Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2338
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย | - |
dc.contributor.author | พชระ พิพัฒนโยธะพงศ์, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | - |
dc.coverage.spatial | กาฬสินธุ์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-05T05:06:37Z | - |
dc.date.available | 2006-09-05T05:06:37Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741771061 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2338 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาการจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิธีการจัดการแหล่งพักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่มีที่พักแบบโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และศึกษาสภาพทั่วไปในปัจจุบันของแหล่งที่พักอาศัยที่มีวัฒนธรรมเฉพาะของชุมชนที่เป็นที่พักแบบโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกำหนดขอบเขตของพื้นที่ศึกษาในหมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้กำหนดกรอบในการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการกระบวนการ และรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยว รวม 6 ด้าน ได้แก่ การจัดการองค์การ การจัดการด้านกายภาพ การจัดการด้านการตลาด การจัดการด้านการเงิน การจัดการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มประชากรในการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ (1) กลุ่มเจ้าของแหล่งพักอาศัยที่เป็นโฮมสเตย์ในปัจจุบัน จำนวน33 หลัง (2) กลุ่มเจ้าของแหล่งพักอาศัยที่เคยเป็นโฮมสเตย์ จำนวน 2 หลัง (3) กลุ่มเจ้าของแหล่งพักอาศัยที่ไม่ได้เป็นโฮมสเตย์ จำนวน 95 หลัง (4) กลุ่มผู้นำชุมชน และ (5) กลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างของกลุ่มประชากรที่ (1) ถึง (4) นับเป็นจำนวนร้อยละ 100 และในกลุ่มตัวอย่างที่ (5) ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547 กุมภาพันธ์ 2548 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 65 คน แต่ตอบแบบสอบถามเพียง 51 คน คิดเป็นร้อยละ 78.5 ในการศึกษาได้ออกแบบสอบถามจำนวน 4 แบบ โดยแบบสอบถามที่ 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ของเจ้าของบ้าน ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (1) แบบสอบถามที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับความคิดเห็นของชุมชนในการจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (1) (2) และ (3) และแบบสอบถามที่ 3 เกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในการจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ในหมู่บ้านโคกโก่ง ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (5) และแบบสอบถามที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (4) นอกจากนี้ ยังมีการเก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกต และการบันทึกภาพร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่า สภาพทั่วไปในหมู่บ้านโคกโก่ง ได้เปิดโฮมสเตย์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2547) นับเป็นเวลา 6 ปี มีรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีที่พักแบบโฮมสเตย์ มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและการปฏิบัติ สภาพทั่วไปในหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านชนบท ที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณี เป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทย และดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร พื้นที่ในหมู่บ้านร้อยละ 90 ใช้ทำนา แหล่งพักอาศัยส่วนใหญ่เป็นอาคารครึ่งอิฐครึ่งไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง เช่นเดียวกับบ้านโดยทั่วไปในภาคอีสาร ในหมู่บ้านมีวัดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และชาวบ้านมีชีวิตผูกพันกับป่าและภูเขา ซึงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ การจัดการการท่องเที่ยวในหมู่บ้านโคกโก่งพบว่า (1) มีการจัดการองค์การแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ชุมชนให้ความร่วมมือ และพอใจในกระบวนการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน แต่มีจุดอ่อน คือ ไม่มีการแบ่งงานให้มีผู้รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และการให้คำปรึกษาของที่ปรึกษาไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (2) การจัดการด้านกายภาพพบว่าหมู่บ้านโคกโก่งไม่มีเอกลักษณ์ทางด้านกายภาพที่ชัดเจนของสถาปัตยกรรมผู้ไทย จึงไม่ได้นำเสนอลักษณะทางกายภาพของผมู่บ้านเป็นจุดเด่นในการท่องเที่ยว มีการจัดการเพียงบำรุงรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของบ้านพักโฮมสเตย์โดยเจ้าของบ้านเป็นผุ้ดำเนินการ ส่วนใหญ่สามารถทำได้เรียบร้อย และนักท่องเที่ยวพอใจ (3) การประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการเองโดยชุมชนในปัจจุบัน ยังไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวน้อย จึงต้อการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว (4) ชุมชนมีความต้องการเงินทุนสำหรับบำรุงรักษาบ้านพักที่เป็นโฮมสเตย์ และแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน จึงควรให้การสนับสนุนเงินกองทุนเพิ่มเติม สำหรับใช้จ่ายใกนารบำรุงรักษาบ้านพัก และแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว จากเดิมที่มีการจัดการจัดสรรสำหรับกิจกรรมการต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น (5) การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน เน้นการนำเสนอ ด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและวิถีชีวิตของชาวผู้ไทยที่สัมพันธ์กับป่าและภูเขา และควรส่งเสริมให้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเช่น ในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยเพื่อเพิ่มจุดเด่นในกิจกรรมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน (6) ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของชุมชนขึ้นอยู่กับจำนวนที่พักที่ชุมชนสามารถจัดให้นักท่องเที่ยวเข้าพักได้ แต่จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และมีการจัดการขยะและน้ำเสียในหมู่บ้านเพิ่มเติม เพื่อให้รองรับนักท่องเที่ยวได้ตามจำนวนที่พักที่มีอยู่ ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ควรเร่งดำเนินการได้แก่ การจัดให้มีการรวมกลุ่มของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดึงกูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the accommodation management of home stay for ecotourism and to investigate the conditions and environment of the accommodation of a culturally prominent community Ban Khok Kong, Kuchinarai District, Kalasin Province. The study according to the scope of accommodation management: organizing management, physical management, marketing management, financial management, activities management and environmental management. There were 5 groups of samples: (1) 33 home stays (2) 2 ex-home stays (3) 95 normal houses (4) community leader and (5) 51 tourists. The sample groups (1)-(4) are 100%. There were 4 questionnaires for this research. The first questionnaire for group (1) focused on accommodation management of home stay. The second questionnaire for groups (1), (2) and (3) were about community attitude toward community-based tourism. The third questionnaire for group (5) focused on attitudes toward tourist satisfaction, and the fourth questionnaire for group (4) was about community information database. Observation and photography were also used in this research. Results found that Ban Khok Kong was established in 1998 as a community presenting home stay accommodation ecotourism or community-based tourism. Ban Khok Kong has retained much of its rural culture. Most people are farmers and 90% of the land is used for farming. Most accommodation use mixed materials with timber and brick and are one-story houses on stilts the same as normal rural Isan homes. There is only one Buddhist temple in the village, and it is used for many activities. The villagers depend on the forest and mountains as sources for food and water. Result its also found that (1) Ban Khok Kong offers community-based tourism and managed is through participation public where the community agrees to follow sustainable tourism management. The weakness is no one controls tourism promotion activities and they have no contact with consultants. (2) The structures of Ban Khok Kong have no identity and so this is not a selling point for tourism. Furthermore is just cleaning and maintenance by a host. (3) Promotion managed by the community doesn’t reach it’s target group ; thus, there is a lack of tourists. Support by related institutes is needed to reach target groups and increase the number of tourists. (4) The community needs funding to maintain home stays and tourist attractions. Furthermore, they need support in tourism entertainment activities. (5) The community’s tourism activities now only present the community’s culture and lifestyle with the forest and mountains. (6) Capacity depends on the quantity of accommodation and it is necessary to consider the environment, rubbish and waste water management. It recommended the communities in the area cooperate to offer more and varied activities. | en |
dc.format.extent | 2264888 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.514 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การท่องเทียวเชิงนิเวศ | en |
dc.subject | โฮมสเตย์ | en |
dc.subject | หมู่บ้านโคกโก่ง (กาฬสินธุ์) | en |
dc.title | การจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ | en |
dc.title.alternative | Accommodation management of home stay for ecotourism : a case study of Phuthai cultural village of Ban Khok Kong, Kuchinarai District, Kalasin Province | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เคหการ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Saowaluck.Su@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.514 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Potchara.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.