Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23226
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง "อุณหภูมิและเทอร์โมมิเตอร์" สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Construction of a programmed lesson "temperature and thermometer" for prathom suksa six
Authors: ภาวนา สันธนะสุข
Advisors: รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- แบบเรียนสำเร็จรูป
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรม เรื่อง “อุณหภูมิและเทอร์โมมิเตอร์” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาและสร้างบทเรียนแบบโปรแกรม เรื่อง “อุณหภูมิและเทอร์โมมิเตอร์” 2. สร้างแบบทดสอบเพื่อใช้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนก่อนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม 3. นำบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 90 ตัวแรก คือร้อยละของคะแนนที่นักเรียนโดยเฉลี่ยทำได้จากแบบทดสอบหลังจากเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม 90 ตัวหลัง คือค่าเฉลี่ยร้อยละ 90 ของจำนวนคำตอบในบทเรียนที่นักเรียนทั้งหมดทำถูก 4. ทดลองใช้บทเรียนแบบโปรแกรมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งนี้ เพราะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้เรียนเนื้อหาในบทเรียนแบบโปรแกรมมาก่อนแล้ว การทดลองตามลำดับขั้น 4.1 ทดลองขั้น 1 ต่อ 1 กับนักเรียนโรงเรียนพญาไท 1 คน 4.2 ทดลองขั้นกลุ่มเล็ก กับนักเรียนโรงเรียนพญาไท 10 คน 4.3 ทดลองขั้นภาคสนาม กับนักเรียนโรงเรียนพญาไท 100 คน ผลการวิจัย ประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรม เรื่อง “อุณหภูมิและเทอร์โมมิเตอร์” ที่สร้างขึ้นเป็น 90.29/96.36 สูงกว่ามาตรฐาน 90/90 ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า บทเรียนที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ เนื่องจากบทเรียนแบบโปรแกรมสามารถใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรที่จะมีการสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่องต่อไปให้มากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Purpose The purpose of this study was to construct and found out about the efficiency of Programmed Lesson "Temperature and Thermometer" for Prathom Suksa Six. Procedures 1. Studying and constructing the Programmed Lesson entitle "Temperature and Thermometer". 2. Constructing the pre - and post - test in order to asses the students’ contents. 3. Finding the efficiency of the Programmed Lesson by the 90/90 standard. The former 90 mean£ the average score of the post – test. The latter 90 meant the average score of the Programmed Lesson. 4. The samples used in this study were one hundred students of Prathom Suksa Five. The reason why using this samples was that the Prathom Suksa Six students had learned the content before The throe stops in the experimenting mores: 1. One to one Seating with one student of Phyathai School. 2. Small Group testing with 10 students of Phyathai School. 3. Field testing with, 100 students of Phyathai School. Results The efficiency of the constructed Programmed Lesson "Temper-rature and Thermometer" obtained by the result was 90.29/96.36, which was higher than the 90/90 standard. Hence it could be concluded that this Programmed Lesson could be used efficiency Recommendation Since the Programmed Lesson was proved to be effective, it should be encourage to be constructed the Programmed Lesson in other topics more often.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23226
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pawana_Su_front.pdf415.62 kBAdobe PDFView/Open
Pawana_Su_ch1.pdf781.81 kBAdobe PDFView/Open
Pawana_Su_ch2.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Pawana_Su_ch3.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Pawana_Su_ch4.pdf557.45 kBAdobe PDFView/Open
Pawana_Su_ch5.pdf365.91 kBAdobe PDFView/Open
Pawana_Su_back.pdf694.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.