Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22995
Title: การควบคุมต้นทุนการผลิตสำหรับกิจการผลิตกระเบื้องเคลือบ
Other Titles: Manufacturing cost control for mosaic and tile producing concern
Authors: ปวีณา เหล่าวิวัฒน์วงศ์
Advisors: วราวรรณ ชัยอาญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมเซรามิคประเภทกระเบื้องเคลือบในประเทศของเราเริ่มทำกันอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2504 โดยใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆที่ทันสมัยและใช้เงินลงทุนเป็นร้อยล้านบาทขึ้นไปเพื่อผลิตสินค้าประเภทกระเบื้องเคลือบให้ได้ปริมาณมากๆและได้มาตรฐานสากล กระเบื้องเคลือบอาจแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ กระเบื้องปูผนังและกระเบื้องโมเสก การผลิตกระเบื้องเคลือบนั้นจะต้องใช้เทคนิคต่างๆในการผลิตอย่างสูง การผลิตต้องอาศัยความพิถีพิถัน ความเอาใจใส่และการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ การบดและผสมวัตถุดิบ การปั๊ม การทำสี การเคลือบสี การเผา ตลอดจนการคัดเลือกติดกระดาษหรือตาข่าย ทั้งนี้เพื่อให้ได้กระเบื้องเคลือบที่สวยงามและเข้ามาตรฐานสามารถนำไปใช้ในการตกแต่งอาคารให้สวยงามได้ สภาพตลาดของกระเบื้องเคลือบมีการแข่งขันกันมาก สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะคล้ายคลึงกัน การที่กิจการจะเพิ่มค่าขายโดยการขึ้นราคาจึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากทั้งๆที่ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มจะสูงขึ้นตลอดเวลา สิ่งที่กิจการผลิตกระเบื้องเคลือบควรจะกระทำก็คือ การควบคุมต้นทุนการผลิต กิจการสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้โดยอาศัยเครื่องมือในการควบคุมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกัน เครื่องมือในการควบคุมที่ใช้กันโดยทั่วไปมี 3 ประเภท คือต้นทุนโดยประมาณ งบประมาณ และต้นทุนมาตรฐาน กิจการสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้โดยกำหนดต้นทุนโดยประมาณหรืองบประมาณหรือต้นทุนมาตรฐานเป็นหลักในการเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง รายละเอียดดังจะกล่าวในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ซึ่งเป็นการใช้ต้นทุนมาตรฐานเป็นเครื่องมือในการควบคุมต้นทุนการผลิต และมีขบวนการควบคุมที่สำคัญดังนี้ 1. การกำหนดต้นทุนมาตรฐาน 2. การรายงานในลักษณะเปรียบเทียบ 3. การแก้ไขข้อบกพร่อง ในการควบคุมจะเริ่มด้วยการกำหนดต้นทุนมาตรฐานสำหรับปัจจัยการผลิตทั้งสามชนิด ได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายโรงงาน และจะกำหนดต้นทุนมาตรฐานเป็นรายแผนกไป การกำหนดมาตรฐานจะต้องกำหนดด้วยความระมัดระวังมิให้ตึงหรือหย่อนเกินไป โดยได้คาดคะเนถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และส่วนเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิตโดยปกติมาประกอบการกำหนดมาตรฐานด้วย เพื่อให้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นสามารถปฏิบัติได้และสามารถใช้เป็นมาตรฐานได้ในระยะยาวพอสมควร เมื่อได้กำหนดมาตรฐานแล้วฝ่ายบัญชีจะรวบรวมตัวเลขต่างๆที่เกิดขึ้นทำการวิเคราะห์ผลต่างที่เกิดขึ้นสำหรับปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด ในการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงและต้นทุนมาตรฐานมักเกิดผลต่างขึ้น ผลต่างที่เกิดจากต้นทุนการผลิตจริงต่ำกว่าต้นทุนมาตรฐานเรียกว่า ผลต่างที่พึงใจ ผลต่างที่เกิดจากต้นทุนการผลิตจริงสูงกว่าต้นทุนมาตรฐานเรียกว่า ผลต่างที่ไม่พึงใจ ผลต่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับค่าวัตถุดิบและค่าแรงอาจแยกได้เป็นสองประเภท คือ 1. ผลต่างที่เกิดจากราคาหรืออัตรา 2. ผลต่างที่เกิดจากการใช้ปริมาณวัตถุดิบหรือปริมาณเวลา ส่วนค่าใช้จ่ายโรงงานอาจแยกผลต่างได้เป็นสามประเภท คือ 1. ผลต่างงบประมาณ เป็นผลต่างที่เกิดจากค่าใช้จ่ายโรงงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณที่ตั้งไว้ ณ ระดับการผลิตจริง 2. ผลต่างอันเกิดจากปัจจัยการผลิตว่างเปล่า เป็นผลต่างที่เกิดจากระดับการผลิตจริงไม่เป็นไปตามระดับการผลิตปกติซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐาน 3. ผลต่างสมรรถภาพ เป็นผลต่างที่เกิดจากค่าใช้จ่ายโรงงานที่จัดสรรสำหรับเวลาที่ทำจริงต่างไปจากค่าใช้จ่ายโรงงานมาตรฐาน เมื่อได้วิเคราะห์ถึงผลต่างว่าเป็นผลต่างประเภทใดแล้ว ฝ่ายบัญชีจะทำรายงานในลักษณะเปรียบเทียบเสนอต่อฝ่ายจัดการเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานด้านการผลิตเพื่อหาข้อบกพร่อง และจัดการแก้ไขปรับปรุงให้ต้นทุนการผลิตจริงเป็นไปตามมาตรฐานในกรณีที่ต้นทุนการผลิตสูงกว่าต้นทุนมาตรฐาน ทั้งนี้การรายงานจะต้องกระทำภายในเวลารวดเร็วด้วย กิจการผลิตกระเบื้องเคลือบจะมีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นประเภทค่าใช้จ่ายคงที่ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิตที่ให้ผลมากที่สุด คือการเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่การเพิ่มผลผลิตนี้จะต้องสัมพันธ์กับนโยบายด้านการจำหน่าย กล่าวคือจะต้องมีการวางแผนการจำหน่ายอย่างรอบคอบและหาเครื่องมือต่างๆ เช่นการโฆษณา การคัดเลือกพนักงานขายที่มีความสามารถ เป็นต้น เพื่อมาช่วยให้การจำหน่ายสูงขึ้นซึ่งจะทำให้การผลิตสามารถใช้สมรรถภาพการผลิตของเครื่องจักรอย่างเต็มที่ ทำให้ค่าใช้จ่ายคงที่ต่อหน่วยผลผลิตลดลง เป็นผลให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงด้วย และเมื่อนำขบวนการควบคุมต้นทุนการผลิตมาใช้ประกอบกันจะสามารถช่วยให้กิจการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ผลิตสินค้าได้ปริมาณมากโดยมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำสุด
Other Abstract: The history of modern ceramic tile production in Thailand dates back to B.E. 2504 when multi-million baht plants with modern equipments capable of manufacturing products of international standard were esta¬blished. The industry is generally divided into wall tiles and mosaic floor tiles. Special care and closely monitored quality control at each stage of the production are essential to ensure final products of high func¬tional and decorative quality. The ceramic tile market is a highly competitive one with no single producer capable of influencing the pricing structure. On the supply side there are relatively large number of manufacturers with no single one enjoying a significant market share or concentration. On the demand side the relative homogeneity of the products makes it easily substitutable in the eyes of consumers. These two factors together dominate the competitive aspects of the industry and effectively place producers in a position of a price taker in the market. In such a competitive environment the only alternative available to a producer in his attempt to maximize profits is cost control. The three generally accepted approaches to cost control are ; ( a ) Estimated Cost, ( b ) Budgeting ( c ) standard Cost. Once formulated each of these three methods can be used as a comparative base to what actually happened in each of the three cases. The details of the methodology and findings are elaborated in the following chapters on this dissertation which concentrates on the use of standard cost to evaluate and control production costs. The methodology briefly consists of : 1. The establishment of a standard cost. 2. The detection and reporting of variance and the analysis thereof. 3. The correction of discrepancies between standard and actual costs. Standard costs must be estimated for the three major components of the production process ; raw materials, labor and factory overhead. To ensure a practicable applicability of the standard over a reasonable period of time, assumptions used in estimating the standards must be commensurate with the existing situation and take into account any con¬tingencies that are likely in the future. Once the standards have been established, the accounting department can gather actual cost data and compare them to standard. A favorable variance is recorded if the deviation results from the actual costs being lower than the standard. The converse of this is termed an unfavorable variance. Raw materials and labor variance may be further divided into : ( a ) price or rate variance and ( b ) quantity and/or time variance. Factory overhead variance, on the other hand may be further broken down into : (a) spending variance resulting from differences in actual costs and the applied overhead at actual hours, (b) idle capacity variance resulting from deviation of actual production level from normal capacity level (c) efficiency variance resulting from deviation of applied expenses at actual hours from standard one. Upon the completion of the variance analysis the accounting de¬partment will submit its findings to management for further consideration. Corrective action must be taken in the case of an unfavorable variance. The principal element of manufacturing expenses is fixed cost; therefore, the most efficient mean to reduce unit cost is to increase production volume to full capacity. Anyhow this decision has to relate to sales policy which should be reasonably planned and promoted. When sales policy is used effectively together with manufacturing cost control, the ceramic tile industry should enjoy brighter prospects.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22995
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paweena_La_front.pdf656.96 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch1.pdf455.04 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch2.pdf869.1 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch4.pdf643.65 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch5.pdf627.2 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch6.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch7.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch8.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch9.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_ch10.pdf496.98 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_La_back.pdf414.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.