Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ
dc.contributor.authorเชษฐ์ ปรีชารัตน์
dc.date.accessioned2012-11-08T02:20:20Z
dc.date.available2012-11-08T02:20:20Z
dc.date.issued2517
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23335
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจสังคม จิตวิทยา และอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของสตรีไทยในเขตเมืองที่มีต่อการวางแผนครอบครัว โดยมีสมมุติฐานว่า 1. สตรีกลางวัยเจริญพันธ์น่าจะมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวในอัตราที่สูงกว่าสตรีในวัยอื่น ๆ 2. สตรีที่มีบุตรมากน่าจะมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวในอัตราที่สูงกว่าสตรีที่มีบุตรน้อย 3. สตรีที่ร่ำรวยน่าจะมีทัศคติที่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวในอัตราที่สูงกว่าสตรีที่ยากจน 4. สตรีที่มีการศึกษาสูงน่าจะมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวในอัตราที่สูงกว่าสตรีที่การศึกษาต่ำ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือข้อมูลจาการวิจัยของโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรในประเทศไทย ในส่วนที่เป็นการวิจัยในเขตเมือง ดำเนินการโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 ผลการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของสตรีไทยในเขตเมืองที่มีผลต่อการวางแผนครอบครัวปรากฏว่าสตรีที่อยู่ในภาวะเจริญพันธ์ประมาณครึ่งหนึ่งเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวประมาณ 3 ใน 10 ไม่เห็นด้วย นอกนั้นเป็นผู้ที่ตอบแล้วแต่กรณี และรวมทั้งผู้ที่ไม่ตอบ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการวางแผนครอบครัวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และจิตวิทยา อาจจะสรุปได้ดังต่อไปนี้ ปัจจัยทางด้านประชากร ประการแรกคืออายุของสตรี ปรากฏว่าสตรีกลางวัยเจริญพันธ์มักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวมากว่าสตรีในวัยอื่น ๆ ประการที่สอง คือจำนวนบุตรที่มีชีวิตปัจจุบัน ปรากฏว่าสตรีที่บุตร 1-2 มักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัว มากกว่าสตรีที่มีบุตรมาก หรือไม่มีบุตรเลย ประการที่สาม คือเชื้อชาติ ปรากฏว่าสตรีเชื้อชาติไทยและสตรีเชื้อชาติจีนปนไทย มักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวในอัตราใกล้เคียงกัน และมากกว่าสตรีเชื้อชาติจีน ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจสังคม ประการแรก ฐานะทางเศรษฐกิจปรากฏว่าสตรีที่ฐานะร่ำรวยมักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวมากกว่าสตรีที่มีฐานะต่ำกว่า ประการที่สอง คืออาชีพ ปรากฏว่าสตรีที่ประกอบอาชีพเสมียน วิชาชีพและบริหาร ข้าราชการ และทหาร มักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวมากกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพกสิกรรม อาชีพค้าขาย และอื่นๆ ประการที่สาม คือระดับการศึกษา ปรากฏว่าสตรีที่มีการศึกษาสูงมักเห็นด้วยกับการวางแผนครบครัวมากกว่าสตรีที่การศึกษาต่ำ ประการที่สี่ ความรู้วิธีป้องกันการปฏิสนธิ ปรากฏว่าสตรีที่ทราบวิธีป้องกันการปฏิสนธิมักเห็นด้วยกับการวางแผนครบครัวมากกว่าสตรีที่ไม่ทราบ ปัจจัยทางจิตวิทยาและปัจจัยอื่น ๆ ประการแรก คือความต้องการบุตรเพิ่ม ปรากฏว่าความต้องการบุตรเพิ่มหรือไม่ต้องการบุตรเพิ่ม ไม่มีผลทำให้ทัศคติต่อการวางแผนครอบครัวมีความแตกต่างกัน ประการที่สอง คือการเจริญพันธุ์เกินระดับ ปรากฏว่าสตรีที่มีการเจริญพันธุ์เกินระดับมักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวมากกว่าสตรีที่มีการเจริญพันธุ์ต่ำระดับ ประการที่สาม คือการใช้วิธีป้องกันการปฏิสนธิ ปรากฏว่าสตรีที่เคยใช้วิธีป้องกันการปฏิสนธิมักเห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวมากกว่าสตรีที่ไม่เคยใช้
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to analyse the factors affecting the attitude toward family planning of Thai women in urban areas. The main hypotheses of this study are :- - Women in middle fertility age should be more likely to approve of family planning than others. - Women who have more children should be more likely to approve of family planning than those who have few children. - Women of higher socioeconomic status should be more likely to approve of family planning than those of lower socioeconomic status. Data were collected by the National Longitudinal Survey of Social, Economic and Demographic Change in Thailand, Institute of Population studies, Chulalongkorn University, April - May 1970. The method used in collecting data was to administer [questionnaires] to heads• of households and their wives, and also every ever married women in the family. This thesis emphasizes relationship between various factors and the attitude toward family planning. It was found that several demographic factors affecting the attitude toward family planning of women were as follows: those in the middle fertility ages were more likely to approve of family planning than younger or older number in fertility age groups, women who had 1- 2 living children were more likely to approve of it than those who had none or more than 2 living children. Chinese women were more likely to disapprove of family planning than Thai women. Economic factors also influenced the attitude toward family planning. There was a positive correlation between economic status and. approval. Clerks, professionals, and officials were more likely to approve than farmers or merchants. Social factors affecting the attitude toward family planning were as follows. Women who had higher education were more likely to approve than those who had lower education or illiterate group; those who had knowledge of contraception were more likely to approve than those who had none. Psychological factors affecting the attitude toward family planning of woman were also exammed. There was no correlation between desire for additional children and the attitude toward family planning. Women who had excess fertility were more likely to approve than those who had deficit fertility. In addition, there was a positive correlation among knowledge, attitude, and practice of family planning.
dc.format.extent506836 bytes
dc.format.extent1111444 bytes
dc.format.extent460449 bytes
dc.format.extent1111621 bytes
dc.format.extent1423661 bytes
dc.format.extent772075 bytes
dc.format.extent376522 bytes
dc.format.extent386181 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleปัจจัยที่ยังผลต่อทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของสตรีไทย ในเขตเมืองen
dc.title.alternativeFactors affecting the attitude toward family planning of Thai women in urban areasen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chet_Pr_front.pdf494.96 kBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_ch2.pdf449.66 kBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_ch3.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_ch4.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_ch5.pdf753.98 kBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_ch6.pdf367.7 kBAdobe PDFView/Open
Chet_Pr_back.pdf377.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.