Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23077
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ | - |
dc.contributor.author | ไพศาล ภู่ไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-03T07:51:35Z | - |
dc.date.available | 2012-11-03T07:51:35Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745664367 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23077 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | ปัญหาน้ำเสียนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย อีกทั้งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทั้งในด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม ตลอดจนการประกอบภารกิจในชีวิตประจำวัน ซึ่งน้ำเหลือใช้จากทุกกิจกรรมเป็นต้นเหตุของปัญหาน้ำเสีย จนกล่าวได้ว่าสาเหตุของน้ำเสียเกิดจาก 3 แหล่ง คือ น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน น้ำทิ้งจากแหล่งอุตสาหรรม และน้ำจากแหล่งเกษตรกรรม ในการควบคุมและแก้ไขมิให้แหล่งน้ำธรรมชาติเกิดการเน่าเสียนั้น จำเป็นต้องใช้ความรู้ในหลายสาขาวิชา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมสุขาภิบาล เศรษฐศาสตร์ การบริหาร รัฐศาสตร์ รวมทั้งการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น นิติศาสตร์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวางกฎเกณฑ์ เพื่อการควบคุมมิให้แหล่งน้ำเน่าเสีย อันเป็นการควบคุมที่ต้นเหตุ รวมทั้งการบังคับลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้ ตลอดจนการเยียวยาความเสียหาย (remedy) แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย อันเกิดจากการกระทำของบุคคลที่ระบายน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลลงสู่แหล่งน้ำจนก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัย ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลอื่น อันเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุอีกประการหนึ่ง ประเทศไทยปัญหาน้ำเสียนับเป็นปัญหาเรื้อรังที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพยายามหาทางแก้ไข แต่เนื่องจากขาดความเข้มงวดทางด้านรูปแบบและการบังคับใช้กฎหมาย เพราะกฎหมายที่ใช้ควบคุมและแก้ไขน้ำเสียของไทยในปัจจุบันมิได้เป็นกฎหมายควบคุมสภาวะแวดล้อมทางน้ำอย่างแท้จริง อาทิเช่น พระราชบัญญัติโรงงาน เป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นเพื่อควบคุมการประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมีบางส่วนร่างขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุมมิให้โรงงานอุตสาหรรมก่อความเสียหายแก่แหล่งน้ำธรรมชาติอันเกิดจากการระบายของเสียจากโรงงานสู่แหล่งน้ำอันมีลักษณะเป็นกฎหมายที่มีส่วนอนุรักษ์แหล่งน้ำเท่านั้น สำหรับใช้ด้านการดำเนินการเพื่อลงโทษผู้ฝ่าฝืนก็เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินั้นๆ รวมทั้งมีการนำกฎหมายอาญามาปรับใช้ในบางกรณี ส่วนการดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนระหว่างเอกชนด้วยกันก็คงใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด โดยทั่วไปมาใช้บังคับ ซึ่งกรณีดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในการพิสูจน์ความผิดของผู้ก่อความเสียหายในประเทศที่เจริญทางด้านการควบคุมและแก้ไขสภาวะแวดล้อมทางน้ำ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น มีกฎหมายควบคุมและแก้ไขสภาวะแวดล้อมทางน้ำโดยเฉพาะ โดยในกฎหมายดังกล่าวมีทั้งในส่วนที่กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลสภาพความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ ส่วนที่กำหนดมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำและมาตรฐานที่อนุญาตให้ปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ รวมทั้งกฎหมายในส่วนที่กำหนดหลักในการดำเนินคดีหรือบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายโดยการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สำหรับประเทศไทย การนำรูปแบบของการควบคุมและแก้ไขสภาวะแวดล้อมทางน้ำยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อาทิเช่น มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในกิจการอุตสาหรรมการกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน การกำหนดมาตรฐานชั้นของคุณภาพน้ำ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเท่านั้น ส่วนในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการลงโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายรวมทั้งวางกฎเกณฑ์ให้ผู้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียต้องมีส่วนในความรับผิดชอบยังจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายในส่วนดังกล่าวนี้ต่อไปและควรมีการนำหลักเกณฑ์ในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายระหว่างเอกชนด้วยกัน โดยหลักความรับผิดเคร่งครัด (Strict Liabilily) มาใช้บังคับแทนการพิจารณาโดยอาศัยกฎหมายแห่งลักษณะละเมิดทั่วไปอย่างเช่นปัจจุบัน ตลอดจนการจัดให้มีองค์กรบริหารแหล่งน้ำ (River Authority) เป็นการเฉพาะ เพื่อการควบคุมดูแลการใช้น้ำและการระบายของเสียลงสู่แหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีการระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำในโอกาสต่อๆ ไป ดังเช่น แนวนโยบายและวิธีปฏิบัติในประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางด้านการควบคุมและแก้ไขปัญหาน้ำเสียดังกล่าวแล้ว | |
dc.description.abstractalternative | Water pollution is one of the most serious issue of environmental problems. Water is essential to life and indispensable element in industry) commerce and agriculture. Discharged waste water from domestic, industrial and agricultural uses is the main source of water pollution created by human activities. In order to control and improve the quality of natural water resources, the integration of knowledges in science, .sanitary engineering, economics, public administration and political science is needed. However, Legal control is indispensable as it is one of the major topic which has to be taken into consideration. Legal enforcement is necessary to control the water pollution by means of punishment of these who do not abide by environmental quality standards. It is also used to remedy any pollution damage upon people. During the past, the Royal Thai Government do realize the water pollution problem and try to solve it but has not been successful because the laws and regulations which purported to deal with polluted water is not really the law to control water environment. For example, the Factory Act of 1969 is the law which is intended mainly to control industrial activities. Only some parts of it prevent and restrict factories from polluting natural water resources by draining waste water into the water resource. As for the sanction, the Act provides some specific measures. In some cases, the Criminal Code is applied. In civil action for damages, the Civil and Commercial Code, specifically tort law, applies. Such application brings about the problem on burden of proof. In the developed countries, such as the United States of America, Japan, etc ; the specific laws which control and improve environmental condition, especially water pollution are enacted and prescribe authorities of the organization which is involved in water resource control. The laws also identify water quality standards and the discharge of effluents as well as legal sanction. As for Thailand, the study shows that the model of control and . improvement of water environment has just been introduced to the system. The legal sanction and laws imposing responsibility to water effluents are to be amended. In addition, the principle of strict liability should replace the general principle of tort law in civil action for damages. This thesis also recommends the establishment of River Authority, as set up in other countries, to deal with the water resources directly | |
dc.format.extent | 885347 bytes | - |
dc.format.extent | 1006597 bytes | - |
dc.format.extent | 1399784 bytes | - |
dc.format.extent | 4303985 bytes | - |
dc.format.extent | 6718019 bytes | - |
dc.format.extent | 1673650 bytes | - |
dc.format.extent | 2231691 bytes | - |
dc.format.extent | 2354771 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | มลพิษ | |
dc.subject | นิเทศวิทยา | |
dc.subject | น้ำเสีย -- การควบคุม | |
dc.subject | น้ำเสีย -- การแก้ปัญหา | |
dc.subject | น้ำเสีย -- การวิเคราะห์ | |
dc.title | การวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสียในประเทศไทย / ไพศาล ภู่ไพบูลย์ | en |
dc.title.alternative | Legal analysis on water pollution in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paisal_Pu_front.pdf | 864.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_ch1.pdf | 983 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_ch2.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_ch3.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_ch4.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_ch5.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_ch6.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_Pu_back.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.