Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรอง ศยามานนท์
dc.contributor.advisorธานินทร์ กรัยวิเชียร
dc.contributor.authorพัชรินทร์ เปี่ยมสมบูรณ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-01T16:17:57Z
dc.date.available2012-11-01T16:17:57Z
dc.date.issued2517
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23017
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2411 อันเป็นปีที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจนถึง พ.ศ. 2478 อันเป็นที่ประเทศไทยมีประมวลกฎหมายครบบริบูรณ์ซึ่งยังผลให้ได้เอกราชทางการศาลอย่างสมบูรณ์ วิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกได้เป็น 6 บท โดยมีบทนำและบทสรุปอยู่ต่างหาก บทนำกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหาในการวิจัย วัตถุประสงค์ขอบเขต ประโยชน์ และวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่หนึ่งกล่าวโดยย่อถึงกฎหมายไทยดั้งเดิม คือกฎหมายสมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อเป็นการวางพื้นฐานความรู้ทางกฎหมายไทยก่อนกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครั้งสำคัญในเวลาต่อมา บทที่สองกล่าวถึงกฎหมายไทยสมัยทำสนธิสัญญากับประเทศตะวันตก และข้อบกพร่องของกฎหมายและศาลไทยอันทำให้นานาประเทศที่ได้ทำสนธิสัญญากับประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งเป็นภาระที่สร้างความลำบากให้แก่ประเทศไทย บทที่สามกล่าวถึงการปฏิบัติรูปกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นการยกเลิกระบบกฎหมายเก่าของประเทศไทยโดยสิ้นเชิง แล้วเปลี่ยนมาใช้ระบบกฎหมายใหม่ตามมาตรฐานกฎหมายตะวันตก ซึ่งเห็นได้จากประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรก นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการสถาปนาโรงเรียนกฎหมายเพื่อผลิตนักกฎหมายซึ่งจะเป็นผู้ใช้กฎหมายในระบบใหม่อีกด้วย บทที่สี่ เป็นบทสืบเนื่องจากบทที่สาม คือ การดำเนินงานร่างประมวลกฎหมายสืบต่อจากที่ได้ค้างไว้ อันได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม บทที่ห้า กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการใช้ระบบประมวลกฎหมาย และฐานะของนักกฎหมายไทยบทที่หก กล่าวถึง ผลสำเร็จและอุปสรรคแห่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายตลอดจนผู้ที่มีบทบาทช่วยให้งานเปลี่ยนแปลงกฎหมายสำเร็จไปได้ดีทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศ บทสรุปได้กล่าวสรุป การเปลี่ยนแปลงกฎหมายทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึง พ.ศ. 2478 พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแล้ว
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to make a detailed study of the Thai legal reform from A.D. 1868 to 1935 when Thailand completed a set of legal codes and abolished the extraterritoriality and the fiscal limitation in the country. The thesis is divided into 6 chapters excluding the introduction and the conclusion. The introductory chapter is a survey of the problems, the aim, the scope and the research methods of this thesis. The first gives a brief description of the general background of the ancient Thai law in each period in order to provide the reader with the basic knowledge of this topic. The second chapter presents Thai laws and courts of justice when Thailand signed the unequal treaties with the Western nations. The third chapter is concerned with the legal reform in the reign of King Rama V or Chulalongkom. The ancient Thai law which was based on the Indian law was changed and substituted by the modem Thai law based on the Roman law and the English Common law. The Penal Code of 1908 is the first evidence of this reform. The establishment of the Law School is also dealt with. Chapter IV, related to chapter III, describes the continua¬tion of the code drafting which resulted in the proclamation of the Civil and Commercial Code, the Criminal and Civil Procedure Codes and the law on the Organization of the Courts. Chapter V concerns the changes which arose out of the admi-nistration of the code and the Thai lawyer's status. The sixth chapter deals with the acheivements, the obstacles and the eminent Thai and foreign jurists and judges who rendered a valuable service in effecting these changes. The conclusion summarises the legal reform from the beginning until 1935 and gives the writer's point of view on the laws which have been put on the statute book.
dc.format.extent641780 bytes
dc.format.extent1187662 bytes
dc.format.extent1274656 bytes
dc.format.extent2261912 bytes
dc.format.extent1495326 bytes
dc.format.extent937789 bytes
dc.format.extent3693930 bytes
dc.format.extent492456 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการปฏิรูปกฎหมายของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2411 จนถึง พ.ศ. 2478en
dc.title.alternativeLegal reform of Thailand form A.D. 1868-1935en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharin_Pi_front.pdf626.74 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_ch2.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_ch3.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_ch5.pdf915.81 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_ch6.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Pi_back.pdf480.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.