Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23366
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ | |
dc.contributor.author | ชูชัย สมิทธิไกร | |
dc.date.accessioned | 2012-11-08T03:53:11Z | |
dc.date.available | 2012-11-08T03:53:11Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745615668 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23366 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาและสำรวจความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของบุคคล ตามตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ได้แก่ ภูมิภาค สภาพความเป็นเมือง สถานภาพ เพศ ศาสนา และอาชีพหลักของครอบครัว และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมกับการประเมินความถูกต้องของพฤติกรรมต่อตนเอง ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง จากภูมิภาคต่างๆ 5 ภาค คือ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ทั้งสิ้น 2,834 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และมาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเอง ซึ่งคณะวิจัย ภาควิชาจิตวิทยา สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวทฤษฏีเจตคติของฟิชไบน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1.พฤติกรรมต่อตนเองที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี ถูก และควรอย่างมาก ได้แก่ การมีความขยันหมั่นเพียร การมีวินัยในตนอง การรู้ตัวไม่ประมาท การรักษาสุขภาพ การตั้งมาตรฐานของตนเอง การปรับปรุงตนเอง การมีความรู้สึกภาคภูมิใจ การระงับความอยาก การสำรวจตนเอง และการมีความเชื่อมั่นในตนเองรวมทั้งสิ้น 10 พฤติกรรม ส่วนพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ผิด และไม่ควรอย่างมาก คือการลุ่มหลงอบายมุข สำหรับการปรุงแต่งร่างกายและการไม่ควบคุมอารมณ์ เป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร 2. ตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวแปร มีผลต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ในระดับมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05ขึ้นไป) โดยที่สถานภาพ ภูมิภาค และสภาพความเป็นเมือง เป็นตัวแปรที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดเรียงกันตามลำดับ และศาสนาเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 บุคคลในภูมิภาคต่างๆคือ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 16 พฤติกรรม (p<.05ขึ้นไป) 2.2 บุคคลในเขตกรุงเทพฯชั้นใน กรุงเทพฯชั้นนอก อำเภอเมือง และอำเภอชนบท มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 15 พฤติกรรม (p<.05ขึ้นไป) 2.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 19 พฤติกรรม (p<.05ขึ้นไป) 2.4 เพศชายและเพศหญิง มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 10 พฤติกรรม (p<.05 ขึ้นไป) 2.5 บุคคลผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงพฤติกรรมเดียว (p<.01) 2.6 บุคคลจากครอบครัวที่มีอาชีพรับราชการ ธุรกิจการค้า ผู้ใช้แรงงาน และลูกจ้างเอกชน มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 14 พฤติกรรม (p<.05 ขึ้นไป) 3. ความแตกต่างกันในความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของกลุ่มต่างๆ จำแนกตามตัวแปรอิสระ เป็นความแตกต่างกันในระดับปริมาณเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามทุกกลุ่มต่างก็มีทิศทางของความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมที่สอดคล้องไปในแนวเดียวกัน 4.กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความปรารถนาต่อผลการกระทำทั้ง 7 ลักษณะในระดับสูง และมีการจัดลำดับดังนี้คือ ความสำเร็จในชีวิตการงาน ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นผลดีต่อสังคม ความสุขสบายใจ ความเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของผู้อื่น ความรู้สึกมีค่าและภาคภูมิใจในตนเอง และความมั่งมีในทรัพย์สินเงินทอง 5. ความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมกับการประเมินความถูกต้องของพฤติกรรมต่อตนเองของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก กล่าวคือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการจัดอันดับพฤติกรรม มีค่าเท่ากับ 0.94 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was (1) to survey and investigate existing moral cognition concerning self-directed behaviors of pupils, teachers and parents, (2) to study moral cognition concerning self-directed behaviors according to six independent variables: region, residental area, status, sex, religion, and occupation of family, and (3) to study the correlation between moral cognition and evaluation of self-directed behaviors of pupils, teachers and parents. Data were collected from 2,834 subjects including pupils in Pathomsuksa 6, Mathayom 3, Matbayomsuksa 5, teachers and parents from the five regions of Thailand i.e. Bangkok, Central, Northern, Southern and Northeasthern by multi-stage sampling. The research instruments were questionaires for biographical data and the Moral Cognition Scale: Self-Directed Behaviors. The procedures of data analysis were the one-way analysis of variance and the multiple comparison by Scheffe's method. Findings: 1. The self-directed behaviors according to the subjects' moral cognition which were rated as very good and proper were diligent, self-discipline, vigilance, health-care, setting standards for oneself, self-adjustment, self-pride, restraint in desire, self-exploration, and self-confidence, altogether 10 behaviors. The self-directed behavior according to the subjects' moral cognition which was rated as very bad and improper was vice addiction. Body-decoration and the inability to control emotions were behaviors on which no agreement on right and wrong could be reached. 2. The six independent variables significantly affected moral cognition concerning self-directed behaviors of subjects ( p <. 05 and beyond). The variables which showed a highest degree of significance were status, region and residental area respectively, and the variable which was least significant was religion, as outlined below: 2.1 There was a significant difference in moral cognition concerning self-directed behaviors for 16 behaviors, among subjects from Bangkok, the Central, Northern, Southern and Northeasthern regions (p<.05 and beyond). 2.2 There was a significant difference in moral cognition concerning self-directed behaviors for 15 behaviors, among subjects from the Inner Bangkok, the suburbs, from the Amphoe Muang and Amphoe in the rural areas (p<.05 and beyond). 2.3 There was a significant difference in moral cognition concerning self-directed behaviors for 19 behaviors, among Pathomsuksa 6 pupils, Mathayom 3 pupils, Mathayomsuksa 5 pupils, teachers and parents (p<.05 and beyond). 2. 4 There was a significant difference in moral cognition concerning self-directed behaviors for 10 behaviors, between male and female subjects (p<.05 and beyond). 2.5 There was a significant difference in moral cognition concerning self-directed behaviors for one behavior, among Buddhist, Islam and Christian (p<.01). 2.6 There was a significant difference in moral cognition concerning self-directed behaviors for 14 behaviors, among subjects from families who were in the civil service, business, workers or employees (p<.05 and beyond). 3. The difference in moral cognition concerning self-directed behaviors of subjects according to the six independent variables were only quantitative differences; however they had the same direction. 4. As for the seven types of consequences of one's own behaviors, all subjects perceived them as highly desirable according the following order: success in life and occupation, security in life and property, good effects to the society, happiness, esteem and praise by others, self-esteem and wealthy. 5. Moral cognition of pupils, teachers and parents was highly correlated to evaluation of behaviors. The rank-order correlation coefficient was 0.94. | |
dc.format.extent | 646624 bytes | |
dc.format.extent | 1999895 bytes | |
dc.format.extent | 830731 bytes | |
dc.format.extent | 1468923 bytes | |
dc.format.extent | 1757480 bytes | |
dc.format.extent | 389742 bytes | |
dc.format.extent | 1054420 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง | en |
dc.title.alternative | Moral cognition concerning self-directed behaviors of pupils, teachers and parents | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chuchai_Sm_front.pdf | 631.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuchai_Sm_ch1.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuchai_Sm_ch2.pdf | 811.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuchai_Sm_ch3.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuchai_Sm_ch4.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuchai_Sm_ch5.pdf | 380.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuchai_Sm_back.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.