Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23224
Title: | สมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ของไฮโดรเจนเฮไลด์ในน้ำและตัวทำลายผสม |
Other Titles: | Thermodynamic properties of hydrogen halide in water and mixed solvents |
Authors: | ภาวนา ปริยวาทกุล |
Advisors: | ศลักษณ์ ทรรพนันทน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ไอโดรเจนเฮไลด์ ไอออน สารละลาย (เคมี) ตัวทำละลาย เทอร์โมไดนามิกส์ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยรายงานในวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการนำหลักทางเคมีไฟฟ้ามาประยุกต์หาสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ของไฮโดรเจนเฮไลด์ในตัวทำลายต่างชนิดที่มีค่าคงที่ไดอเล็กตริก (є) ใกล้เคียงกัน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของอิออนในสารละลายผสม โดยการทำการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ต่อไปนี้ Pt, H2 (P) / HX(m) , ตัวทำลาย / AgX , Ag ในที่นี้ X คือ CL. Br ส่วนตัวทำลายที่ใช้มีน้ำ (є) = 78.54) , ตัวทำลายผสมน้ำกับเอธานอลที่ 10 % เอธานอลน้ำหนักโดยน้ำหนัก (є = 78.8) และตัวทำลายผสมน้ำกับ 6.58 3% น้ำหนักโดยน้ำหนัก (є=72.8) จากการค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้นี้นำมาหาค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ามาตรฐาน (E๐) ของขั้ว Ag,AgX ซึ่งมีค่า E๐ นี้จะสามารถนำมาคำนวณหาค่าทางเทอร์โมไดนามิกส์ของ HX ได้ (HX เป็นผลของปฏิกิริยารวมของเซลล์ที่กล่าวข้างต้น) เช่น ผลของไพรมารี่ มีเดี่ยม, ค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระของการถ่ายเทของ HX จากน้ำไปยังตัวทำลายที่ศึกษาที่สภาวะมาตรฐาน (∆ G_+^o) และค่าความแตกต่างระหว่างพลังงานอิสระของการถ่ายเทของ C1- และ Br – (∆ G_t^o') ผลที่ได้อธิบายถึงการห่อหุ้มและเบลิกซิตี้ของตัวทำละลาย พบว่าค่า ∆ G_t^oของ HX ในตัวทำละลายผสมทั้งสองตัวเป็นบวกหมด ยกเว้น HBr ในตัวทำละลายผสม 6.58 3% ไดออกเซนน้ำหนักโดยน้ำหนัก ดังนั้นแสดงว่า เอนดิตี้ที่อยู่ในสาละลายทั้งหมดจะไม่เหมือนกัน ค่า ∆ G_t^oที่ได้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ∆ G_t^o,el (ขึ้นอยู่กับค่า є) และ ∆ G_t^o,ch (ขึ้นอยู่เบลิกซิตี้และความสามารถในการห่อหุ้มอิออน) พบว่า ∆ G_t^o,chของ HX ในตัวทำละลายผสมทั้งสองที่ศึกษาเป็นลบหมด แสดงว่าตัวทำละลายผสมทั้งสองมีความเป็นเบสมากกว่าน้ำ แต่ถ้าเทียบค่าของ ∆ G_t^o,ch ของตัวทำละลายผสมน้ำกับ 10% เอธานอลและน้ำกับ 6.58 3% ไดออกเซนน้ำหนักโดยน้ำหนักพบว่า ค่า ∆ G_t^o,ch ของตัวทำละลายผสม 10% เอธานอลจะสูงกว่า 6.583% ไดออกเซน ดังนั้น ตัวทำละลายผสม 6.583% ไดออกเซนเป็นเบสมากกว่าตัวทำละลายผสม 10% เอธานอล ทั้งหมดนี้ได้อธิบายในแง่อิทธิพลของเอนติตี้ที่มีในสารละลายที่มีต่อโครงสร้างของตัวทำละลาย |
Other Abstract: | In this research the electrochemical principles were applied to find the thermodynamic properties of hydrogen halide in various solvents having slightly different dielectric constants (ε) . Electro¬motive force measurements using the cell Pt, H2(P) / HX(m), Solvent / AgX, Ag were made in a study of the behavior of ions in mixed solvents. Where X represents Cl, Br. The solvents used in this research were : water (ε = 78.54), 10 % (W/W) ethanol-water mixture (ε = 72.8) and 6.583 % (W/W) dioxane-water mixture (ε = 72.8). The electromotive force measure¬ments were used to evaluate the standard potentials of the Ag, AgX elec¬trode (E°) in those solvents, the standard thermodynamic functions for HX (HX was obtained from the cell reaction) : the primary medium effects of various solvents, the standard free energy changes for the transfer of HX from water to mixed solvents (∆ G_t^o) and the difference between the free energies for the transfer of Cl- and Br- (∆ G_t^o'). Results were discussed in relation to the solvating and the acid-base properties of the solvents. ∆ G_t^o of HX were observed to be positive for all the solvent mixtures except for HBr in 6.583 % (W/W) dioxane-water mixture indicating the presence of different entities in different solvents. The standard free energy of transfer was composed of two parts namely the electrostatic part or ∆ G_t^o,el (which was due to the dielectric constant ε ) and the chemical part, ∆ G_t^o,ch (which was due to the basicity as well as the solvating capacity of the solvent). It was found that the values of ∆ G_t^o,ch of HX were negative for all solvent mixtures, hence they all are more basic than water. Since ∆ G_t^o,ch for 10 % (W/W) ethanol + water mixture, was higer in comparison to that for 6.583 % (W/W) dioxane + water mixture the latter is therefore more basic. These results were discussed in term of the effects of entities in the solvent mixtures on the structure of solvents. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23224 |
ISBN: | 9745669024 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pawana_Pa_front.pdf | 500.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawana_Pa_ch1.pdf | 421.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawana_Pa_ch2.pdf | 523.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawana_Pa_ch3.pdf | 919.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawana_Pa_ch4.pdf | 303.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawana_Pa_ch5.pdf | 445.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawana_Pa_back.pdf | 447.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.