Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23444
Title: | แนวทางการออกแบบพระอุโบสถ : กรณีศึกษา วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Design guidelines for Buddhist temple : a case study of Wat Sao Thong Tong, Lop Buri Province |
Authors: | พิสิฐ พินิจจันทร์ |
Advisors: | ภิญโญ สุวรรณคีรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | โบสถ์ -- ไทย -- ลพบุรี -- การออกแบบ โบสถ์ -- การออกแบบ วัดเสาธงทอง (ลพบุรี) -- การออกแบบ Buddhist temples -- Thailand -- Lop Buri -- Design Buddhist temples -- Design Wat Sao Thong (Lop Buri) -- Design |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี เป็นวัดที่สถาปนาขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่ง กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2199-พ.ศ. 2231)มีที่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางเมืองลพบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปรากฏ หลักฐานทางสถาปัตยกรรมหรือโบราณสถาน ทีถูกสร้างขึ๋นในยุคสมัยเดียวกันอีกหลายแห่ง ทั้งนี้ เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังเมืองลพบุรี เป็นช่วงระยะเวลานาน นอกจากจะทรงสร้างพระราชวังที่ประทับในเมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ มหาราชยังทรงบูรณะ ปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่มีอยู่เดิม และทรงสถาปนาพระอารามขึ้นใหม่ในรัช กาลของพระองค์ ในปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิปากรและมีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา รวมถึงพระอุโบสถวัดเสาธงทองที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ใน การศึกษาครั้งนี้นอกจากจะทำการศึกษาและออกแบบพระอุโบสถและอาคารประกอบในวัดเลาธง ทองแล้ว จะทำการปรับปรุงผังบริเวณวัดขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัดใน ปัจจุบัน ดังจะได้กล่าวในบทต่อไป งานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลด้านเอกสารและข้อมูลจากการรังวัดในสถานที่จริงเป็นหลัก โดยอาคารที่จะทำการศึกษาจะเน้นอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยลมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ ปรากฏอยู่ในเขตเมืองลพบุรี จำนวน 12 อาคาร จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุป ซึ่งจากการศึกษาจะพบว่าอาคารต่างๆ ในเขตเมืองลพบุรี มีลักษณะทาง สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ของพื้นที่ซึ่งเกิดจากการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของชาวต่างชาติ อย่างมากในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และล่งผลกระทบมาถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม อันเกิดจากความร่วมมือของซาวต่างชาติเหล่านั้น เมื่อได้ผลสรุปของรูปแบบ สถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ในเขตเมืองลพบุรีแล้ว จะมีการนำมาใช้ในการออกแบบ พระอุโบสถวัดเสาธงทอง เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประวัติศาสตร์และรูปแบบสถาปัตยกรรมหรือ โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเขตเมืองลพบุรี |
Other Abstract: | Wat Sao Thong Tong in Lop Buri Province was established during the reign of King Narai the Great of the Ayutthaya Period ( 1956 - 1688)and is located in the center of the province where architectural evidence from the same period has been found. The king preferred to stay in his palace, his favorite retreat, in Lop Buri Province for quite a long period at one time. addition to his palace, he also renovated many important buildings and established a temple. At present, those buildings have been registered as historical sites by the Department of Fine Arts and are in a deteriorating condition through time. The assembly hall of Wat Sao Thong Tong, where there are monks staying, is in the same condition. This research aims to study and redesign the assembly hall and its peripheral buildings and to redesign the plan of the temple to solve the existing problems arising in the temple. This research was mainly based on documents and information obtained from the actual survey of the sites. The 12 case study buildings are those built during the reign of King Narai the Great and located in the Muang District. All the data was analyzed and compared in order to make conclusions. It is found that those buildings are unique artistically and in their architectural style, resulting from the political influence of foreigners coming into Ayutthaya during that period. The architectural characteristics during such time were used to design the assembly hall of Wat Sao Thong Tong so that it was in line with the neighboring buildings of the same period. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23444 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.104 |
ISBN: | 9741750579 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.104 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pisit_pin_front.pdf | 7.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_ch1.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_ch2.pdf | 8.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_ch3.pdf | 16.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_ch4.pdf | 19.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_ch5.pdf | 12.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_ch6.pdf | 13.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_pin_back.pdf | 985.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.