Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23206
Title: ขอบเขตพระอำนาจของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยรัตนโกสินทร์
Other Titles: The scope of the royal power of the second Kings during the Bangkok period
Authors: ประภัสสร บุญประเสริฐ
Advisors: รอง ศยามานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มุ่งที่จะค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อศึกษาพระอำนาจของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่า ทรงมีเพียงใด และภายในขอบเขตใด สอดคล้องกับทางทฤษฎีที่ว่า ทรงมีพระอำนาจเป็นที่สองรองจากพระเจ้าแผ่นดินหรือไม่ อย่างไร และมีวิวัฒนาการแห่งอำนาจเป็นไปในทำนองใด สูงสุด และต่ำสุดในรัชกาลใด ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนก็ได้เสนอถึงต้นกำเนิด ความเป็นมา จุดประสงค์ในการสถาปนาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตลอดจนความสำคัญของตำแหน่งดังกล่าว ในระบบการเมืองการปกครองของกรุงสยาม ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ว่าทรงมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด เป็นตำแหน่งที่เป็นประโยชน์ หรือก่อให้เกิดโทษอย่างไรต่อระบบการปกครองดังกล่าว นอกจากนี้ ก็ได้เสนอพระปรีชาสามารถและความเป็นอัจฉริยบุรุษของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลบางพระองค์ ที่ได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ โดยเปรียบเทียบกับฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินไว้ด้วย การวิจัยแบ่งเป็น 7 บท โดยมีบทนำ และบทสรุปกับข้อเสนอแนะอยู่ต่างหากบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย ตลอดจนวิธีดำเนินการวิจัยและคำชี้แจงบางประการ บทที่ 1 กล่าวถึงแหล่งกำเนิด และตำแหน่งพระมหาอุปราช ที่ปรากฏขึ้นในกลุ่มประเทศคาบสมุทรอินโดจีน พร้อมกับแสดงคุณลักษณะของตำแหน่งดังกล่าวไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความคล้ายคลึงและข้อแตกต่างในระหว่างกัน ต่อจากนั้น ผู้เขียนกล่าวถึงความเป็นมาของตำแหน่งพระมหาอุปราชที่ปรากฏขึ้นในแผ่นดินไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยา โดยเริ่มต้นจากหลักเกณฑ์ในการสถาปนา ขอบเขตพระอำนาจ และสิทธิในราชสมบัติ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงพระอำนาจของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยดังกล่าว อันจะเป็นแนวทางให้เข้าใจถึงพระอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ดีขึ้น บทที่ 2 กล่าวถึงการสถาปนาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งห้ารัชกาล พร้อมกับทำการวิเคราะห์มูลเหตุสำคัญในการสถาปนาไว้อย่างละเอียด เพราะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ละพระองค์ ทรงไว้ซึ่งพระอำนาจมากน้อยต่างกันอย่างไร บทที่ 3 กล่าวถึงพระอำนาจและพระภาระหน้าที่ที่ทรงรับผิดชอบส่วนพระองค์โดยตรง คือ การปกครองพระราชวังบวรสถานมงคล โดยแยกกล่าวในสามลักษณะ คือ ด้านนิติบัญญัติ ด้านบริหารและด้านตุลาการ ในขณะเดียวกัน ได้ทำการวิเคราะห์ให้เห็นถึงพระราชอำนาจของฝ่ายพระราชวังหลวงและพระอำนาจฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เหลื่อมล้ำกันอยู่ บทที่ 4 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระอำนาจ และพระภารกิจในด้านการป้องกันพระราชอาณาเขต อันเป็นพระภารกิจในความรับผิดชอบมาแต่สมัยโบราณ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งพระองค์ทรงไว้ซึ่งพระอำนาจในด้านการทหารนั่นเอง การวิจัยในบทนี้เป็นไปในแนวของการแสดงพระอำนาจในยามออกบัญชาราชการสงคราม และการทรงไว้ซึ่งพระอำนาจในยามว่างราชการสงคราม บทที่ 5 กล่าวถึงพระอำนาจและหน้าที่ประจำพระองค์ที่ต้องทรงปฏิบัติในขณะว่างราชการสงคราม หรือขณะประทับในราชธานี ได้แก่ การปฏิบัติพระอุปราชานุกิจ การประกอบพระราชพิธี การดับทุกข์และบำรุงสุขแก่ปวงอาณาประชาราษฎร์ บทที่ 6 กล่าวถึงพระอำนาจในทางการเมืองซึ่งรวมทั้งการเมืองภายในและการเมืองภายนอก (ต่างประเทศ) ตลอดจนสิทธิในราชสมบัติ บทที่ 7 กล่าวถึงพระอำนาจในวงการศาสนกิจ และปลีกย่อยอื่น ๆ เช่นการสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล และตำหนักที่ประทับตามหัวเมือง พระอำนาจและพระปรีชาสามารถตามพระอัธยาศัย อันได้แก่ ด้านวรรณกรรม ด้านการช่าง และวิทยาการแบบตะวันตกเป็นต้น อนึ่ง ในบทที่ 2 ถึงบทที่ 7 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยรัตนโกสินทร์โดยตรง ผู้เขียนได้สอดแทรกการวิเคราะห์ในแนวเปรียบเทียบพระอำนาจของแต่ละพระองค์ ในการปฏิบัติพระภารกิจด้านต่าง ๆ ไว้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่า แต่ละพระองค์ทรงดำรงไว้ซึ่งพระอำนาจมากน้อยกว่ากันเพียงใดและอย่างไร พร้อมกับเสนอมูลเหตุอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละพระองค์ทรงดำรงไว้ซึ่งพระอำนาจเหลื่อมล้ำกันเช่นนั้นไว้ด้วย ต่อจากบทที่ 7 ผู้เขียนได้สรุปตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ว่ามีการตีความหมายกันอย่างไร และแปรรูปไปในลักษณะใดบ้าง และแสดงผลการวิจัยว่าการที่ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้คลี่คลายเป็นไปเช่นนั้น บังเกิดผลดีและผลเสียต่อระบบการปกครองของกรุงสยามในขณะนั้นมากน้อยเพียงใด พร้อมกับเสนอความเห็นถึงความเหมาะสมและความไม่เหมาะสมของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในแต่ละรัชกาลไว้ด้วย และจบลงด้วยข้อเสนอแนะบางประการ คือ ถ้าได้มีโอกาสค้นคว้าเอกสารจากฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมากกว่านี้ ก็คงจะทำให้รู้จักกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมากยิ่งขึ้น.
Other Abstract: This research is an attempt to examine in detail the material concerning all the Second Kings (Phra Maha Uparat) of the Bangkok period both directly and indirectly in order to make a study of the scope and the development of their royal power. It also discusses the zenith and the nadir of their power in each reign. At the same time it deals with the origin, the development and the purpose of the appointment as well as the importance of this exalted position in the political and administrative system of the Siamese monarchy. The question as to whether this position was suitable or not for the system is subject to discussion in order to bring out the advantages and disadvantages resulting from it. Furthermore, this research tries to reveal the abilities of the Second Kings in administering Siam, in [comparison] with those of the First Kings. This thesis is divided into 7 chapters excluding the introduction, the conclusion and the suggestions for further research. The introduction states the purpose of the thesis, the scope and method of the research as well as an analysis and benefits of the study. The first chapter delineates the story of the Second Kings in the [neighboring] countries together with their characteristics in order to point out their similarities and differences and then it narrates the beginning of this position in Siam from the Sukhothai period to the Ayutthaya period. This chapter is also concerned with the principles of their appointment, the scope of their royal power and their right to the throne, in order to explain the power of the Second Kings during the two periods. This would help the reader to have a better understanding of their royal power in the early Bangkok period. The second chapter deals with the appointment of the Second Kings in the five reigns of the Bangkok period together with a detailed analysis of the main reasons for the appointments because this is how to know the extent of their power in each reign. The third chapter discusses their own responsibilities in administering their officials, servants and retinue at the Second Kings’ palace (Wangna) and is divided into three parts, namely, legislation, administration and jurisdiction. At the same time the writer tries to analyse the power of the First Kings and of the Second Kings over their officials, servants and retinue and to show whether there was interference in this matter. The fourth chapter relates their responsibilities in the defence of the realm. In this chapter, the analysis will involve their power both in peace and in war time. The fifth chapter explains their responsibilities when in residence at the capital, that is to say, their routine work called “Phra Uparajanukit”, such as participating in State ceremonies, solving state problems and promoting the welfare of the people under their charge. The sixth chapter states their role and power in internal and foreign affairs including their right to the throne. The seventh chapter relates their power over religious affairs, their resources in building their palaces, and their [favorite] work consistent with their particular abilities in literature, handicraft and technology. In addition, from the second to the seventh chapters which concern “the Second Kings” in the Bangkok period, the writer presents a comparative analysis of the extent of the Second Kings’ power and its consequences. The thesis concludes with a summary of the concept of the Second Kings from the Sukhothai period through the Bangkok period and their suitability in each reign. The writer would like to add that if an opportunity is provided to find more primary sources from the descendants of “the Second Kings”, it would be much more comprehensive than the present thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2514
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23206
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapasson_Bo_front.pdf869.15 kBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch1.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch2.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch3.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch4.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch5.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch6.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_ch7.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Prapasson_Bo_back.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.