Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23056
Title: ต้นทุนการผลิตและการค้าถั่วเหลือง
Other Titles: Cost of production and trade of soybeans
Authors: เพิ่มพร สิทธิปิยะสกุล
Advisors: ปราการ วีรกุล
กัญญา นวลแข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง -- แง่เศรษฐกิจ
ต้นทุน
อัตราผลตอบแทน
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาต้นทุนการผลิตและการค้าถั่วเหลืองของประเทศไทย การศึกษานี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือการศึกษาเกี่ยวกับสภาพการผลิตและการค้าถั่วเหลือง และการศึกษาต้นทุนการผลิต และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการผลิตถั่วเหลือง ในการศึกษาเกี่ยวกับสภาพการผลิตและการถั่วเหลือง เริ่มด้วยการศึกษาความรู้ทั่วไปของถั่วเหลือง แหล่งผลิตที่สำคัญ เนื้อที่เพาะปลูก ปริมาณการผลิต ราคา สภาพตลาดในประเทศ ตลอดจนสภาพการผลิตและการค้าของต่างประเทศ ในการศึกษาต้นทุนการผลิตและการวิเคราะห์ผลตอบแทนของถั่วเหลือง ได้ศึกษาและวิเคราะห์แยกตามฤดูการเพาะปลูกในแหล่งผลิตที่สำคัญคือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุโขทัยและเขตลพบุรี – สระบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาจากการสำรวจของปีเพาะปลูก 2523/24 ของฝ่ายเศรษฐกิจการผลิตพืช กองวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และนำข้อมูลที่ได้มาจากคำนวณต้นทุนและรายได้จากการผลิตถั่วเหลือง รวมทั้งวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการผลิตถั่วเหลืองในเชิงเศรษฐกิจ ( Economic Analysis ) และเชิงจัดการฟาร์ม ( Farm Management Analysis ) ผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ ทำให้ทราบถึงสภาวการณ์ด้านการผลิตและการค้าปี 2523/ 24 ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรว่า ในการเพาะปลูกรุ่นฤดูฝนจังหวัดเชียงใหม่มีต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่สูงสุด จังหวัดสุโขทัย มีต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด ส่วนเขตลพบุรี – สระบุรีมีต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่อยู่ระหว่างกลางของจังหวัดทั้งสอง แต่เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการผลิตปรากฏว่า เขตลพบุรี – สระบุรี เป็นเขตที่มีผลกำไรจากการผลิตถั่วเหลือง ส่วนจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสุโขทัยมีผลขาดทุน เพราะมีปัญหาในด้านการผลิตเป็นสำคัญ การเพาะปลูกในรุ่นฤดูแล้ง จังหวัดเชียงใหม่มีต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร่และผลตอบแทนจากการผลิตสูงกว่าจังหวัดสุโขทัย แต่เกษตรกรทั้งสองจังหวัดก็ยังมีผลขาดทุนจากการผลิตถั่วเหลือง ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตทั้ง 2 ฤดู ได้แก่ ราคาปัจจัยการผลิต อัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น และผลผลิตต่อไร่ ตลอดจนการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ และปัจจัยการผลิตต่างๆนอกจากนั้นแล้ว สาเหตุสำคัญที่เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตของถั่วเหลืองของประเทศมีความเคลื่อนไหวขึ้นและลงก็เนื่องจากพืชแข่งขันอื่นๆ ในท้องถิ่นของแหล่งผลิตที่สำคัญสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่า จึงเป็นข้อกำหนดทำให้การขยายการเพาะปลูกถั่วเหลืองไม่เพิ่มในอัตราที่สูง ส่วนปัญหาด้านการตลาดและราคานั้น ปรากฏว่า เกษตรกรถูกกดราคาตามขั้นคุณภาพจากพ่อค้าคนกลางจนไม่สามารถขายได้ตามราคาประกันขั้นต่ำของรัฐบาล ตลาดถูกจำกัดอยู่ภายในประเทศ เนื่องจากมีการควบคุมการส่งออก ตลอดจนราคาถั่วเหลืองภายในประเทศมีความไม่แน่นอน จะเคลื่อนไหวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศและตามฤดูกาล จากปัญหาดังกล่าวสามารถนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขโดยมีมาตรการเน้นหนักด้านการผลิตในเรื่องการเพิ่มผลผลต่อไร่ เร่งรัดขยายปัจจัยการผลิตเช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และเชื่อไรโซเบี้ยม การลดต้นทุนการผลิต เช่นการใช้เครื่องนวดถั่วเหลือง การขยายเนื้อที่เพาะปลูกโดยการจัดระบบการปลูกพืช และการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโดยการให้สินเชื่อระยะสั้นและส่งเสริมโครงการประกันภัยพืชผลเป็นต้น ส่วนปัญหาด้านการตลาดนั้น รัฐบาลควรจะส่งเสริมให้เกษตรกรก่อตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่นที่ผลิตเพื่อรวบรวมผลผลิตขายโดยตรงให้กับโรงงานหรือจัดให้มีการทำสัญญาผูกพันในการรับซื้อถั่วเหลืองจากเกษตรกร เพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งควรจะพิจารณานโยบายการนำเข้าและการส่งออกให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด และเข้าไปแทรกแซงในการกำหนดราคาประกันขั้นต่ำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ รวมทั้งจัดหาเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพ่อค้าที่จะไปรับซื้อพืชผลจากเกษตรกร ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองให้พอเพียงกับความต้องการใช้ภายในประเทศ และเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้ประเทศต่อไป
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the production cost and trade of soybeans in Thailand. The study can be-divided into two part : the description of production and trade of soybeans and the study of soybean production cost, as well as an analysis of the rate of return. The study of the first part provided the general information on soybeans : main producing zones, planting area, production and prices and the capability of both domestic and foreign markets. The second part is a study on the production cost and analysis of the rate of return of soybeans by sequences of planting, rainy and dry seasons, in the main producing zones, namely Chiangmai and Sukhothai provinces and Lopburi-Saraburi zone. The data quoted in this thesis is a primary data of crop year 1980/81 collected by the Branch of Crop Production Economics, Division of Agricultural Economics Research, Office of Agricultural Economics. From the above-mentioned data, the production cost and the revenue of soybeans and competing crops were computed and compared by method of Economic and Farm Management Analysis. From the study we learned the facts of both production and trade of 1980/81 crop year which revealed the influences on production cost and the rate of return of farmers. The rainy season soybean production in Chiengmai province was found to have the highest production cost and highest yield per rai. Sukhothai province was found to have the lowest production cost and yield per rai; while Lopburi-Saraburi zone'ร produc¬tion cost and yield were in the middle and gave the hightest profit rate of return. In similar analysis, it was found that the dry season soybean production cost and return rate in Chiengmai province were higher than those of Sukhothai province. Neither of them could earn any .profit. The . main variables influencing production cost are the increasing prices of factors of production, wage rates and the decline in yield per rai as well as the inadequate supply of high quality seeds, fertilizer and Rhizobium innocculant. Furthermore there is the problem of the limitation of planted area and production due to other major competing crops which gave higher rates of return. On the marketing side there are such problems as ะ- the price the farmers received for this crops was below the support price set by the government due to inferior quality, the ill-fated machanism on export restriction helps bring down the domestic price and the fluctuation in price due to the fluctuation in world and seasonal prices. From the above-mentioned problems, some measures of recommendation can be formulated such as efforts should be made to increase productivity
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23056
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Permporn_Si_front.pdf599.65 kBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_ch1.pdf308.64 kBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_ch2.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_ch3.pdf892.54 kBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_ch5.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_ch6.pdf627.41 kBAdobe PDFView/Open
Permporn_Si_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.