Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23142
Title: การจัดการชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการบริเวณส่วนเหนือของอ่าวไทยตอนใน
Other Titles: Integrated coastal management of the Northern part of the inner Gulf of Thailand
Authors: ฐิติยา เทวัญอิทธิกร
Advisors: สุรพล สุดารา
ศุภิชัย ตั้งใจตรง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่ชายฝั่งทะเลส่วนเหนือของอ่าวไทยตอนในเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นจุดรวมของปากแม่น้ำที่สำคัญ 4 สายได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง จึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีความเหมาะสมในการพัฒนา จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ด้านตะวันออกของพื้นที่ศึกษา ตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไปในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหามลพิษขึ้นตามมา ส่งผลกระทบต่อการทำประมงและการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง นอกจากนี้พื้นที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการขาดแคลนน้ำในเขตอำเภอบางประกง ปัญหาน้ำท่วมในตัวเมืองสมุทรปราการ และปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีความรุนแรงมาก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของพื้นที่ศึกษา ตั้งแต่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกจนถึงบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน การใช้ประโยชน์พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งธรรมชาติ ส่วนบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน การใช้ประโยชน์ที่ดินมีลักษณะเป็นชุมชนหนาแน่น มีโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เมืองมีสภาพแออัด เกิดปัญหามลพิษขึ้น และมีข้อจำกัดของพื้นที่ในเรื่องของการกัดเซาะและปัญหาน้ำท่วมเช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนแรก สำหรับพื้นที่ด้านตะวันตกของพื้นที่ศึกษา การใช้ประโยชน์ที่ดินเกือบทั้งหมดเป็นการทำเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่งและการทำนาเกลือ นอกจากนี้ยังมีการทำประมงที่หลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณดอนหอยหลอด ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการ โดยมุ่งแก้ไขและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม การฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน การควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อลดปัญหาทรัพยากรประมง เพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติมีประโยชน์สูงสุดและเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาต่อไป
Other Abstract: The northern part of the Inner Gulf of Thailand is highly important coastal area due to its location where 4 major rivers namely, Bang Pakong, Chao Phraya, Tha Chin and Mae Klong, drain into the Gulf of Thailand. As a consequence, the area is subdivided into 3 parts by the rivers. The eastern part spanning from Bang Pakong estuary to Chao Phraya estuary is predominantly industrial area. Such development brings about pollution which cause adverse effects on fisheries and aquaculture. Moreover, water shortage, flood and coastal erosion are increasing problems. The central part spanning from Chao Phraya estuary westward to Tha Chin estuary is mainly used for aquaculture particularly natural shrimp farms. While urban settlement as well as fishery-related industries are congregated at the Tha Chin estuary westward to Mae Klong estuary is mostly used for aquaculture, salt production and fisheries. From this study, integrated coastal management is proposed by concentrating on abatement and reduction of impact. This management should be follow by mean of zoning measures to encouraging activities appropriate for their respective area, rehabilitation of diminishing mangrove forest, and promoting aquaculture, which is important in reducing fishery related problems. Such measures should alleviate problems arising from land use conflicts and ultimately allow sustainable utilization of coastal resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23142
ISBN: 9741705565
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitiya_th_front.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_ch1.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_ch2.pdf9.95 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_ch3.pdf12.53 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_ch4.pdf21.89 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_ch5.pdf28.33 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_ch6.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Thitiya_th_back.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.