Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23075
Title: ปัญหาการใช้หนังสือและวัสดุห้องสมุดประกอบการวิจัยวิชาการศึกษา ในประเทศไทย ระหว่างปีการศึกษา 2510-2515
Other Titles: Problems concerning the use of books and library materials for research in education in Thailand in the academic years B.E. 2510-2515
Authors: ไพลิน ไชยเสนะ
Advisors: สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์
ประคอง กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาการใช้ห้องสมุด -- ไทย
ห้องสมุดกับการศึกษา
ห้องสมุดกับผู้อ่าน
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประเภทหนังสือและวัสดุห้องสมุดที่ใช้ประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์วิชาการศึกษา ตลอดจนศึกษาปัญหาการใช้หนังสือและวัสดุห้องสมุดเหล่านี้ที่นักวิจัยวิชาการศึกษาเคยประสบมาขณะเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ และเสนอแนะแนวทางสำหรับผู้บริหารห้องสมุด และบรรณารักษ์พิจารณาปรับปรุงบริการของห้องสมุดให้สมบูรณ์และเพียงพอต่อความต้องการของนักวิจัยรุ่นต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สำเร็จปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต และปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตในระหว่างปีการศึกษา 2510-2515 จำนวน 260 คน และวิทยานิพนธ์ที่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้เขียน 260 เล่มเช่นเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างนี้ เลือกประชากร 772 คน ด้วยอัตราร้อยละ 30 โดยประมาณ วิธีการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การค้นคว้าจากหนังสือ บทความ วารสาร และสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่กล่าวถึงเรื่องหนังสือและวัสดุห้องสมุดที่ใช้ประกอบการวิจัยวิชาการศึกษา การสำรวจประเภทของหนังสือและวัสดุอ้างอิงในวิทยานิพนธ์วิชาการศึกษาและการสำรวจปัญหาการใช้สิ่งเหล่านี้ โดยการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เลือกไว้แล้ว แบบสอบถามได้รับกลับคืนร้อยละ 73.007 ของจำนวนที่รับแบบสอบถาม ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ คือ ผู้วิจัยวิชาการศึกษาใช้หนังสือและวัสดุห้องสมุดประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ 6 ประเภท คือ หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิงทั่วไป หนังสืออ้างอิงเฉพาะวิชาการศึกษา สิ่งพิมพ์รัฐบาล วิทยานิพนธ์และโสตทัศนวัสดุ จำนวนผู้ใช้หนังสือทั่วไปมีมากที่สุดและผู้ใช้โสตทัศนวัสดุ มีจำนวนน้อยที่สุดกล่าวคือ ผู้วิจัยวิชาการศึกษาร้อยละ 93.46 ใช้หนังสือทั่วไปภาษาอังกฤษ ร้อยละ 84.23 ใช้หนังสือทั่วไปภาษาไทย ร้อยละ 1.92 ใช้โสตทัศนวัสดุภาษาอังกฤษและร้อยละ 1.54 ใช้โสตทัศนวัสดุภาษาไทย หนังสือทั่วไปภาษาอังกฤษ (1576 ชื่อเรื่อง) ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด จำนวนรองลงมาเป็นวิทยานิพนธ์ภาษาไทย (488 ชื่อเรื่อง) และวารสารภาษาอังกฤษ (196 ชื่อเรื่อง) สิ่งพิมพ์รัฐบาลภาษาไทย (86.80%) ได้รับการอ้างอิงมากกว่าสิ่งพิมพ์รัฐบาลภาษาอังกฤษ (12.98%) ผู้วิจัยวิชาการศึกษามีปัญหาการใช้หนังสือและวัสดุห้องสมุดที่ใช้ประกอบการวิจัยวิชาการศึกษา ดังนี้ คือ หนังสือทั่วไปและวารสารภาษาไทยที่มีเรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษามีน้อย ห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืมหนังสืออ้างอิงออกจากห้องสมุด ไม่มีรายชื่อสิ่งพิมพ์รัฐบาลไทยที่สมบูรณ์ สำหรับเป็นคู่มือค้นคว้า ค่าบริการถ่ายเอกสารมีราคาแพงเกินไป ไม่มีที่เฉพาะสำหรับให้นิสิตปริญญาโททำงานค้นคว้าในห้องสมุด และระยะเวลาในการเดินทางเข้าไปค้นคว้าในห้องสมุดอื่น ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักวิจัยควรได้รับการส่งเสริมให้เขียนหนังสือตำรา หรือบทความลงในวารสาร จากสถาบัน สมาคม หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับวิชาการศึกษา ห้องสมุดควรให้ผู้วิจัยวิชาการศึกษาได้เสนอรายชื่อหนังสือและวารสารที่ต้องการใช้ แต่ไม่มีอยู่ในห้องสมุดเพื่อให้ห้องสมุดนำไปพิจารณาสั่งซื้อ ห้องสมุดวิชาการศึกษาควรมีการร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการทำ สหบัตร หนังสือและวารสาร และการบริการการยืมระหว่างห้องสมุด ห้องสมุดควรมีบริการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่องแก่ผู้ใช้ที่แสดงความจำนงและทำบัตรรายการหรือดรรชนีสิ่งพิมพ์รัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับวิชาการศึกษาที่มีอยู่ในห้องสมุด ในหนังสือคู่มือห้องสมุดควรชี้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเก็บหนังสือและวัสดุห้องสมุด รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด ห้องสมุดที่คิดค่าบริการถ่ายเอกสารแพงกว่าแห่งอื่น ควรจะพิจารณาหาทางแก้ไขให้มีราคาถูกลงเท่าๆ กัน กับแห่งอื่น ห้องสมุดของสถาบันวิชาการศึกษาที่เปิดสอนถึงระดับขั้นปริญญามหาบัณฑิตควรมีห้องสำหรับอภิปราย และจัดโต๊ะทำงานเฉพาะนิสิตปริญญาโท นอกจากนี้ผู้วิจัยวิชาการศึกษาหรือผู้ใช้ห้องสมุดควรเข้าใจและทราบระเบียบของห้องสมุด ตลอดจนบริการต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดเพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบของห้องสมุด และใช้บริการของห้องสมุดให้เป็นประโยชน์ที่สุด
Other Abstract: The objectives of this thesis are: to study types of books and library materials for writing educational theses; to study problems of using such materials for writing educational theses; and to recommend means for library administrators and librarians to improve library services for educational researchers. The samples include 260 holders of Master's degree in Educa¬tion from Chulalongkorn University and the College of Education Prasarnmitr in the academic years B.E. 2510-2515 and 260 Master's theses. These samples are selected from approximately 30 percent of 772 population. The research methods used in this thesis are documentary research through books, periodicals and other printed materials concerning problems of using books and library materials for educational research; survey through bibliographies cited in educational theses; and questionnaires sent to the samples. 73.007 percent of questionnaires are returned. Research results conclude as follows: The educational researchers use six types of books and library materials including general textbooks, general reference books, educational reference books, government publications, theses, and audiovisual materials. Most of educational researchers use general textbooks and only a few use audiovisual materials. (Educa¬tional researchers 93.46 percent use general textbooks in English, 83.23 percent use general textbooks in Thai, 1.92 percent use audiovisual materials in English and 1.54 percent use audiovisual materials in Thai.) General textbooks in English (1576 titles) are mostly cited. Theses in Thai (488 titles) and periodicals in English (196 titles) are less cited. Government publications in Thai (86.80 %) are cited more than in English, (12.98%). Educational researchers’ problems in using books and library materials for writing educational theses are as follows: general textbooks and periodicals in Thai concerning their research topics are of small number I reference materials are not allowed to borrow from the library; complete lists of Thai government publications for searching in this field are not available; photocopying services are more expensive; there are no study carrels for graduate students; and traveling to other libraries take too much time. The main recommendations are that scholars should be encouraged by institutions, associations or government offices concerning education to make texts and contribute articles in periodicals; educational libraries should allow graduate students to submit lists of books and periodicals which are not available in those libraries; libraries should have interlibrary cooperation to . provide union catalogs, union lists and interlibrary-loan services and should provide bibliographies in special subjects as requested government publication indexes should be provided; library handbooks should have complete details of materials' locations and library services; the expensive photocopying services in some libraries should be decreased; and the libraries of the educational institu¬tions offering a master*ร program should provide discussion rooms and study carrels. In addition to these, educational researchers should study libraries1 regulations and their services thoroughly.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23075
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pailin_Ch_front.pdf659.02 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_Ch_ch1.pdf597.88 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_Ch_ch2.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Pailin_Ch_ch3.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open
Pailin_Ch_ch4.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Pailin_Ch_ch5.pdf955.01 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_Ch_back.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.