Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23342
Title: การเก็บกลับคืนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์จากน้ำขมของการผลิตเกลือสมุทรโดยใช้แคลไซน์โดโลไมท์
Other Titles: Recovery of magnesium hydroxide from salt field brine using calcined dolomite
Authors: ณัฐพร สุขพลอย
Advisors: ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Quanchai.L@Chula.ac.th
Subjects: เกลือ
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
โดโลไมต์
การตกตะกอน (เคมี)
Salts
Magnesium hydroxide
Dolomite
Precipitation ‪(Chemistry)‬
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในประเทศไทยมีการผลิตเกลือสมุทรจากการระเหยของน้ำทะเลมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยกระบวนการผลิตดังกล่าวจะมีปริมาณน้ำทิ้งออกมาเป็นจำนวนมากต่อการผลิตหนึ่งครั้ง น้ำทิ้งดังกล่าวมีถูกเรียกว่า“น้ำขม” เนื่องจากมีปริมาณความเค็มสูงมากคือตั้งแต่ 35 ppt ขึ้นไป ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงองค์ประกอบของน้ำขมเหลือทิ้ง เพื่อเก็บกลับคืนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการใช้แร่โดโลไมท์ที่ขนาดอนุภาคต่างๆ กัน คือ 50, 100, 200 และ 325 เมช มาผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส เพื่อคัดเลือกขนาดอนุภาคของแร่โดโลไมท์ ที่มีค่าการสลายตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ใกล้เคียงกับค่าตามทฤษฎีมากที่สุด จากนั้นจึงนำไปทำปฏิกิริยากับน้ำขมเหลือทิ้ง เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ที่เกิดจากแมกนีเซียมคลอไรด์สังเคราะห์ โดยพบว่าขนาดอนุภาคของโดโลไมท์ที่ 200 เมช หรือ 74 ไมครอน เหมาะสมที่สุดต่อการสลายตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแร่โดโลไมท์ และจากการศึกษาถึงลักษณะของตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่เกิดขึ้น พบว่า ตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่เกิดจากแมกนีเซียมคลอไรด์สังเคราะห์กับแคลไซน์โดโลไมท์ มีลักษณะของการรวมตัวกันของผลึกแบบปฐมภูมิ ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแผ่นบางๆ หรือที่เรียกว่า บรูไซท์ ส่วนตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่เกิดจากตัวอย่างน้ำขมกับแคลไซน์โดโลไมท์ จะมีลักษณะของการรวมตัวกันของผลึกแบบปฐมภูมิ เช่นเดียวกันแต่โครงสร้างจะเป็นแผ่นบางสลับกับเส้นใย และอยู่กันอย่างหลวมๆ ภายในผลึกมีความเป็นรูพรุนสูง
Other Abstract: Salt production from sea water in Thailand by solar evaporation ponds, produced waste brine or bitterns. This waste brine was analyzed by Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES). The analysis showed the presence of sodium (Na⁺), magnesium (Mg²⁻), sulphate (SO₄²⁺), calcium (Ca²⁺), potassium (K⁺) and chloride (Cl-) which magnesium chloride (MgCl₂) is the major component. In various parts of the world, process technologies have been developed to recover these chemicals directly from salt field brine or from bitterns which is the waste or spent brine after harvesting of salt crystallized by solar evaporation of sea water. Magnesium hydroxide (Mg(OH)₂) is a valuable chemical produced from sea water and its bitterns through precipitation process. In this study, the recovery of magnesium hydroxide from salt field waste brine waste was investigated using calcined dolomite. The magnesium hydroxide precipitated was analyzed by X-ray fluorescence (XRF) and compared with magnesium hydroxide precipitation from the synthetic magnesium chloride. The effects of magnesium ion (Mg²⁺) concentration, solid-liquid ration and dolomite particle size on magnesium hydroxide precipitation rate were also determined at room temperature using calcined dolomite at 950°C.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23342
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.995
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.995
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthaporn_so.pdf22.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.