Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23252
Title: การวิเคราะห์แบบสอบความถนัดทางวิชาการ
Other Titles: An analysis of a scholastic aptitude test
Authors: ประภาพร ศรีตระกูล
Advisors: อุทุมพร ทองอุไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ความถนัด
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อและตรวจสอบโครงสร้างทางทฤษฎีของแบบสอบความถนัดทางวิชาการ (ว.ร.ว. 16) โดยกำหนดเวลาสอบของแบบสอบย่อยทั้ง 4 ชุดไว้ 80 นาที แบบสอบย่อยทั้ง 4 ชุดประกอบด้วย เหตุผลทางด้านภาษาการคิดแบบตรรกวิทยา เหตุผลทางด้านคณิตศาสตร์ และเหตุผลทางด้านนามธรรม การวิเคราะห์ข้อของแบบสอบใช้เทคนิค 27% เพื่อหาระดับความยาก อำนาจจำแนก จากนั้นได้หาสัมประสิทธิ์ความเที่ยง และความตรงของแบบสอบ ได้ผลดังนี้ 1. ระดับความยากของแบบสอบมีค่าอยู่ระหว่าง .002 ถึง .935 อำนาจจำแนกมีค่าอยู่ระหว่าง -.015 ถึง .796 มีข้อสอบ 11 ข้อ ที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีระดับความยากอยู่ระหว่าง .100 ถึง .600 และอำนาจจำแนกตั้งแต่ .500 ขึ้นไป 2. สัมประสิทธิ์ความเที่ยงชนิดความคงที่ภายในของแบบสอบ และแบบสอบย่อยแต่ละชุด (คือเหตุผลทางด้านภาษา การคิดแบบตรรกวิทยา เหตุผลทางด้านคณิตศาสตร์และเหตุผลทางด้านนามธรรม) โดยคำนวณจากสูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสันที่ 20 มีค่าเป็น .832, .680, .480, .643 และ .716 ตามลำดับ 3. ความตรงภายในของแบบสอบย่อยแต่ละชุดคือ เหตุผลทางด้านภาษา การคิดแบบตรรกวิทยา เหตุผลทางด้านคณิตศาสตร์ และเหตุผลทางด้านนามธรรม กับแบบสอบทั้งชุดมีค่าเป็น .740, .801, .767 และ .737 ตามลำดับ ส่วนค่าสัมประสิทธ์ความตรงเชิงพยากรณ์ได้เสนอในรูปของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของคะแนนเฉลี่ยภาคต้น กับคะแนนรวมของแบบสอบ ก.สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของคะแนนเฉลี่ยภาคต้นของนิสิตทั้งหมด 8 แผนกวิชา ของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กับคะแนนของแบบสอบทั้งชุดเป็น .071 และแต่ละแผนกวิชามีค่าอยู่ระหว่าง .220 ถึง .741 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ดังกล่าวของแผนกวิชาโสตทัศนศึกษามีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของคะแนนเฉลี่ยภาคต้นของนิสิตทั้งหมด 8 แผนกวิชา กับคะแนนของแบบสอบทั้งชุดเป็น .033 และแต่ละแผนกวิชามีอยู่ระหว่าง -.200 ถึง .679 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ดังกล่าวของแผนกวิชาพยาบาลศึกษา และโสตทัศนศึกษามีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. เมตริก 60 x 60 ของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ได้สกัดตัวประกอบด้วยวิธีแบบตัวประกอบสำคัญ และหมุนแกนตัวประกอบโดยวิธีแวริแมกซ์ มี 4 ตัวประกอบ ที่แปลความหมายได้คือ อุปมาน, ความสัมพันธ์ทางภาษา, การเคลื่อนไหวเชิงอวกาศ และความสัมพันธ์ด้านรูปร่าง.
Other Abstract: The purpose of this study was to analyze items and factual structure of the constructed scholastic aptitude test. Eight minutes were required to complete four sub-tests, namely, verbal reasoning, logical thinking, numerical reasoning, and abstract reasoning. The high-low 27% group method of item analysis was used to obtain levels of difficulty, powers of discrimination, reliability and validity coefficients. The findings are as follows: 1. The levels of difficulty of the battery were between .002 to .935. The powers of discrimination were between -.015 to .769. Eleven item met the criteria of the levels of difficulty ranging from .100 to .600 and the powers of discrimination exceeding .500. 2. The reliability (i.e., internal consistency) coefficients of the battery and each of the four sub-tests (namely, verbal reasoning, logical thinking, numerical reasoning and abstract reasoning) calculated by the Kuder-Richardson Formula 20 were .832, .680, .480 .643 and .716 respectively. 3. The internal validity of each of the sub-tests, namely, verbal reasoning, logical thinking, numerical reasoning, and abstract reasoning, with the battery were .740, .801, .767 and .737, respectively. The predictive validity coefficients were also reported in terms of multiple and simple correlation coefficients of first semester grade point averages and test scores. a. The multiple correlation coefficient of students in all eight departments at the Graduate School, Chulalongkorn University, was .701 while individual department scores ranged from .220 to .741. The multiple correlation coefficient in the Department of Audio-Visual Education was significant at the .05 level. b. The simple correlation coefficient of students in all eight departments was .033 though the different department had scores from -.200 to .679. These coefficients in the Departments of Nursing Education and Audio-Visual Education were significant at the .01 level. 4. The 60 x 60 correlation coefficient matrix was extracted by the principal factor method and rotated by the varimax rotation. Four factors were interpreted as induction, verbal relation, movements in space and space relations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23252
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapaporn_Sr_front.pdf519.3 kBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_Sr_ch1.pdf368.56 kBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_Sr_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_Sr_ch3.pdf379.56 kBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_Sr_ch4.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_Sr_ch5.pdf620.73 kBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_Sr_back.pdf922.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.