Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23248
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
dc.contributor.authorประภาพรรณ ไชยวงษ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-07T03:46:28Z
dc.date.available2012-11-07T03:46:28Z
dc.date.issued2522
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23248
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากโมดูลกับนักเรียนที่เรียนจากครูซึ่งสอนแบบสืบสอบรวมทั้งเปรียบเทียบความติดทนของความรู้ของนักเรียนที่เรียนจากทั้งสองวิธีนี้ และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโมดูล ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่สอง (ม.2) โรงเรียนดอนเมือง จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โมดูลการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “พลังงานและการเปลี่ยนแปลง” ของจรัสโฉม นาโค แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.2 – 0.67 มีระดับความยากง่ายตั้งแต่ 0.28 – 0.83 มีค่าสัมประสิทธิแห่งความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.79 แผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “พลังงานและการเปลี่ยนแปลง” สร้างโดยวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโมดูลดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของธีระ จิตต์จนะ ผู้วิจัยได้ให้ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบก่อนเรียน ให้กลุ่มทดลองเรียนเรื่อง พลังงานและการเปลี่ยนแปลง” จากโมดูล ให้กลุ่มควบคุมเรียนบทเรียนเรื่องเดีวกันนี้จากครูสอนแบบสืบสอบแล้วให้ประชากรทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้วให้กลุ่มทดลองตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโมดูล ต่อมาอีก 1 เดือน ผู้วิจัยให้ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองทั้งหมดมาวิเคราะห์ค่าที (t-test) และค่าไคสแควร์ (X²) ข้อค้นพบ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากโมดูลกับนักเรียนที่เรียนจากครูซึ่งสอนแบบสืบสอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของกลุ่มเด็กเก่งที่เรียนจากโมดูล กับที่เรียนจากครูซึ่งสอบแบบสืบสอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของกลุ่มเด็กเรียนอ่อนที่เรียนจากโมดูลกับที่เรียนจากครูซึ่งสอนแบบสืบสอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ความติดทนของความรู้ของนักเรียนที่เรียนจากโมดูลกับนักเรียนที่เรียนจากครูซึ่งสอนแบบสืบสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (ทดสอบสองทาง) โดยที่นักเรียนที่เรียนจากโมดูลมีความติดทนของความรู้ดีกว่านักเรียนที่เรียนจากครูซึ่งสอนแบบสืบสอบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (ทดสอบทางเดียว) 5. นักเรียนที่เรียนจากโมดูลมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนจากโมดูลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were threefolds: first, to compare the achievement in learning science from the instructional module and from teacher’s inquiry method, second, to compare the retention of learning by those two learning methods, third, to study the opinions of students who learned from the instructional module. Two groups of students, 40 each, at Donmueng School were shosen as samples for this study. The instruments in this study were the science instructional module on “Energy and Its Effect” constructed by Charatchom Naco, the high reliability pre-test and post-test with discrimination power between 0.2-0.67 and difficulty index between 0.28-0.83, the science instructional plan on “Energy and Its Effect” constructed by the researcher herself and the opinion questionnaire which developed from Threera Chitchana’s questionnaire. The pre-test was used before the two learning method treatments. One group, the experimental group, was taught by using module and the other, the control group, was taught by teachers’ inquiry method. Both groups were taught the topic entitled “Energy and Its Effect”. Then the post-test was administered to both groups but the opinion questionnaire concerning module was administered to the experimental group. One month later the post-test was given again to both groups. The collected data were analyzed by the t-test and the chi-square. The Finding : 1. There was no significant difference in the achievement in learning science between the experimental group and the control group at the .05 level. 2. There was no significant difference in the achievement in learning science between the high level achievement students of the experimental group and the control group at the .05 level. 3. There was no significant difference in the achievement in learning science between the low level achievement students of the experimental group and the control group at .05 level. 4. There was significant difference in the retention of learning between the experimental group and the control group at the .05 level. The analyzed data showed that the experimental group could retain better. 5. The experimental group had positive opinions in learning from Instructional Module.
dc.format.extent517404 bytes
dc.format.extent441214 bytes
dc.format.extent914719 bytes
dc.format.extent374055 bytes
dc.format.extent375659 bytes
dc.format.extent384228 bytes
dc.format.extent2828311 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนจากโมดูลกับการเรียนจากครูซึ่งสอนแบบสืบสอบen
dc.title.alternativeA comparison of achievement in learning science from the instructional modules and from the teacher using inquiry methoden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapapan_Ch_front.pdf505.28 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_Ch_ch1.pdf430.87 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_Ch_ch2.pdf893.28 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_Ch_ch3.pdf365.29 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_Ch_ch4.pdf366.85 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_Ch_ch5.pdf375.22 kBAdobe PDFView/Open
Prapapan_Ch_back.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.