Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23476
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สืบแสง พรหมบุญ | - |
dc.contributor.author | มณีรัตน์ แย้มประเสริฐ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-08T18:08:09Z | - |
dc.date.available | 2012-11-08T18:08:09Z | - |
dc.date.issued | 2520 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23476 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาบทบาทของเสนาบดีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์การปกครอง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นยุคที่เสนาบดีมีบทบาทและอำนาจในการบริหารประเทศมากกว่ายุคใดๆ และเสนาบดีที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ด้วยเหตุนี้ การศึกษาบทบาทของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจสถานการณ์ทางการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6 ในการวิจัยนี้ ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาทและความเป็นผู้นำของเจ้าพระยายมราชในการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยการศึกษาผลงานสำคัญๆ ของท่าน โดยจะแบ่งเนื้อเรื่องในการศึกษาเป็นภาคต่างๆ ดังนี้ คือ ภาคที่ 1 เป็นการกล่าวถึงประวัติของเจ้าพระยายมราช ในลักษณะที่เน้นถึงแนวทางการก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ซึ่งจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น บุคลิกภาพและความสามารถของท่านเอง การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ และโอกาสที่เหมาะสม ภาคที่ 2 เป็นการศึกษาบทบาททางด้านการเมืองการปกครอง โดยแบ่งเป็น 4 บท ตามลักษณะของเนื้อเรื่อง คือ บทบาทในการรักษาความสงบสุขภายใน ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง กฎหมาย ระเบียบการต่างๆ รวมทั้งแนวความคิดหรือทัศนคติของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่อความสงบสุขของบ้านเมือง การปรับปรุงกิจการตำรวจ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการรักษาความสงบสุขภายใน การจัดการปกครอง จะศึกษาในประเด็นหลัก คือ การจัดระเบียบงานกระทรวงการจัดการปกครองท้องที่ชั้นในมณฑลกรุงเทพ และการจัดการปกครองหัวเมือง ในลักษณะของบทบาทและแนวนโยบาย การจัดการสุขาภิบาล มุ่งศึกษาเฉพาะประเด็นสำคัญ คือ การแก้ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอย การจัดตั้งโรงไฟฟ้าสามเสนและการจัดทำประปา ภาคที่ 3 เป็นการศึกษาบทบาททางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยแบ่งเป็น 2 บท คือ บทบาททางด้านเศรษฐกิจ ในฐานะกรรมการกำกับตรวจตราข้าว และกรรมการสภาการคลัง บทบาททางด้านสังคม คือ การจัดการศึกษาภาคบังคับในมณฑลกรุงเทพ แม้ว่าท่านสนับสนุนพัฒนาการทางการศึกษา แต่ท่านไม่เห็นด้วยกับการจัดการศึกษาภาคบังคับโดยการเก็บเงินศึกษาพลีจากราษฎร ด้วยเหตุผลว่า เป็นการเพิ่มความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ท่านถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะให้บริการทางการศึกษา โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้น ภาคที่ 4 เป็นการสรุปผลที่ได้จากการศึกษา พร้อมทั้งข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะ แนวความคิด และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เจ้าพระยายมราชมีอิทธิพลสูงสุดทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 6 ผลงานของเจ้าพระยายมราชส่วนใหญ่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินและเป็นผลดีต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากว่าเจ้าพระยายมราชเป็นบุคคลที่ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อ เมื่อพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่ท่านเคยคิดหรือเชื่อนั้นไม่ถูกต้อง ท่านมิใช่คนที่ถือทิฐิในสิ่งที่จะเป็นผลเสียต่อส่วนรวม แม้ว่าท่านจะเป็นคนเข้มแข็งและเด็ดขาด แต่ในความเด็ดขาดนั้น ท่านก็มีเหตุผล ในการปฏิบัติราชการท่านพร้อมที่จะปฏิบัติตาม “มติของเสียงข้างมาก” ในที่ประชุม ดังจะเห็นได้จากบทบาทของท่านในฐานะกรรมการกำกับตรวจตราข้าว และในฐานะกรรมการสภาการคลัง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาบทบาทของเจ้าพระยายมราช นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “คุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ” ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผลดีต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | To study the role of a cabinet minister, Chao Phya Yommaraj, during the reign of King Rama VI of the Ratanakosin period. . During this particular period, the cabinet ministers enjoyed more power and played a more influential adminis¬trative role. Therefore, it is hoped that a careful study of an influential and highly' respected cabinet minister like Chao Phya Yommaraj will help give some light on the history of Thai political administration. In investigating the role and leadership of Chao Phya Yommaraj, emphasis will be focused on his works and accomplishments. This study comprises four main parts as follows : Part I deals with the biography of Chao Phya Yommaraj, with emphasis on factors responsible for his rise to the highest political order, for example? personality, ability, opportunity, and patrons. Part II analyzes Chao Phya Yommaraj’s administrative role. It is divided into four main chapters namely? 1. His role in keeping internal peace which deals with law and regulation reforms, concepts and attitude re-orientation. 2. Police reforms. 3. Administrative reforms which emphasize working efficiency within the ministry and local administration reforms both within Bangkok province and other provinces. 4. Public utility administration which primarily concerns his contribution to the solution of sanitation, electricity, and water supply problems. Part III focuses on his economic and social role and is divided into two parts; 1. The economic role when he served as a member in the Rice Control Committee and the Financial Council Board. 2. The social role which mainly concentrates on his opposi¬tion to the compulsory education program in which the government tried to impose some tuition fees. He disagreed with this idea and insisted that the government must bear all the costs for compulsory education. Part IV contains the summary and conclusion with some critical remarks and comments. In summary, Chao Phya Yommaraj contributed a great deal to the improvement of the nation’s administration and the well-being, of the Thai people. He was truly a real statesman in his own right. Although quite resolute and strong in character, he was willing to listen to others opinion and to follow the majority. He was a humble, honest, and dedicated man who used his ability and initiative to serve his country. | - |
dc.format.extent | 856842 bytes | - |
dc.format.extent | 1014187 bytes | - |
dc.format.extent | 2794911 bytes | - |
dc.format.extent | 1172536 bytes | - |
dc.format.extent | 2312012 bytes | - |
dc.format.extent | 1959439 bytes | - |
dc.format.extent | 1713692 bytes | - |
dc.format.extent | 1026846 bytes | - |
dc.format.extent | 1098134 bytes | - |
dc.format.extent | 2483006 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ยมราช (ปั้น สุขุม), เจ้าพระยา, 2405-2481 | - |
dc.subject | การบริหารรัฐกิจ -- ไทย | - |
dc.title | บทบาททางด้านการบริหารราชการแผ่นดินของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | en |
dc.title.alternative | The administrative role of Chao Phya Yommaraj (Pun Sukhum) during the reign of King Vajiravudh | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Maneeratana_Ya_front.pdf | 836.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch1.pdf | 990.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch2.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch3.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch4.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch5.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch6.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch7.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_ch8.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneeratana_Ya_back.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.