Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23094
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญชลี ลีสวรรค์-
dc.contributor.authorภาระณี ประถมบูรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-03T09:35:13Z-
dc.date.available2012-11-03T09:35:13Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23094-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractสหกรยาเป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนางานสาธารณสุข ซึ่งเป็นการขยายบริการด้านนี้ให้ครอบคลุมประชากรในชนบทให้ได้มากยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หัวใจสำคัญของการจัดตั้งสหกรยานั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของสมาชิกในชุมชนนั้นๆ เป็นสำคัญ ด้วยเหตุผลนี้จึงควรศึกษาว่ามีปัจจัยใดที่สามารถก่อให้เกิดความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจประชาชนให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาในชุมชนนั้นๆ การวิจัยครั้งนี้ จึงมุ่งศึกษาเฉพาะปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจสมาชิกให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่า โดยทำการศึกษาสมาชิกสหกรยาบ้านเก่า ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 89 คน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ คือ 1) เพื่อทราบทัศนคติของสมาชิกสหกรยาบ้านเก่า 2) เพื่อทราบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจสมาชิกให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่า 3) เพื่อทราบถึงความสำคัญของปัจจัยแต่ละตัวที่ร่วมกันอธิบายความแตกต่างของความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจสมาชิก ให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่า 4) เพื่อศึกษาปริมาณหรือขอบเขตที่ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความแตกต่างของความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต (Ex-Post Facto Research) เพื่อต้องการทดสอบสมมุติฐาน 2 ข้อ ดังนี้ คือ 1) ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความพยายามของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความพยายามของผู้นำท้องถิ่น เพื่อนบ้านและสมาชิกในครอบครัว การประชุมกลุ่ม สื่อสิ่งพิมพ์ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มีความสัมพันธ์กับความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจสมาชิกให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่าในทิศทางเดียวกัน 2) ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความพยายามของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความพยายามของผู้นำท้องถิ่น เพื่อนบ้านและสมาชิกในครอบครัว การประชุมกลุ่ม สื่อสิ่งพิมพ์ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นปัจจัยที่ร่วมกันอธิบายความแตกต่างของความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจสมาชิกให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่าได้ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีทั้งหมด 49 ข้อ โดยแบ่งเป็น 9 ตอน คือ ตอนที่ 1 ภูมิหลังทั่วไป ตอนที่ 2 ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตอนที่ 3 ความพยายามของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตอนที่ 4 ความพยายามของผู้นำท้องถิ่น ตอนที่ 5 เพื่อนบ้านและสมาชิกในครอบครัว ตอนที่ 6 การประชุมกลุ่ม ตอนที่ 7 สื่อสิ่งพิมพ์ ตอนที่ 8 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และตอนที่ 9 ความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจรวบรวมแล้วได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS Program) โดยมีวิธีการดังนี้ คือ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณา (Descriptive Method) ใช้ตารางแจงนับแบบร้อยละ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Method) ใช้สถิติดังนี้ คือ 2.1) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหพนธ์แบบ Pearson Product Moment เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ 1 2.2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มหรือลดเป็นขั้นๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ 2 ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสรุปได้ว่า ปัจจัยต่างๆ มีความสัมพันธ์กับความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการประชุมกลุ่มของประชากรกลุ่มเป้าหมาย มีค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์มากที่สุด คือ 0.72 และปัจจัยต่างๆ สามารถอธิบายค่าความแตกต่างของความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจได้ร้อยละ 68.11 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมกลุ่มซึ่งมีค่าถึงร้อยละ 52.53 เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดความสัมฤทธิผลในการโน้มน้าวใจสมาชิกให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่า ส่วนปัจจัยที่สำคัญรองลงมาตามลำดับ ได้แก่ สิ่งสิ่งพิมพ์ ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความพยายามของผู้นำท้องถิ่น เพื่อนบ้านและสมาชิกในครอบครัว ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และความพยายามของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
dc.description.abstractalternativeHealth Cooperative Project is a module of health development in order to increasingly extend health services to the target population in the rural areas. Community partici¬pation is the key to the success of organizing the Health Cooperative Project. Therefore, it is utmost important to find out which factors could possibly bring about the effec¬tiveness in persuading the rural population to organize the Health Cooperative Project in that community. This research focused on effective factors in persuading the members in organising the Barn Kao Health Cooperative Project. The target group of this study was consisted of 89 members of Barn Kao Health Cooperative Project5 Tarabol Barn Mor, Amphur Promburi, Singhaburi. The major purposes of this research were: (1) To investigate attitude of Barn Kao Health Cooperative Project's members (2) To investigate factors in correlation to the effectiveness in persuading the members in organizing the Barn Kao Health Cooperative Project (3) To investigate the role and significance of each factor that exclusively answer the degree of differences : of the effectiveness in persuading the members in organizing the Barn Kao Health Cooperative Project, and (4) To study the quantity or limitation of these factors that exclusively answer the degree of differences of the effectiveness in persuading the members in organizing the Barn Kao Health Cooperative Project. This research was Ex-Post Facte. Two hypotheses were formalized. They were (l) The credibility of Public Health Officers, the effort of Public Health Officers, the effort of local leaders, neighbors and family members, group meetings, printed media and the anticipated benefits were correlated to the effective factors in persuading the members in organizing the Barn Kao Health Cooperative Project in the same direction. (2) The credibility of Public Health Officers, the effort of Public Health Officers, the effort of local leaders, neighbors and family members, group meetings, printed media and the anticipated benefits were the factors that exclusively answer the degree of differences, of the effectiveness in persuading the members in organizing the Barn Kao Health Cooperative Project. The instrument used to collect the obtained data was a questionnaire. This questionnaire was consisted of 49 questions. There were 9 separate sections in this questionnaire: Section 1: General Background, Section 2: The Credibility of Public Health Officers, Section 3: The Effort of Public Health Officers, Section 4: The Effort of Local Leaders, Section 5: Neighbors and Family Members, Section 6: Group Meetings, Section 7: Printed Media, Section 8: The Anticipated Benefits, and Section 9: The Effectiveness in Persuading, The collected data was computerized by using SPSS Program. Two methods were utilized: 1.Descriptive method by using the percentage,2. Quantitative method by using: 2.1 Pearson Product Moment Correlation Coefficient in order to test the first hypothesis. 2.2 Stepwise Multiple Regression in order to test the second hypothesis. The findings showed that the anticipated hypotheses were true. In other words, the anticipated factors were correlated to the effectiveness in persuading the members in organizing the Barn Kao Health Cooperative Project in the same direction. Significantly, group meetings of the target members had the highest correlation coefficient of 0.72 and 8,11 factors could exclusively answer the degree of differences ; of the effectiveness in persuading by having the value of 68.11 Group meetings were especially the most significant factor by having the value of 52.53 %. Other factors were significant accordingly: printed media, the credibility of Public Health Officers, the effort of local leaders, neighbors and family members, the anticipated benefits, and the effort of Public Health Officers.
dc.format.extent759159 bytes-
dc.format.extent989296 bytes-
dc.format.extent667574 bytes-
dc.format.extent532001 bytes-
dc.format.extent970185 bytes-
dc.format.extent660477 bytes-
dc.format.extent1832447 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสหกรณ์ยา
dc.subjectการจูงใจ (จิตวิทยา)
dc.subjectการสื่อสาร
dc.subjectการโน้มน้าวใจ
dc.titleปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลในการโน้มน้าวใจสมาชิก ให้ร่วมกันจัดตั้งสหกรยาบ้านเก่าen
dc.title.alternativeEffective factors in persuading the members in organizing the Barn Kao health cooperative projecten
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paranee_Pr_front.pdf741.37 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_Pr_ch1.pdf966.11 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_Pr_ch2.pdf651.93 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_Pr_ch3.pdf519.53 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_Pr_ch4.pdf947.45 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_Pr_ch5.pdf645 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_Pr_back.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.