Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2334
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.advisorศรัณยา หล่อมณีนพรัตน์-
dc.contributor.authorวีรยา ทัตตากร, 2524--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-05T04:32:06Z-
dc.date.available2006-09-05T04:32:06Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741768265-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2334-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวน 228 คน ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม แขวงบางแค เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานสงเคราะห์คนชรา 1 ใน 7 แห่งที่ปัจจุบันยังอยู่ในสังกัดของสำนักบริการ สวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรม การใช้สอยพื้นที่ในพื้นที่ภายนอกอาคารของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และปัญหาในการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารของผู้สูงอายุ โดยทำการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่พักอาศัยภายในสถานสงเคราะห์ ซึ่งไม่รวมผู้สูงอายุที่มีอาการหลงหรือหูตึง หรือป่วยหนักจนไม่มีความสามารถในการใช้พื้นที่ภายนอกได้ด้วยตัวเอง โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 104 คน และทำการสังเกตการใช้งานจริงภายในสถานสงเคราะห์ โดยจดบันทึกการทำกิจกรรมในแต่ละชั่วโมงของผู้สูงอายุภายในโครงการ เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 77.3 ปี ส่วนใหญ่มีสภาพโสด ระดับการศึกษาต่ำกว่า ป.4 โรคและอาการเจ็บป่วยที่เป็นมากที่สุดคือ ปวดข้อหรือกระดูก ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดิน คือ ร้อยละ 27.9 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่บอกว่าปัจจุบันรู้สึกมีความสุขดี และรู้สึกว่าชีวิตดีขึ้น ตั้งแต่มาอยู่ที่สถานสงเคราะห์ อยู่ในสถานสงเคราะห์มา 0-5 ปี ด้านการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีงานอดิเรกส่วนใหญ่ คือ ทำงานฝีมือ การใช้พื้นที่ภายนอกอาคาร ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะออกมาใช้เป็นประจำทุกวันหรือ 2-3 วันต่อครั้ง จากการศึกษาพบว่าความถี่ในการออกมาใช้พื้นที่ภายนอกอาคารมีความสัมพันธ์ปัจจัยดังนี้ ได้แก่ ภูมิลำเนาเดิม, ระดับการศึกษา, การใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดิน, สภาพจิตใจในปัจจุบัน, ชั้นที่ผู้สูงอายุพัก, งานอดิเรก, กิจกรรมของสถานสงเคราะห์ที่ผู้สูงอายุร่วม และความคิดเห็นเรื่องห้องพักของผู้สูงอายุ เวลาที่ออกมาใช้พื้นที่ภายนอกอาคาร คือ ในช่วงเช้าเวลา 6.00-8.00 น. กิจกรรมที่สำคัญในช่วงเวลานี้คือ การรำไทเก็ก รองลงมา คือ ในช่วงเย็น เวลา 16.00-19.00 น. ซึ่งตรงกับผลการสังเกตการณ์ที่พบว่ามีการใช้งานพื้นที่ภายนอกเวลา 7.00-8.00 น. มากที่สุด บริเวณที่ออกมาใช้บ่อยที่สุด คือ บริเวณที่นั่งริมสระน้ำ ส่วนใหญ่ออกไปทำธุระภายนอกสถานสงเคราะห์ 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ ในความคิดเห็นเรื่องห้องพักผู้สูงอายุมีความพึงพอใจเป็นส่วนใหญ่ โดยพบว่ารูปแบบอาคารมีผลต่อความคิดเห็นเรื่องแสงสว่างและการระบายอากาศ และผู้สูงอายุในอาคารที่ตั้งอยู่ติดเขตที่ดินของสถานสงเคราะห์ จะมีปัญหาเสียงรบกวนจากพื้นที่ข้างเคียง ในความคิดเห็นเรื่องพื้นที่ภายนอกอาคารมีความพึงพอใจเป็นส่วนใหญ่en
dc.description.abstractalternativeThe Bangkhae Home for the Aged currently has 228 residents. It is located on Petkasem Road, Bangkhae Pasrijarearm, in a middle- high density residential zone with public utilities. Bangkhae Home for the Aged is 1 among 7 homes for the aged under the responsibility of the Department of Social Development and Welfare, The Ministry of Social Development and Human Security. The objectives of this research are to study the utilization of outdoor space in Bangkhae Home for the Aged and the problems in the utilization of outdoor space by interviewing the elderly who live in the home. Those chosen for interviews did not include those suffering from dementia or the deaf which are obstacles to such interviews. Those who were unable to use the outdoor space by themselves due to serious illness were also not included. The researcher was able to interview 104 residents. Another area of this research was observation of the outdoor space by recorded the activities of the elderly, officials and others's every hour. The study showed that 80.8 percent of the sample are women, the average age was 77.3 years old, mostly single and having been resident living in Bangkok before moving in to Bangkhae Home for the Aged. Also, the average resident was non-educate - grade 4, suffered from 1 disease especially bone and joint diseases, 27.9 percent use equipment to help them walk, most of them feel happy and the overall aspects of their life were improving after they moved here. Most have lived in the home for 0-5 years, their last residences being single houses. In the study regarding activity, it was found that most of the sample who have hobbies favour embroidey. Most of the sample use the outdoor space everyday or every 2-3 days. Factors that relate to the frequency of outdoor use are the place of the subject's last residence, education, use of walking equipment, mental health, location of bedroom, hobbies, participation activities and comments about bedroom. The peak hours of outdoor use are 6.00-8.00 a.m. which is the time of dailyTai-Chi and the second peak hours are 4.00-7.00 p.m. These findings match the peak hour in 7.00-8.00 a.m. from the observation study. The most frequent use of the outdoor spot is a bench around the central pond. Most of the sample go out 2-3 times per week. Most of the sample are satisfied with their bedroom and outdoor space in the Bangkhae Home for the Aged. The study of comments about the bedroom found that the building characteristics related to the comments regarding light and ventilation and most of the residents in the building located near the boundary line commented about noise pollution.en
dc.format.extent13834380 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.533-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแคen
dc.subjectผู้สูงอายุ--ที่อยู่อาศัยen
dc.subjectการออกแบบสถาปัตยกรรมen
dc.titleการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาสถานสเคราะห์คนชราบ้านบางแค กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeUtilization of outdoor space in elderly housing project : a case study of Bangkhae Home for the aged, Bangkok Metropolisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเคหการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTrirat.j@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.533-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weeraya.pdf14.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.