Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23096
Title: | อุบัติเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Accidents and accident prevention in science laboratories in lower secondary schools |
Authors: | ภัทรจันทร์ ใจสว่าง |
Advisors: | จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | อุบัติเหตุ อุบัติเหตุ -- การป้องกัน วิทยาศาสตร์ -- ห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ -- การทดลอง |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทดลองวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น ในด้าน 1.1) ลักษณะของอุบัติเหตุ 1.2) สาเหตุของอุบัติเหตุ 2) ศึกษาวิธีป้องกันอุบัติเหตุและการแก้ปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุในการทดลองวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นครูวิทยาศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 454 คน จาก 79 โรงเรียน ซึ่งสุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกรมสามัญทบวงมหาวิทยาลัยทั้งหมด ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่และคำนวณค่าร้อยละ ข้อค้นพบ คือ 1) จำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมีร้อยละ 69.60 ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุมากกว่า 3 ครั้งมีเพียงร้อยละ 34.80 ของตัวอย่างประชากรทั้งหมดและเมื่อแยกพิจารณาตามระดับชั้นพบว่า สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมีร้อยละ 71.80 ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุมากกว่า 3 ครั้ง มีเพียงร้อยละ 26.67 ของตัวอย่างประชากรในระดับนี้ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมีร้อยละ 58.79 ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุมากกว่า 3 ครั้ง มีเพียงร้อยละ 26.67 ของตัวอย่างประชากรในระดับนี้ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมีร้อยละ 74.71 ที่ตอบว่ามีอุบัติเหตุมากกว่า 3 ครั้ง มีเพียงร้อยละ 35.30 ของตัวอย่างประชากรในระดับนี้ 2) จากการทดลอง 66 การทดลองในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 27 การทดลอง จำนวน 679 ครั้ง ลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ “ไฟไหม้” สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ “นักเรียนเลินเล่อ” บทเรียนที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด คือ บทเรียนบทที่ 4 เรื่อง “สมบัติของสาร” 3) จากการทดลอง 62 การทดลองในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 24 การทดลอง จำนวน 498 ครั้ง ลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ “ถูกสารเคมีกัด” สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ “นักเรียนเลินเล่อ” บทเรียนที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด คือ บทเรียนบทที่ 7 เรื่อง “พลังงานและการเปลี่ยนแปลง” 4) จากการทดลอง 58 การทดลองในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 21 การทดลอง จำนวน 653 ครั้ง ลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ “ถูกสารเคมีกัด” สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ “นักเรียนเลินเล่อ” บทเรียนที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด คือ บทเรียนบทที่ 16 เรื่อง “อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร” 5) ลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดมากที่สุดในการทดลองวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ “ไฟไหม้” และสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดมากที่สุด คือ “นักเรียนเลินเล่อ” 6) จากการตอบของครูพบว่าการป้องกันอุบัติเหตุและการแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ “ฝึกนักเรียนให้ทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งที่ใช้เสร็จ” นอกจากนี้ครูวิทยาศาสตร์ยังเสนอแนะให้มีการอธิบายการทดลองอย่างละเอียดและบอกข้อควรระวังก่อนการทดลองทุกครั้ง รวมทั้งควบคุมดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุด้วย |
Other Abstract: | The purposes of this study were 1. To survey the accidents that occurred during science . experiments in lower secondary school in the following aspect : 1.1Types of accidents 1.2 Causes of accidents 2. To study the accident prevention and problem solving of science teachers in lower secondary school in Bangkok Metropolis when the accidents occurred in science experiments. The samples of this study were four hundred fifty four science teachers from seventy nine lower secondary schools which were randomly sampled from the government schools 1 the private schools and all of the demonstration schools in Bangkok Metropolis in the 1981 academic year. The research instrument was question¬naire which was constructed by the researcher herself0 The data analysis was done by means of frequency and percentages. Findings 1. There were 69.60 percents of science teachers who responded that there were accidents during science experiments. Only 34.80 percents of all the samples responded that there were accidents more than three times. When studied the numbers of science teachers in each class level, it was found that: For mathayom suksa one, there were 71.80 percents of science teachers in this level who responded that there were accidents during science experiments. Only 38.46 percents of all the samples in this level responded that there were accidents more than three times. For mathayom suksa two, there were 58.79 percents of science teachers in this level who responded that there were accidents during science experiments. Only 26.67 percents of all the samples in this level responded that there were accidents more than three times. For mathayom suksa three, there were 74.71 percents of science teachers in this level who responded that there were accidents during science experiments. Only 35.30 percents of all the samples in this level responded that there were accidents more than three times. 2.There were twenty seven experiments out of sixty six experiments in mathayom suksa one that the accidents had occurred. The total number of the accidents was six hundred seventy nine. The accidents which mostly occurred in this level was "burning” and the cause of accidents which mostly found was "carelessness of the students". The lesson which had the accidents the most was lesson four entitled "The Property of Matter". 3.There were twenty four experiments out of sixty two experiments in mathayom suksa two that the accidents had occurred. The total number of the accidents was four hundred ninty eight. The accidents which mostly occurred in this level was "chemical corrosion" and the cause of accidents which mostly found was "carelessness of the students". The lesson which had the accidents the most was lesson seven entitled "Energy and Its Changes". 4. There were twenty one experiments out of fifty eight experiments in mathayom suksa three that the accident had occurred. The total number of the accidents was sixty hundred fifty three. The accidents which mostly occurred in this level was "chemical corrosion" and the cause of accidents which mostly found was "carelessness of the students”. The lesson which had the accidents the most was lesson sixteen entitled "Agricultural Industry". 5. The type of accidents that mostly occurred in lower secondary school was "burning" and the cause of accident which mostly found was "carelessness of the students". 6. So From the responses of science teachers 1 it was found that the accident prevention and the problem solving concerning accidents that mostly used was "to train the students to' clean the science instrument every time after the experiment". The science teachers also suggested that there should be some explanation of the experimental procedure in detail I some warning of what to be careful before the experiment and also taking care the students closely in order to prevent the accidents. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23096 |
ISBN: | 9745622745 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patajam_Ja_front.pdf | 696.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patajam_Ja_ch1.pdf | 579.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patajam_Ja_ch2.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patajam_Ja_ch3.pdf | 370.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patajam_Ja_ch4.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patajam_Ja_ch5.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patajam_Ja_back.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.