Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23483
Title: การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้องที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมความเป็นเอกภาพในการบรรเลงร่วมกันสำหรับนักเปียโน
Other Titles: The development of an instructional model for vocal accompanying courses focusing on the enhancement of the unity of the ensemble performance for pianists
Authors: สยา ทันตะเวช
Advisors: ดนีญา อุทัยสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: noonnin@yahoo.com
Subjects: การแสดงเปียโน
การแสดงเปียโน -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้องที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมความเป็นเอกภาพในการบรรเลงร่วมกันสำหรับนักเปียโน 2) เพื่อศึกษาผลจากการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้อง ซึ่งจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นจำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ในการสร้างความเป็นเอกภาพในการบรรเลงของผู้บรรเลงเปียโนประกอบ 4) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ขับร้องเดี่ยวที่เข้าร่วมการทดลอง 5) สมุดรายงานผลการพัฒนาตนเองด้านทักษะด้านการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้อง และ 6) แบบบันทึกหลังสอน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บรรเลงเปียโนประกอบ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีระดับชั้นปีที่ 1 วิชาเอกเปียโน สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน 2) ผู้ประเมินผล ได้แก่ ผู้ขับร้องเดี่ยวที่ร่วมการทดลอง จำนวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้อง จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องเดี่ยว จำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเลงเปียโนประกอบและการขับร้อง จำนวน 1 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการบรรเลงเปียโนประกอบ และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการสอนการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้องที่มุ่งเน้นความเป็นเอกภาพในการบรรเลงสำหรับนักเปียโน จากนั้นนำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการวัดผลแบ่งออกเป็น1) การวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน ซึ่งได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน 2) การบันทึกผลการเรียนรู้โดยผู้เรียน และบันทึกพฤติกรรมในชั้นเรียนโดยผู้สอน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) รูปแบบการสอนวิชาการบรรเลงเปียโนประกอบการขับร้องที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมความเป็นเอกภาพในการบรรเลงร่วมกันสำหรับนักเปียโน ดังผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านทฤษฎีและบริบทของเพลง การเตรียมความพร้อมด้านทักษะปฏิบัติของตนเอง การบรรเลงรวม และการประเมินผลงาน ซึ่งประกอบด้วยการจัดชั้นเรียนแบบเดี่ยวและกลุ่ม ที่มีวิธีการสอนแบบอภิปราย การสาธิต และการปฏิบัติทักษะ 2) ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการสอน พบว่าผู้เรียนทั้งหมดมีพัฒนาการทางการเรียนที่ดีขึ้น โดยได้คะแนนหลังเรียนมากกว่าคะแนนก่อนเรียน ซึ่งระดับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับการเกิดขึ้นปานกลางถึงมาก (M = 2.82, SD = 0.71; M = 3.71, SD = 0.76)
Other Abstract: The objectives of the research were to: 1) develop an instructional model for vocal accompanying courses focusing on the enhancement of the unity between the pianists and the vocalists in an accompanying performance and 2) study the learning outcomes of vocal accompanying skills. The tools used in this research included four lesson plans, pretest and posttest, the unity of the ensemble performance evaluation forms, a participated singer’s interview form, students’ self-evaluation reports, and teacher’s observation forms used during lessons. Descriptive statistical reported in this study were M, SD, and percentage. Participants in this experiment were: 1) Three piano accompanists who are first year piano-majored students 2) five evaluators included two experts from vocal accompanying area, two experts from vocal area, and an expert in both areas. The results were as followed 1) An instructional model for vocal accompanying courses focusing on the enhancement of the unity between the pianists and the vocalists in an accompanying performance. The model was divided into four stages: 1) the preparation of musical theory and contexts stage 2) the preparation of individual performance skills stage 3) the ensemble rehearsal stage, and 4) the assessment stage. The model used both individual and group class which discussion, demonstration, and practical teaching methods. 2) As a result of implementing the instructional model, all three pianists had improved their accompanying skills in posttest. (M = 2.82, SD = 0.71; M = 3.71, SD = 0.76)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23483
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1819
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1819
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saya_th.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.