Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23452
Title: | การประกอบสร้างเชิงสังคมของอารมณ์ขันในรายการตลกสถานการณ์ทางโทรทัศน์ไทย |
Other Titles: | Social construction of humour in Thai sitcom |
Authors: | วิทยา พานิชล้อเจริญ |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@Chula.ac.th |
Subjects: | รายการโทรทัศน์ อารมณ์ขัน หัสนิยาย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การประกอบสร้างเชิงสังคมของอารมณ์ขันในรายการตลกสถานการณ์ทางโทรทัศน์ไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของกระบวนการประกอบสร้างอารมณ์ขันทางสังคมของรายการตลกสถานการณ์ไทย การเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหารายการในการประกอบสร้างอารมณ์ขันทางสังคมของรายการตลกสถานการณ์ไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 และการนำเสนอความตลกในการประกอบการสร้างอารมณ์ขันทางสังคมของรายการตลกสถานการณ์ไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 ผลการศึกษาพบว่า จุดเปลี่ยนที่สำคัญและมีผลต่อพัฒนาการของพัฒนาการของกระบวนการประกอบสร้างรายการตลกสถานการณ์ไทย เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2539 เมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้นักแสดงตลกอาชีพหรือตลกคาเฟ่ เข้ามาส่วนบทบาทเป็นตัวละครหลัก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติ คือ 1.รูปแบบรายการที่เดิมเป็นพื้นที่ของชนชั้นกลางได้เปิดให้ชนชั้นล่างเข้าร่วมใช้พื้นที่ 2.ได้มีการผสมผสานวิธีการนำเสนออารมณ์ขันของชนชั้นล่างกับชนชั้นกลางขึ้น และ 3.มีการขยายฐานผู้ชมจากชนชั้นกลางขยายสู่ชนชั้นล่าง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้รายการตลกสถานการณ์ตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 ที่ใช้แนวทางดังกล่าว ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จและถูกเผยแพร่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหา พบว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 ความขัดแย้งของเนื้อหาในรายการตลกสถานการณ์มีความหลากหลายขึ้น ในขณะที่โครงเรื่องในรายการตลกสถานการณ์ไทย ก่อนและตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 นั้น ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องประเภทที่พบ แต่แตกต่างกันในเรื่องระดับ ในการนำโครงเรื่องมานำเสนอ และพบว่า รายการตลกสถานการณ์ตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 นั้น มีการนำเสนอตัวละครที่เป็นตัวพระตัวนางมากขึ้น มีการใช้นักแสดงตลกอาชีพมาสวมบทตัวละครมากขึ้น และมีการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นศูนย์กลางในการเล่าเรื่องมากขึ้น และมีการใช้พื้นที่ปริมณฑลชนบทเป็นท้องเรื่องของสถานการณ์มากขึ้น การนำเสนอความตลกพบว่า รายการตลกสถานการณ์หลังปีพ.ศ.2545 มีการนำเสนอความตลกแบบตลกโปกฮามากกว่าตลกชวนหัว และคู่ความสัมพันธ์ทางสังคมส่วนใหญ่จะใช้ความตลกตามกลไกของเรื่องเป็นหลักในการเสนอความตลก |
Other Abstract: | The objectives of this research “Social Construction of Humour in Thai Sitcom” are to study 1) the development of social construction process of humour in Thai situational comedy programmes; 2) the content shift in humour construction since 2002; and 3) the comedy presentation relating to social construction of humour in Thai situational comedy programmes since 2002. Results show that the significant turning point that affected such development was in 1996, when opportunities were opened to professional comedians or the so-called “lounge comedians” to take key roles in Thai situational comedy TV programmes. This has brought about changes in three dimensions. First, the programme content and format, which were once occupied by the middle class, have been opened to the lower class. Second, there has been a combination of humour styles of the lower and the middle classes. Third, the audience base has been expanded from the middle class to the lower one. These changes led to the fact that most of the situational comedies produced in such manner since 2002 have become successful and been aired continuously for quite a long time. In terms of content shift, since 2002, there have been more varieties of conflicts in the sitcoms’ content. Meanwhile, the plots of Thai sitcoms, either before or after 2002, showed no difference in their “kind”, but in the “degree” to which the plots were presented. Furthermore, since 2002, Thai sitcoms have featured more protagonist actors / actresses and more professional comedians. More public spaces or places have been used as a centre of narration. The situations have taken place more in the suburb and rural surroundings. The study further reveals that, in expressing humour through the show, Thai sitcoms produced after 2002 have been inclined towards being a “farce” rather than a “comedy”. Moreover, most social interaction pairs in the sitcoms have been dominantly presented through the plot device. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23452 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1817 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1817 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vithaya_pa.pdf | 10.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.