแก้วกรุงเทพ จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล มีเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านบาท ในระยะหลังนี้สินค้าที่ผลิตได้ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่าที่ควร เพราะคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐานประกอบกับประสบการแข่งขันจากต่างประเทศมาก ทำให้สินค้าเหลือในคลังสินค้าจำนวนมาก จนผู้ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตเอง อุตสาหกรรมกระจกนิรภัยรถยนต์มีผู้ผลิต 3 ราย จำนวนลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 107 ล้านบาท มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ 2 ราย กำลังการผลิตในระยะแรกๆมีเหลือมาก แต่ในระยะหลังนี้ผู้ผลิตสามารถใช้กำลังการผลิตได้เพิ่มขึ้นเพราะสถานการณ์ทางตลาดดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบรถยนต์มีความเชื่อมั่นในกระจกนิรภัยรถยนต์ที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการรถยนต์จำต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทยเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นตามนโยบายอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์นั่งฉบับปี พ.ศ. 2521 กระจกนิรภัยจึงได้รับความสนใจใช้มากขึ้น อุตสาหกรรมหลอดแก้วและขวดแก้วบรรจุยาฉีด ปัจจุบันมีผู้ผลิต 3 ราย จำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 52 ล้านบาท ปริมาณการผลิตของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมมีทั้งที่ผลิตได้เกือบเต็มกำลังการผลิตและที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตมาก ทั้งนี้ขึ้นกับความประสิทธิภาพของเครื่องจักร เทคนิคการผลิต ความชำนาญ ประสบการณ์และความตั้งใจของคนงาน แม้ว่าการผลิตยาฉีดจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ยาฉีดที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ผลิตหลอดแก้วบรรจุยาฉีดก็ตาม แต่ผู้ผลิตหลอดแก้วบรรจุยาฉีดก็ประสบปัญหาการแข่งขันจากต่างประเทศเนื่องจากคู่แข่งขันสามารถขายได้ในราคาที่ต่ำกว่า ในด้านการสนับสนุนช่วยเหลือของรัฐบาล ปัจจุบันกิจการผลิตภัณฑ์แก้วเป็นกิจการที่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน ยกเว้นกิจการผลิตขวดแก้วซึ่งงดให้การส่งเสริมเป็นการชั่วคราวแต่อย่างราก็ตาม ประกาศนโยบายผลิตภัณฑ์แก้วของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ผ่านมาเคยเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแก้วในประเทศ จากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของอุตสาหกรรมแก้วทั้ง 5 ประเภทปรากฏว่าอุตสาหกรรมที่มีสภาพคล่องสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้วซึ่งมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนโดยเฉลี่ยสูงถึง 9.16 ซึ่งค่อนข้างสูงเกินความจำเป็น แต่ในอัตราส่วนนี้ประกอบด้วยอัตราส่วนทุนหมุนเวียนโดยเฉลี่ยของกิจการที่มีเงินลงทุนเกินกว่า 100 ล้านบาทเพียง 1.65 ในขณะที่กิจการที่มีเงินลงทุนต่ำกว่า 10 ล้านบาทมีอัตราส่วนนี้โดยเฉลี่ยสูงถึง 10.54 ส่วนอุตสาหกรรมที่สภาพคล่องต่ำสุด ได้แก่อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลองซึ่งมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนอย่างถึงแก่น โดยเฉลี่ยเพียง 0.14 และมีการจัดการสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทางด้านสภาพเสี่ยงอุตสาหกรรมที่มีสภาพเสี่ยงสูงสุดได้แก่ อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลอง ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สิ้นต่อสินทรัพย์โดยรวมเฉลี่ยสูงถึง 98.29% ส่วนอุตสาหกรรมที่มีสภาพเสี่ยงต่ำสุดคืออุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้ว ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์โดยรวมโดยเฉลี่ยเพียง 38.48 % สำหรับสมรรถภาพในการดำเนินงาน อุตสาหกรรมที่มีสมรรถภาพในการดำเนินงานสูงสุดได้แก่ อุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้ว ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีสมรรถภาพในการดำเนินงานต่ำสุด ได้แก่อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลอง ส่วนสมรรถภาพในการหากำไรนั้นอุตสาหกรรมที่มีสมรรถภาพในการหากำไรสูงสุดได้แก่ อุตสาหกรรมกระจกแผ่น ซึ่งมีอัตรากำไรสุทธิต่อค่าขายโดยเฉลี่ย 5.40 % ส่วนอุตสาหกรรมที่มีสมรรถภาพในการหากำไรต่ำสุดคือ อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลอง ซึ่งมีอัตราขาดทุนสุทธิต่อค่าขายโดยเฉลี่ยสูงสุดถึง 75.43% จากการวิเคราะห์งบแสดงที่มาและการใช้ไปของเงินทุน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติการณ์การจัดหาเงินทุน และการใช้ไปของเงินทุนของธุรกิจว่า เหมาะสมตามนโยบายทางการเงินที่ดีหรือไม่นั้น ซึ่งนโยบายทางการเงินที่ดีคือ การนำเงินลงทุนจากแหล่งระยะสั้นไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะยาวเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ประจำและสินทรัพย์ระยะยาว พบว่า การจัดหาเงินทุนและการใช้ไปของเงินทุนในแต่ละงวดของอุตสาหกรรมแก้ว โดยส่วนรวมยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ดีนัก อุตสาหกรรมที่จัดว่ามีนโยบายทางการเงินที่ค่อนข้างเหมาะสมที่สุดก็คือ อุตสาหกรรมขวดแก้วและภาชนะแก้ว แม้ว่าจะมีการนำทุนจากแหล่งระยะยาวไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและแหล่งระยะสั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวบ้างแต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อย แต่อุตสาหกรรมที่มีนโยบายทางการเงินที่ค่อนข้างไม่เหมาะสมที่สุดคือ อุตสาหกรรมอุปกรณ์แก้วในห้องทดลอง สำหรับปัญหาของอุตสาหกรรมนี้ทางด้านการผลิต ปัญหาใหญ่ก็คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคาทั่วโลก ทำให้ผลตอบแทนของอุตสาหกรรมโดยส่วนรวมลดลง นอกจากนี้ยังขาดแคลนช่างฝีมือและประสบการณ์การแข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาการส่งออก วิธีแก้ปัญหาก็คือจะต้องแก้ไขปรับปรุงการบริหารงานในด้านต่างๆภายในกิจการให้ดีเสียก่อน โดยจัดให้มีการวางแผนที่ดีทั้งในด้านการขาย การผลิตและการเงินเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดและมีสินค้าเพียงพอที่จะจำหน่ายได้โดยไม่เสียลูกค้าและทุนไม่จมในสินค้ามากเกินไป ในขณะเดียวกันผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญด้วย ซึ่งจะช่วยให้สินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับสินค้าที่มาจากต่างประเทศได้ เกี่ยวกับการขาดแคลนช่างฝีมือ รัฐบาลน่าจะมีส่วนในการช่วยฝึกฝนอบรมและส่งเสริมให้มีช่างเป่าแก้วเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ เพื่อที่จะได้มีการนำทรายแก้วซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่อย่างมหาศาลในประเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นและหากรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนการส่งออกของผลิตภัณฑ์แก้วให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมแก้วได้อีกทางหนึ่ง
Other Abstract: Glass products are a very interesting group of products which deserve special attention. There are many kinds of glass products for various usages. They are not only beautiful, fancy and adorable ornaments due to the creative art of production since ancient time, but also a daily use product such as a glassware in the dining room, bottles and containers for fruit juices and finished foods. Glass products are also an important material for building constructions, cars and scientific apparatus. The more interesting is its economic value in that glass is made of silica sand which is plantiful and easily available at low cost in Thailand, therefore, the value added is increased significantly through manufacturing process. Furthermore, it can substitute import and save foreign exchange. The objectives of this thesis are to study various types of glass industry their position, and financial analysis of each categery. As there are many kinds of glass industries, the writer would like to emphasize and limit the study to some main industries only, which are glass bottle and glassware industry, sheet glass industry, laboratory glassware industry, car safety glass industry, and ampoule and vial industry. The history of glass industry in Thailand began 50-60 years ago. In the early years, the production facilities were simple and primitive whereby a small factory employed workers to blow glass for daily use such as drinking glass and glass bottles. Industrial production began when the Thai Glass Industries Limited and Bangna Glass (Glass Organization) stated using large and modern machines of production, these two firms also started with producing glass bottle and glassware. Later, there are more manufacturers who originated in the industry of sheet glass, ampoule, car safety glass etc. Glass bottle and Glassware Industry: At present, there are 25 manufacturers producing glass bottles and glassware. The total investment is about ฿ 1,200 million. The investment of each manufacturer ranges from below ฿ 1 million to over ฿ 100 million. However among of them, they can be grouped into 2 categories; the first category being investment of below ฿ 10 million and the second category being investment of over ฿ 100 million. The manufacturers in the first category mostly produce glass product by means of labor (handwork) while the second one use modern machines to produce a standard product. Lately, output has increased rapidly due to the expansion capacity of existing manufacturers and new establishments. Normal production is at 60 % - 80 % of the total capacity. In 1979, the production had dropped to 50 % of the total capacity, this is because the new manufacturers were in the test run period. Considering the marketing aspect, the competition is tougher owing to more competitors. Therefore, market share of old manufacturers have to be reduced but the Thai Glass Industries Limited still has the biggest market share. In 1980 the market conditions for glass bottle were quite dull., due to economic recession together with the increasing of excise tax especially soft drink and beer caused drastic reduction of consumption which affected glass bottle and glassware industry. Sheet Glass Industry; The Thai-Asahi Glass Co., Ltd. is the only manufacturer of sheet glass and the company has been granted promotional privilege by the B.O.I. with investment about 0 400 million. The company has maintained enough capacity to meet the local market demand. At present it's production is almost at full capacity. Since the company is monopolised in sheet glass industry, there is no competition in local market but the existing competition, now, is from abroad. Laboratory Glassware Industry: The Bangkok Glass Industries Ltd. is the only manufacturer of laboratory glassware which has been also granted promotional privilege by the B.O.I.. The total investment of the company is about 0 8 million. Lately, the company has huge unsold stock because the quality of the products were not generally accepted by users and the strong competition came from aboard, therefore, the company has to reduce its production. Car Safety Glass Industry : There are 3 manufacturers of car safety glass with total investment about ฿ 107 million. Only two companies have been granted promotional privilege by the B.O.I.. In the early years, there was excess capacity but later the production has been increased due to the market condition being improved as local car manufacturers have been forced by the policy of the Ministry of Industry to use more local centents. Ampoule and Vial Industry? There are 3 manufacturers who produce this kind of product and the total investment is about ฿ 52 million. There are some distinctions in the production of this industry. Some manufacturers produce nearly full capacity while somes are far below. It depends on the efficiency of the machines, technical know-how, experiences and spirit of the workers. Although the demand and the production of medicine for injection has increased in Thailand, the manufactures has faced competitions from abroard due to low imported prices. In regarding to the Government’s policy on industry, the B.O.I. has granted promotional privilege to various glass industries except glass bottle industry which has been suspended temporary. However, it can be said generally that in the past, Ministry of Industry’s policy of glass products was an obstacle for development of glass industries in Thailand. The financial ratio analysis of 5 types of glass industries shows that the glass bottle and. glassware industry has the highest liquidity with an average current ratio of 9.16 which is considerably too high. However, the ratio of the same industry with investment over 100 million is only 1.65 whilst the same industry with investment below ฿ 10 million has a ratio of 10,54. The industry having the lowest liquidity is the laboratory glassware industry with an average quick ratio of 0.14 and it's management on current assets is inefficient. From the point of view of leverage, the most risky glass industry is the laboratory glassware industry which has an average debt ratio of 98.29 %. The industry with the lowest risk is the bottle and glassware industry which has an average debt ratio of 38.น5 % only. From the efficiency point of view, the best glass industry is the glass bottle and glassware industry whilst the worst, is the laboratory glassware industry. On the other hand, the most profitable glass industry is the sheet glass industry with an average net profit margin of 5.40 % whilst the laboratory glassware industry is the worst loss-making glass industry with an average net loss margin of 75-43%.The source and use of fund analysis can indicate whether the fund management policy is good or not. From the analysis of overall glass industries, it has been found that the fund management of this industry has not been in accordance with the sound fund management principle. Glass bottle and glassware industry is the only considerable industry which has proper fund management even though there were some misuse of the fund. The worst fund management is laboratory glassware industry. The big problems of this industry, from the production point of view, the production cost has increased continuously, due to the oil prices increased which in turn reduced the rate of return. In addition, the industry still lacks of skill labour faces foreign competition, and export problems. To solve these problems9 the writer would like to recommend that the industries should have to improve its management in various functions such as a good planning in production5 sales, and finance which will help to reduce the cost of production. The proper inventory control is also to be needed and manufacturers must also be conscious of quality improvement and product development which will enable them to compete with the import glass. The government should also play important role in job training. To do so, it will increase skill workers for glass industries and this will enable the manufacturers to produce good auality products and be able to expand the products to the foreign market. Government assistance in technical guidance would be a significant development for the prosperity of glass industries in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การเงินและการธนาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22994
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panchama_VI_front.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch1.pdf525.73 kBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch2.pdf912.62 kBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch3.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch5.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch6.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_ch7.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Panchama_VI_back.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.