Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23202
Title: การยกเว้นความรับผิดในการทำให้ผู้ป่วยตายด้วยความสงสาร
Other Titles: Exemption of liability in euthanasia
Authors: ประพัฒน์พงศ์ สุคนธ์
Advisors: โกศล โสภาคย์วิจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แพทยศาสตร์
การตาย
แพทย์ -- ความรับผิดชอบ
การุณยฆาต
สิทธิที่จะตาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ความตาย
กฎหมายและระเบียบข้อบังคับทางการแพทย์
ความรับผิดในทางอาญา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คำว่า “สิทธิในการตาย” (The Right to Death) เป็นถ้อยคำหรือวลีที่ได้รับการกล่าวขานและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในวงการนิติศาสตร์ในปัจจุบัน ว่า บุคคลมีสิทธิที่จะตายหรือไม่? หากตนไม่ประสงค์ที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป เนื่องจากจะต้องทนทุกข์ทรมานและได้รับความเจ็บปวดด้วยโรคร้ายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้เป็นปกติและต้องตายด้วยโรคร้ายนี้อย่างแน่นอนหรือในกรณีของผู้ป่วยที่ตกอยู่ในสภาพที่หมดสติ (Coma) ไม่รู้สึกตัว ไม่มีความหวังที่จะกลับฟื้นคืนเป็นปกติเช่นเดิม แต่ยังคงสภาพอยู่ได้เพราะความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งอาจเรียกผู้ป่วยทั้งสองประเภทนี้ได้ว่าเป็น “ผู้ป่วยที่หมดหวัง” ประเด็นสำคัญที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาคือ ผู้ป่วยที่หมดหวังมีสิทธิที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรีหรือไม่ (The Right to Die With Dignity) กล่าวคือ ผู้ป่วยที่หมดหวังมีสิทธิที่จะตายอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องมีเครื่องอุปกรณ์ชีวิตช่วยทางการแพทย์เกี่ยวโยงระยางอยู่กับร่างกายของตนในขณะที่ตาย หรือมีสิทธิที่จะตายโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานหรือไม่? ด้วยความเมตตาสงสาร แพทย์ผู้ทำการรักษาอาจจะยุติความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยด้านการทำให้ผู้ป่วยตายลงก่อนเวลาอันสมควร หรือเป็นที่รู้จักกันดีในความหมายของคำว่า “Euthanasia” นั่นเอง โดยแพทย์อาจใช้วิธีการยุติการใช้เครื่องอุปกรณ์ช่วยชีวิต การให้ยาพิษ หรืองดเว้นไม่ให้อาหารน้ำและยาที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย แต่การกระทำดังกล่าวแพทย์ต้องอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อความรับผิดทางกฎหมายทั้งในทางแพ่งและทางอาญา แม้ว่าผู้ป่วยนั้นหรือผู้แทนจะได้ให้ความยินยอมตามกฎหมายแล้วก็ตาม เนื่องจากประเทศต่าง ๆ โดยทั่ว ๆ ไปเป็นส่วนมากยังไม่ยอมรับถึง “สิทธิในการตาย” ว่าเป็นสิทธิตามกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้แพทย์โดยส่วนมากจะไม่ยอมกระทำ “Euthanasia” ต่อผู้ป่วย ก่อให้เกิดผลเสียอันเป็นภาระแก่ ทั้งผู้ป่วย แพทย์ และสังคมส่วนรวม แม้ว่า “Euthanasia” จะไม่ถือว่าเป็นสิทธิตามกฎหมายเพราะขัดแย้งกับ “สิทธิในชีวิต” (The Right to Life) ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิต แต่เมื่อได้พิจารณาถึงกรณีการทำแท้ง การปฏิเสธการรักษาพยาบาล ความมีอิสระในความเป็นอยู่ส่วนตัว ปราศจากการถูกรบกวน ซึ่งแม้ว่าจะมีบางกรณีที่ขัดแย้งกับ “สิทธิในชีวิต” ก็ตาม แต่กฎหมายก็ยอมรับว่ากรณีที่กล่าวมานี้เป็นสิทธิตามกฎหมายอย่างหนึ่ง “Euthanasia” นั้นแม้ว่าจะไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิทธิตามกฎหมาย แต่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในการปฏิเสธการรักษาของคนไข้ (A Patient’s Right to Refuse Treatment) หรือสิทธิส่วนตัว (The Right of Privacy) ได้เช่นกัน กรณีของ “Euthanasia” จึงอาจจะถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นที่มีเงื่อนไขอย่างหนึ่งของ “สิทธิในชีวิต” เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว บางรัฐบางประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านนิติศาสตร์และการแพทย์ จึงได้ออกกฎหมายรับรอง “Euthanasia” บางประเภทที่เห็นว่าไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคมโดยส่วนรวม ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายได้กำหนดไว้ รวมทั้งการให้คำนิยามของคำว่า “ความตาย” ไว้ด้วย สำหรับประเทศไทย แม้ว่าปัญหาในเรื่องการกระทำให้ตายโดยแพทย์ (Euthanasia) จะยังไม่ค่อยมี แต่ก็มีแนวโน้มว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตอันใกล้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใด ๆ รับรองการกระทำดังกล่าวของแพทย์ การกระทำให้ตายโดยแพทย์ แพทย์จึงมีความรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา วิทยานิพนธ์นี้จึงได้พิจารณาหาทางออกที่พอจะเป็นไปได้ในกรณีของ “Euthanasia” เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาในเรื่องความรับผิดของแพทย์โดยวิธีการออกเป็นกฎหมายพิเศษโดยมีเนื้อหาที่ยกเว้นความรับผิดของแพทย์ ทั้งในทางแพ่งและอาญาต่อการกระทำ “Euthanasia” ในบางสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยจะให้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้.
Other Abstract: “The right to death” is still a controversy among lawyers. It is questionable whether a person has a right to kill himself where he does not desire to live particularly while he is undergoing pain and suffering from incurable disease and whether a person’s life should be terminated when he is in a coma but still alive because of the help of modern medical equipments. Both kinds of patients are “Hopless patients”. What should be considered is whether such persons have a right to die with dignity, namely, should they have a right to die naturally without medical equipments or should they have a right to die without suffering? With sympathy, doctors may terminate the life of such patients, a reasonable time prior to their natural death, which is know as euthanasia. Doctors may cease applying life-saving equipments or may poison the patients, or stop feeding and treatment, however, doctors have to take a risk both in civil and criminal action although the patients way have given consent. Various states have not yet been up to a state of accepting a right to die, and most doctors refuse to practice euthanasia. This may bring about adverse effects by creating a burden on the patient himself, his relatives and the society as a whole. Althouth “Euthanasia” is contradictory to a right to life, which is the fundamental right of human beings, abortion, refusal of treatment and right of privacy are to a certain extent legally acceptable; euthanasia is not a legal right, but it may be considered as part of refusal of treatment, namely, a patient’s right to refuse treatment, or part of a right of privacy. Therefore, Euthanasia may be classified as one of the exceptions to the right to life. To solve the foregoing problem, some states with advanced legal studies and medical science have legally recognized “Euthanasia” in certain circumstances that it will not yield adverse effects to the society as a whole, but subject to certain conditions/including the definition of “Death”. Euthanasia is not widely known in Thailand, nevertheless this tendency is likely to develop. It is beyond the legal [recognition;] a doctor practicing euthanasia may be subject to a charge of murder. This study is intended to explore the problems of euthanasia, which may serve as a suggestion to solve the problems in both civil and criminal liability of the doctor by enacting a special legislation exempting such liability in committing euthanasia in certain circumstances which do not adversely affect good moral and the public as a whole.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23202
ISBN: 9745666564
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapatpong_Su_front.pdf981.8 kBAdobe PDFView/Open
Prapatpong_Su_ch1.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Prapatpong_Su_ch2.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Prapatpong_Su_ch3.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Prapatpong_Su_ch4.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Prapatpong_Su_ch5.pdf588.33 kBAdobe PDFView/Open
Prapatpong_Su_back.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.