Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23028
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างละครโทรทัศน์กับสังคมไทย
Other Titles: Relationship between television drama and Thai society
Authors: เพาวิภา ภมรสถิตย์
Advisors: พัทยา สายหู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ในแง่ของความสัมพันธ์กับสังคมไทย ว่าละครโทรทัศน์กับสังคมไทยมีความสัมพันธ์ต่อกันหรือมีบทบาทต่อกันอย่างไร โดยเลือกศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นปีที่มีละครโทรทัศน์ขึ้นเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ.2516 เป็นระยะเวลา 19 ปี เนื่องจากข้อจำกัดของระยะเวลาในการศึกษา โดยอาศัยแนวความคิดที่ว่า มนุษย์กับสังคมมีความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อละครโทรทัศน์เป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม ละครโทรทัศน์จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องทางสังคมที่มีผลกระทบ และได้รับผลกระทบจากสังคมทั้งสิ้น ละครโทรทัศน์และกลุ่มบุคคลที่สร้างสรรค์จึงต้องเกี่ยวของสัมพันธ์กับสังคมหรือองค์กรต่างๆไปตามบริบทของสังคมและยุคสมัย ในการวิจัยครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในอดีต จึงถือว่าเป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่เป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์สังคมเพราะอาศัยแนวความคิดทางสังคมวิทยาในการมองและวิเคราะห์ปัญหา ดังนั้นข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาก็คือบทละครโทรทัศน์ที่ยังคงปรากฏอยู่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เพราะบทละครแต่ละเรื่องจะบ่งบอกถึงรูปแบบ และสามารถให้ภาพของสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ และศึกษาจากนิตยสารรายเดือนของสถานีโทรทัศน์ต่างๆเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ในด้าน จำนวนและเวลาในการออกอากาศ ชื่อเรื่อง ตลอดจนการจัดทำ ฯลฯ ประกอบกับสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผลิตรายการ ผู้เขียนบทละครและนักแสดงในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ ในขณะเดียวกันก็ศึกษาสภาพสังคมไทยในช่วงเวลานั้นด้วยจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์ รวมใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 6 เดือน จากการวิจัยพบว่า ตลอดช่วงเวลา 19 ปี ละครโทรทัศน์มีความสัมพันธ์และมีบทบาทกับสังคมไทยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในด้านการเมือง ละครโทรทัศน์เป็นเครื่องมือของผู้ปกครองในการสร้างความมั่นคงในการปกครองประเทศ สร้างสังคมให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ละครโทรทัศน์ถูกใช้เป็นสื่อระหว่างประชาชนกับรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ เนื่องจากคุณสมบัติของละคร ประสิทธิภาพของโทรทัศน์และความนิยมที่ประชาชนมีให้กับละคร รัฐบาลทุกสมัยจึงเห็นความสำคัญของละครโทรทัศน์ว่าสามารถจะเป็นตัวแทนในการสื่อเรื่องราวต่างๆให้ประชาชนรับรู้โดยที่ประชาชนไม่รู้ตัว โดยผ่านทางละครการกุศล ละครพิเศษต่างๆ และผ่านทางคณะผู้จัดทำละคร ในด้านละครการกุศล รัฐบาลสามารถแสดงออกถึงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลได้อย่างชัดเจน สำหรับละครโทรทัศน์ที่จัดเสนอโดยคณะละคร รัฐบาลเข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านเนื้อเรื่อง หลักเกณฑ์และข้อบังคับในการพิจารณาบทละครออกอากาศให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละสมัยโดนผ่านทางสถานี ในด้านเศรษฐกิจและสังคม ผู้อุปถัมภ์รายการและผู้ชมมีส่วนกำหนดรูปแบบและเนื้อเรื่องของละครโทรทัศน์ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมมีส่วนกำหนดทิศทางในการจัดทำละครของคณะละครและรสนิยมของคนดู แต่ไม่ว่าละครโทรทัศน์จะมีเนื้อหาและรูปแบบใดจะต้องไม่ขัดกับหลักเกณฑ์และข้อบังคับของทางสถานี ละครโทรทัศน์ในช่วง 19 ปี จึงเป็นละครที่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ปกครองประเทศ แต่เป็นละครภายใต้การควบคุมที่ช่วยชี้แนะสังคมในด้านศีลธรรมจรรยา ความรักชาติ และความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อยมากกว่าช่วยชี้แนะสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นละครโทรทัศน์ตามนโยบายของรัฐบาลที่ปิดกั้นความสามารถทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน และเป็นละครโทรทัศน์ที่ไม่ได้สะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคมไทยได้อย่างเต็มที่เนื่องจากข้อบังคับของสถานีและรัฐบาล แต่ละครโทรทัศน์ก็มีบทบาทต่อสังคมในทางเศรษฐกิจ ช่วยให้คนมีอาชีพ ช่วยให้บริษัทห้างร้านได้โฆษณาสินค้าเพื่อขายสินค้าของตนและช่วยให้สถานีมีรายได้เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อสารมวลชนให้แก่ประเทศชาติต่อไป ทั้งยังให้ความบันเทิงและสาระแก่ผู้ชมอีกด้วย
Other Abstract: This thesis focus on the sociological aspects, analysing television drama in relation to Thai society during 2498-2516 BE. Based on the concept that men and society have two-way relation¬ship, as a social activity performed by individuals who are mem¬bers of that society, television drama is considered to be a social phenomenon which affects society and, simultanously, is affected by the feedback also. This means television drama and its creative people are, consequently, involved with society or organizations according to social contexts and periods. Socio-historical method is used as the approach to study and analyse the subject which concerns past events. The most important data are scripts of television drama broadcast during the above-mentioned period which related to the society at that time. Information on the quantity, show times, titles as well as production companies was avaiable in monthly magazines of each channel and was also obtained from interviewing persons in line with documentarily studying social situation which took about 6 months to accomplish. This research shows that television drama interrelates with the society in political, economical and sociological as¬pects. In political, the government used, it as a tool to stabi¬lize its regime and promote social ideas as well as a media to communicate with the public. Being an effective media and popu¬lar among the people, it is highly prized as a media to communi¬cate message to the people as evident in several charity programme organizers. In charity dramas, the government could directly suggest its wishes and the government could control plots of television dramas by private companies. Criteria and regulations to censor drama scripts were flexible relying on each government’s policy and were imposed by television stations. In economical and sociological, the sponsors and the audiences could set up types and plots of television drama, and also the economical and sociological could determinedthe direction in organizing drama of private companies and taste of the audiences. However, types and plots of the drama must not violate the regulations of tele¬vision station. Television drama during these 19 years were un¬der the control of the government which concentrated on guiding and promoting morality, patriotism and loyalty to the monarchy institution. However, the real purposed were for political order and discipline to facilitate its governing. As a consequences, dramatic creativity and initiative were restrained, and televi¬sion drama could not fully perform its function to reflect the social realities under the regulation of the government and tele¬vision station. Despite all these limitations, television drama was still considered as an important force in economic development by creating new jobs, providing advertising channels and earning
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23028
ISBN: 9745647454
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paowipa_Bh_front.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_ch1.pdf578.92 kBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_ch2.pdf602.48 kBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_ch3.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_ch4.pdf947.62 kBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_ch5.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_ch6.pdf495.43 kBAdobe PDFView/Open
Paowipa_Bh_back.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.