Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23473
Title: | การรับรู้บทบาทการเป็นมารดาของหญิงมีครรภ์ |
Other Titles: | Pregnant women's perception of maternal roles |
Authors: | มณีรัตน์ ภาคธูป |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การเป็นมารดา สตรีมีครรภ์ Motherhood Pregnant women |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาของหญิงมีครรภ์ โดยคำนึงถึงตัวแปรดังนี้ คือ อายุครรภ์ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ ตัวอย่างประชากรเป็นหญิงมีครรภ์ ครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ การรับรู้บทบาทการเป็นมารดาของหญิงมีครรภ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบวัดได้ 0.80 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกเป็น สถานภาพของผู้ถูกสัมภาษณ์ แจกแจงเป็นร้อยละ คำนวณคะแนนรวมการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาแต่ละด้านเป็นรายข้อ เปรียบเทียบการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาในหญิงที่มีอายุครรภ์ต่างกัน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาในหญิงที่มีอายุต่างกันร่วมกับระดับการศึกษาต่างกัน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิด 2 ทาง และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างคู่โดยการทดสอบค่าคิว (q-statistics) ของนิวแมน คูลส์ (Newman Keuls test) และเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาของหญิงมีครรภ์ที่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ต่างกัน โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (X-bar) และหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายข้อของแต่ละด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี 2) หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ต่างกัน มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ พบว่าหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ดีกว่าหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในระยะที่ 1 ของการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในระยะที่ 3 ของการตั้งครรภ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ดีกว่าหญิงที่มีอายุครรภ์อยู่ในระยะที่ 1 ของการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ส่วนหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในระยะที่ 2 และที่ 3 ของการตั้งครรภ์มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาไม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้สนองสมมติฐานที่ว่า หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ต่างกัน มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาต่างกัน 3) การรับรู้รวมของหญิงมีครรภ์ที่มีอายุต่างกันกับระดับการศึกษาต่างกัน หญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 20 ปี และต่ำกว่า อายุ 21-30 ปี อายุ 31 ปี และสูงกว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาโดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสนองสมมติฐานข้อ 2 ที่ว่า หญิงมีครรภ์ที่มีอายุต่างกันมีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาต่างกัน และเมื่อนำมาทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างคู่ พบว่า หญิงมีครรภ์อายุ 31 ปี และสูงกว่า มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาดีกว่าหญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 20 ปี และต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 21-30 ปี มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดากว่าหญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 20 ปี และต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนหญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 21-30 ปี และกลุ่มอายุ 31 ปี และสูงกว่า มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาไม่แตกต่างกัน หญิงมีครรภ์ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาโดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมติฐานข้อ 3 ที่ว่า หญิงมีครรภ์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาต่างกัน และเมื่อนำมาทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างคู่ พบว่า หญิงมีครรภ์ที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษามีการรับรู้ดีกว่าหญิงมีครรภ์การศึกษาประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หญิงมีครรภ์ที่มีระดับการศึกษาอุดมศึกษา มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาดีกว่าหญิงมีครรภ์ระดับประถมศึกษาอย่างมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนหญิงมีครรภ์ระดับการศึกษามัธยมศึกษา และอุดมศึกษา มีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาไม่แตกต่าง การรับรู้บทบาทการเป็นมารดาของหญิงมีครรภ์ในกลุ่มอายุต่างๆ ในแต่ละระดับการศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4 ที่ตั้งไว้ 4) การรับรู้บทบาทการเป็นมารดาของหญิงมีครรภ์ที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์ในทางบวก กับหญิงมีครรภ์ที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์ในทางลบ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 5 ที่ตั้งไว้ แสดงว่าหญิงมีครรภ์ที่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ต่างกันมีการรับรู้บทบาทการเป็นมารดาไม่ต่างกัน ผู้วิจัยได้เสนอแนะการปฏิบัติการพยาบาล โดยอาศัยผลการวิจัยครั้งนี้ด้วย |
Other Abstract: | To study pregnant women's perception of maternal roles in Bangkok and to compare such perception of pregnant women with different gestation period, ages and education level. The research samples were า80 pregnant women selected from 3 hospitals in Bangkok Metropolis by purposive random sampling. The questionnaire developed by the researcher, was used in the interview. The validity of this instrument was tasted by 11 experts. The reliability was tasted by coefficient procedure which was 0.80. The researcher gathered data by interviewing all subjects herself. The gathered data were analyzed by using the following statistical procedures, percentage, arithmetic mean, standard deviation, one way analysis of variance, two way analysis of variance and t-test. The data analysis indicated the following conclusions 1. Pregnant women hold the good level of the perception of maternal roles. 2. The level of such perception of the pregnant women in the third trimester and in the second trimester was signi¬ficantly higher, at the .05 level, than that of the subjects in the first trimester. However, there was no significant difference between such perception of those pregnant women in the third trimester and those in the second trimester, 3. The level of the perception of maternal roles, of the pregnant women who were 31 years of age and above and those who were 21-30 years of age were significantly higher, at the .01 level, than that of the women who were 20 years of age and lower. Nevertheless, there was no significant difference between such perception of those pregnant women who were 31 years of age and those who were 21-30 years of age. 4. The level of the perception of maternal roles of pregnant women who had higher education and secondary educa¬tion were significantly higher, at the .01 level1than that of the samples who had the primary education. However, there was no significant difference between such perception of those pregnant women who had higher education .and secondary education. 5. There was no significant interaction between the two variables, ie. age and education level, on the perception of maternal roles of the pregnant women. 6. There was no significant difference, at the .05 level, in the level of perception of maternal roles between the women who had negative experience in the past pregnancy and those who had positive experience. The researcher draw several nursing implications from the findings of this study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23473 |
ISBN: | 9745626856 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Maneerat_Ph_front.pdf | 594.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ph_ch1.pdf | 688.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ph_ch2.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ph_ch3.pdf | 529.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ph_ch4.pdf | 860.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ph_ch5.pdf | 943.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ph_back.pdf | 927.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.