Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23288
Title: ผลของรูปแบบตัวเลือกต่างกันที่มีต่อรูปแบบการตอบสนองข้อสอบ โค้งลักษณะของข้อสอบค่าฟังก์ชั่นสารสนเทศของข้อสอบและแบบสอบ
Other Titles: A construction of a self-report for the northeast secondary school teachers
Authors: วดาภรณ์ พูลผลอำนวย
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
โกวิท ประวาลพฤกษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้โมเดลโลจิสติกที่มีพารามิเตอร์ 3 ตัวในการศึกษาผลของตัวเลือกดัก ตัวเลือกเฉียด ตัวเลือกปลายเปิด ตัวเลือกแปลก และตัวเลือกให้เติมที่มีต่อโค้งลักษณะของข้อสอบค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบและแบบสอบ และรูปแบบการตอบสนองข้อสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. โค้งลักษณะของข้อสอบในแบบสอบฉบับตัวเลือกดัก (FORM A) ไม่แตกต่างกับฉบับตัวเลือกเฉียด (FORM B) และตัวเลือกปลายเปิด (FORM C) แต่มีโค้งลักษณะของข้อสอบบางข้อในฉบับตัวเลือกดักแตกต่างกับฉบับตัวเลือกแปลก (FORM D) และตัวเลือกให้เติม (FORM E) 2. ข้อสอบในแบบสอบฉบับตัวเลือกดักให้ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบสูงกว่าฉบับตัวเลือกเฉียดที่ความสามารถระดับปานกลางขึ้นไป สูงกว่าฉบับตัวเลือกปลายเปิดและตัวเลือกแปลกที่ระดับปานกลางลงไป และสูงกว่าฉบับตัวเลือกให้เติมที่ระดับปานกลางและระดับต่ำ 3. แบบสอบฉบับตัวเลือกดักให้ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบสูงกว่าฉบับตัวเลือกเฉียดที่ความสามารถระดับปานกลางขึ้นไป สูงกว่าฉบับตัวเลือกปลายเปิดและตัวเลือกแปลกที่ระดับปานกลางลงไปและระดับสูงมาก และสูงกว่าฉบับตัวเลือกให้เติมที่ระดับปานกลางลงไป 4. รูปแบบการตอบสนองข้อสอบจากแบบสอบฉบับตัวเลือกดักเหมาะสมกว่าหรือใกล้เคียงกันกับฉบับตัวเลือกเฉียดที่ความสามารถระดับต่ำ ปานกลางและสูงมาก เหมาะสมกว่าหรือใกล้เคียงกันกับฉบับตัวเลือกปลายเปิด ตัวเลือกแปลก และตัวเลือกให้เติมที่ระดับปานกลางขึ้นไป
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of different types of alternatives on the response patterns, item characteristic curves, item and test information functions by applying the three-parameter logistic item response model. The results showed that. 1. The item characteristic curve of diagnostic alternative items (FORM A) were not different from the close alternative items (FORM B) and non of these alternative items (FORM C) but some items in FORM A different from the odd-man-out alternative items (FORM D) and the filled-in alternative items (FORM E). 2. Items in FORM A provided more item information than items in FORM B at the moderate, high and very high ability level ; more than items in FORM C and FORM D at the very low, low and moderate ability level ; and more than items in FORM E at the low and moderate ability level. 3. Test FORM A provided more test information than FORM B at the moderate, high and very high abiity level ; more than FORM C and FORM D at the very low, low, moderate and very high ability level ; and more than FORM E at the very low, low and moderate ability level. 4. Test FORM A provided similar or more appropriate response patterns than FORM B at the low, moderate,and very high ability level ; similar or more appropriate than FORM C, FORM D and FORM E at the moderate, high and very high ability level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23288
ISBN: 9745783889
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wadapron_po_front.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Wadapron_po_ch1.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open
Wadapron_po_ch2.pdf18.6 MBAdobe PDFView/Open
Wadapron_po_ch3.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open
Wadapron_po_ch4.pdf13.54 MBAdobe PDFView/Open
Wadapron_po_ch5.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open
Wadapron_po_back.pdf13.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.