Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23158
Title: การกำหนดเขตโรงเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนรัฐบาล ในท้องที่การศึกษาที่สี่ของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: School Zoning of the public secondary schools in the fourth educational region of Bangkok Metropolis
Authors: ประกอบ อยู่ชมบุญ
Advisors: ณรงค์ บุญมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในท้องที่การศึกษาที่ 4 ซึ่งประกอบด้วย 6 เขต ได้แก่ เขตธนบุรี คลองสาน ราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน ภาษีเจริญ และหนองแขม ตามหัวข้อต่อไปนี้ 1.1 จำนวนโรงเรียน จำนวนครู จำนวนนักเรียน 1.2 การกระจายของนักเรียนในแต่ละโรงเรียนในด้านที่พักอาศัยปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาหาวิธีที่เหมาะสมในการกำหนดเขตโรงเรียนในท้องที่การศึกษาที่ 4 วิธีดำเนินการวิจัย การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสำรวจซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียน ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับที่พักอาศัย วิธีการเดินทาง และเวลาที่ใช้ในการเดินทางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบสำรวจฉบับนี้สร้างขึ้นโดยการค้นคว้าจากตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจแก้เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง กลุ่มตัวอย่างประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 60 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1,280 คน โดยผู้วิจัยได้นำแบบสำรวจไปให้กลุ่มตัวอย่างประชากรและขอรับคืนด้วยตนเอง ได้รับแบบสำรวจคืนจากผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 55 ฉบับ (ร้อยละ 91.66) และจากนักเรียนจำนวน 1,182 ฉบับ (ร้อยละ 92.34) รวมทั้งสิ้น 1,237 ฉบับ (ร้อยละ 92.31) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ และการหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1. เวลาที่เหมาะสมในการเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียนของนักเรียนควรใช้เวลา 30 นาที เขตโรงเรียนที่กำหนดโดยใช้เวลาในการเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียนของนักเรียนเป็นเกณฑ์ ควรใช้เวลา 30 นาที เพื่อให้เขตโรงเรียนไม่กว้างขวางมากเกินไป 2. ที่พักอาศัยของนักเรียนมัธยมศึกษา ควรอยู่ห่างจากสถานที่ตั้งโรงเรียนเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร 3. ภายในระยะ 1 กิโลเมตรจากโรงเรียน การกระจายของที่พักอาศัยของนักเรียนจะหนาแน่น และจะลดลงเมื่อระยะทางห่างจากโรงเรียนมากขึ้น 4. การกำหนดรูปร่างของเขตโรงเรียนในลักษณะของรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าจะไม่เหมาะสมกับเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอยู่แล้ว 5. การกำหนดเขตโรงเรียนควรใช้เกณฑ์ของระยะเวลา ระยะทาง และความหนาแน่นของนักเรียนในระยะรัศมีที่มีนักเรียนของโรงเรียนนั้น ๆ เกินร้อยละ 50 ขึ้นไป 6. เกี่ยวกับเส้นแบ่งอาณาเขตของเขตโรงเรียน ควรกำหนดตามสภาพภูมิประเทศ ซึ่งได้แก่ แม่น้ำ คลอง ถนน เป็นต้น
Other Abstract: Purposes of the Study 1. To study the present educational facts of the Public Secondary Schools in the fourth educational region which consists of 6 amphurs; they are Thonburi, Klongsarn, Ratburana, Bangkountien, Pasichareon and Knongkham, according to the following items 1.1 the number of schools, teachers and pupils 1.2 the suitable dispersing distance of the pupils living places from schools. 2. To find out appropriate methods to establish school catchment areas for each school by using data obtained from respondents. Methods of the Study In this study the questionnaire was used in gathering data. The questionnaires were composed of 2 parts : the first part was concerned with general educational facts of 15 selected schools; the second part dealt with the places where the secondary school pupils live, the distance from home to school, the maximum time spent on getting from home to school, and the means of transport used. These questionnaires were compiled from textbooks and research studies related to this study. A revision of some items was made in consultation with the Thesis advisor. The sample population were composed of 60 school administrators and assistants and 1,280 secondary school pupils from 15 selected schools. All questionnaires were distributed to those sample population. Fifty-five questionnaires (91.66%) were received from the school administrators and assistants and 1,182 questionnaires (92.34%) from the secondary school pupils. Total 1,237 questionnaires (92.31%) The data were analysed by using percentages and the arithmetic mean. Major findings and Conclusions : 1. The suitable time for secondary school pupils to spend on getting from home to school should be 30 minutes, and it is appropriate to establish the school catchment areas by using 30 minutes as the maximum travelling time from home to school in order not to make the school catchment areas too large. 2. The residence of the secondary school pupils should be within 3 kilometres from schools. 3. Within one kilometer from school, the dispersion of the pupils residence will be dense, and it will decrease with the distance from schools. 4. The hexagonal school catchment area will not be suitable for the densely populated towns. 5. The useful criteria to establish the school catchment areas are the time spent on getting from home to school, the distance from home to school and the density of the secondary school pupils within the distance covered over 50% of the pupils of each school. 6. The boundaries of each school catchment areas should be rivers, canals, roads etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23158
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prakob_Yo_front.pdf482.61 kBAdobe PDFView/Open
Prakob_Yo_ch1.pdf386.64 kBAdobe PDFView/Open
Prakob_Yo_ch2.pdf627.85 kBAdobe PDFView/Open
Prakob_Yo_ch3.pdf350.29 kBAdobe PDFView/Open
Prakob_Yo_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Prakob_Yo_ch5.pdf509.1 kBAdobe PDFView/Open
Prakob_Yo_back.pdf439.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.