Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23304
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียกับชุมชนแพลงก์ตอนพืชที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีบริเวณชายฝั่งทะเลบางพระ ชลบุรี
Other Titles: Relationship between bacteria and phytoplankton communities associated with red tide in coastal area of bangpra, Chon buri
Authors: ปิยะรัตน์ เซ้าซี้
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แบคทีเรียทะเล -- ไทย -- ชลบุรี
แพลงค์ตอนพืช -- ไทย -- ชลบุรี
น้ำทะเลเปลี่ยนสี -- ไทย -- ชลบุรี
Marine bacteria -- Thailand -- Chon buri
Phytoplankton -- Thailand -- Chon buri
Red tide -- Thailand -- Chon buri
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียกับแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี บริเวณชายฝั่งทะเลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี คำเนินการในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยทำการศึกษาความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชและแบคทีเรีย หามวลชีวภาพของไมโครแพลงก์ตอน พร้อมทั้งตรวจวัคปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปริมาณสารอาหารจากข้อมูลทุติยภูมิที่ศึกษาในเวลาเดียวกัน และได้ คำเนินการทดลองเลี้ยงแบคทีเรียและแพลงก์ตอนพืชกลุ่มเด่นร่วมกันเป็นประจำทุกเดือนและทุกสัปดาห์ในช่วงฤดูฝน ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 5 กลุ่ม มี 52 สกุล พบ Oscillatoria erythraeum และ Chaetoceros spp. ทุกครั้งที่ทำการศึกษา พบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีทั้งหมด 12 ครั้ง พบในช่วงฤดูฝนปี พ.ศ.2546 จำนวน 7 ครั้ง และ ในช่วงฤดูฝนปี พ.ศ. 2547 จำนวน 5 ครั้ง โดยเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวซึ่งเกิดจาก Noctiluca scintillans 6 ครั้ง และนำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองเกิดจาก N.scintillans และ Chaetoceros spp. 1 ครั้ง นอกจากนี้ พบน้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล สีน้ำตาลแดงและสีแดง ซึ่งเกิดจากกลุ่มของไดอะตอมและ Ceratium furca 5 ครั้ง ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีแพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นเซลล์อยู่ระหว่าง 6.19X 104 ถึง5.51 X 105 เซลล์ต่อลิตรโดยพิสัยความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชตลอดการศึกษาเป็น 1.20 X 10⁴ ถึง 5.51 X 10⁵ เซลล์ต่อลิตร และ ความหนาแน่นของแบคทีเรียในช่วงที่ทำการศึกษามีค่าระหว่าง 2.09X 10⁵ ถึง 1.24 X 10⁶ เซลล์ต่อมิลลิลิตรความหนาแน่นของแบคทีเรียมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชในน้ำทะเลธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ทั้งนี้น่าจะมาจากแบคทีเรียใช้สารอินทรีย์ที่ได้รับโดยตรงจากแพลงล์ตอนพืช แต่ในฤดูฝน สารอินทรีย์ในน้ำจะได้รับจากการชะล้างของแผ่นดินด้วย จึงทำให้ไม่เห็นความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน การยับยั้งการ เติบโตของแพลงก์ตอนพืชโดยแบคทีเรียจากธรรมชาติในห้องปฏิบัติการไม่เห็นผลชัดเจน เนื่องจากความหลากหลายของแบคทีเรียและแหล่งที่มาของสารอาหารสำหรับแบคทีเรีย รวมทั้งการผันแปรของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในนำทะเล แต่ผลการ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียที่ได้จากการเพาะในอาหารเลี้ยงเชื้อกับแพลงก์ตอนพืชแสดงว่า แบคทีเรียที่แยก ได้จากน้ำทะเลทั้ง 3 ชนิด คือ Bacillus sp. ที่ระดับความเข้มข้น ≥1.53 X 10⁵ เซลล์ต่อมิลลิลิตร Pseudomonas sp. ที่ระดับ ความเข้มข้น ≥2.89 X 10⁴ เซลล์ต่อมิลลิลิตรและ Unidentified bacteria ที่ระดับความเข้มข้น≥1.16 X 10⁵ เซลล์ต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเติบโตของแพลงก์ตอนพืชซึ่งได้แก่ C. curvisetus และ S. costatum ส่วนความเข้มข้นของแบคทีเรียที่ยับยั้งการเติบโตของ N. scintillans คือ แบคทีเรีย Bacillus sp.ที่ระดับความเข้มข้น 1.10 X 10⁵ เซลล์ต่อมิลลิลิตร แบคทีเรีย Pseudomonas sp. ที่ระดับความเข้ม'ข้น 8.60 X 10⁴ เซลล์ต่อมิลลิลิตรและ Unidentified bacteria ที่ระดับความเข้มข้นแบคทีเรีย 8.80X 10⁴ เซลล์ต่อมิลลิลิตร
Other Abstract: The relationship between bacteria and phytoplankton communities associated with red tide at Bangpra coastal area, Chonburi province was studied every month from February 2003 to June 2004 and at weekly period during the rainy season between July to October 2003, which is the period of red tide phenomenon in this area. Density of phytoplankton and bacteria was determined from water samples. Chlorophyll biomass of phytoplankton was also determined in laboratory while physico-chemical parameters were measured in situ. Besides, secondary data on inorganic nutrients from the same time were also available for the discussion. Five groups of total of 52 genera of microplankton were recorded. Oscillatoria erythraeum and Chaetoceros spp. were frequently found in this area. Red tide occurred 12 times during this study, 7 times in rainy of 2003 and 5 times in rainy of 2004. Green tide of Noctiluca scintillans was recorded for 6 times and yellow-green-colored water from Noctiluca scintillans and Chaetoceros spp. occurred only one time. Diatoms and Ceratium Jurca caused red tide phenomenon for 5 times during the study period. Density of phytoplankton ranged from 1.20 x10⁴ to 5.51 X 10⁵cell per liter but during phytoplankton blooms, the density ranged from 6.19xl04 to 5.51 xl05cell per liter. Density of bacterial varied from 2.09 x10⁵ to 1.24 x 10⁶cell per milliliter. Relationship between bacteria density and phytoplankton density in sea water occurred in dry season because of bacteria uptake on dissolve organic matter released from phytoplankton. But in rainy, season dissolve organic matter also increases from run off, so relationship between bacteria and phytoplankton were not clear. Natural population of bacteria did not show an adversed effect on phytoplankton growth. This may due to the diversity of bacteria and variability of sources of nutrient for bacteria in seawater. Bacteria isolated from seawater and identified using DNA sequencing technique inhibited growths of C. curvisetus and S. costatum at the densities of Bacillus sp. ≥ 1.53 x10⁵ cell per milliliter, Pseudomonas sp. concentrations 2.89 x10⁴ cell per milliliter and unidentified bacteria concentrations ≥1.16 x10⁵ cell per milliliter. For N. scintillans, bacteria that affected growth of this dinoflagellate were Bacillus sp. at concentrations 1.10 X 10⁵, Pseudomonas at concentrations 8.60 X 10⁴ cell per milliliter and unidentified bacteria at concentrations 8.80 X 10⁴ cell per milliliter.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23304
ISBN: 9741761589
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarath_sa_front.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_ch1.pdf926.63 kBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_ch2.pdf9.71 MBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_ch3.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_ch4.pdf13.77 MBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_ch5.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_ch6.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Piyarath_sa_back.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.