Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorติน ปรัชญพฤทธิ์
dc.contributor.authorวิเชียร อินทะสี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-07T06:23:59Z
dc.date.available2012-11-07T06:23:59Z
dc.date.issued2533
dc.identifier.isbn9745783382
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23264
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล ตะวันออก โดยศึกษาเฉพาะประเด็นของการนำนโยบายการให้เอกชนบริหารและประกอบการท่าเรือแหลมฉบังไปปฏิบัติซึ่งใช้ตัวแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติมาเป็นแนวทางในการศึกษา โดยมีขอบเขตของการวิจัยครอบคลุมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดและการนำนโยบายไปปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ สำหรับด้านวิธีการวิจัยได้ใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการเข้าไปทำการสำรวจ เป็นวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ในการนำนโยบายการให้เอกชนบริหารและประกอบการท่าเรือแหลมฉบังไปปฏิบัติ ได้รับการคัดค้านจากสหภาพแรงงานในการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพราะฝ่ายสหภาพแรงงานมีความเห็นว่าสาระสำคัญของนโยบายเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงมีผลทำให้รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนสาระของนโยบายใหม่ สำหรับตัวแปรหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลดังกล่าว ได้แก่ (1) สาระสำคัญหรือมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (2) สภาพแวดล้อมทางการเมือง (3) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม และ (4) การติดต่อสื่อสารและการใช้อำนาจหน้าที่บังคับให้มีการปฏิบัติตาม โดยตัวแปรสาระสำคัญหรือมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย กับตัวแปรสภาพแวดล้อมทางการเมือง มีอิทธิพลต่อผลการนำนโยบายไปปฏิบัติมากที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่า ตัวแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีประโยชน์ต่อการบริหารการพัฒนา ทั้งในด้านวิชาการและด้านปฏิบัติ จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ เพื่อให้การนำนโยบายที่ได้ปรับเปลี่ยนสาระของนโยบายใหม่ไปปฏิบัติให้บรรลุผลไว้ดังนี้ (1) รัฐบาลโดยคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก(กพอ.) จะต้องเข้ามาติดตามและประเมินผลการบริหารท่าเรือแหลมฉบังของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (2) รัฐบาลในฐานะผู้กำหนดและผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ จะต้องไม่กระทำการอันใดที่ส่อว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ (3) ควรมีการทบทวนการนำ พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาบังคับใช้กับรัฐวิสาหกิจ และ (4) ควรดำเนินการแก้ไข พรบ. การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the Eastern Seaboard Development Administration. The scope of research covers policy outputs/program performance and factors which influence to the policy implementation. The data collected and analyzed are based on documents, interviews and survey. The research findings are that implementation of the privatisation of Laem Chabang Port policy runs counter to a protest from the Labour Unions in The Port Authority of Thailand (PAT), because they feel that policy standards and objectives of the implementation are aimed at privatisation, which, in turn, will have some ramifications on their interest. This protest results in government’s adjustment of the policy. In addition, there are several factors which impinge upon the implementation process. They are namely :( 1) policy standards and objectives; (2) political situations; (3) economic and social conditions; and (4) communication and authorities for enforcement. However, the most critical factors which influence this implementation are policy standards and objectives and political situations. In addition, it was found that policy implementation model utilized in this thesis is very beneficial for Development Administration both in terms of academic and practical purposes. In the end, the author has some recommendations to make as follows :(1) the government and Eastern Seaboard Committee should monitor and evaluate the management and operation of Laem Chabang Port of PAT.:(2) the government should not act in such a way as to get involved in bribery and corruption from policy implementation of the privatization; (3) an attempt should be reviewed to enforce the Labour Relations Act of B.E. 2518 in public enterprises; and (4) there should be revision of the Port Authority of Thailand Act of B.E. 2494 in order to make it conducive to changing circumstances.
dc.format.extent4980818 bytes
dc.format.extent6238520 bytes
dc.format.extent17007009 bytes
dc.format.extent2044148 bytes
dc.format.extent24180920 bytes
dc.format.extent19288450 bytes
dc.format.extent4087624 bytes
dc.format.extent13698416 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการบริหารการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งตะวันออก : กรณีศึกษาในประเด็นของการนำนโยบายการให้เอกชนบริหาร และประกอบการท่าเรือแหลมฉบังไปปฏิบัติen
dc.title.alternativeEastern Seaboard development administration : a case study in policy implementation of the privatisation of Laem Chabang Porten
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichian_in_front.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_ch1.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_ch2.pdf16.61 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_ch3.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_ch4.pdf23.61 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_ch5.pdf18.84 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_ch6.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Wichian_in_back.pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.